ชีวิตดีสังคมดี

พม.เปิดข้อมูล "เด็กเกิดใหม่" ลดลง 3 ปีซ้อน ปี 66 คาดไทยมีเด็ก 10.9 ล้านคน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พม.เปิดข้อมูล "เด็กเกิดใหม่" ของไทยลดลงต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน ปี 65 เกิดต่ำสุดในรอบ 7 ปี คาด ปี 2566 มีประชากรเด็กแค่ 10.9 ล้านคน วัยสูงอายุจะเพิ่มขึ้นมากถึง 31.1% ของจำนวนประชากร

นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมแถลงสถานการณ์ทางสังคม ประเด็น "วิกฤตเด็กเกิดน้อย ผลกระทบต่อสังคมไทย" 

 

 

นายอนุกูล กล่าวว่า  สถานการณ์ทางสังคม ประเด็น "กฤตเด็กเกิดน้อย ผลกระทบต่อสังคมไทย" ถือเป็นประเด็นที่ท้าทายในปัจจุบัน เนื่องจากพบว่า ประเทศไทยมี "เด็กเกิดใหม่" ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ โดยในปี 2565 มีเด็กเกิดใหม่เพียง 5.02 แสนคน จากเป้าหมายจำนวนทารกเกิดไม่ตาพกว่า 700,000 คน ถือเป็นอัตราการเกิดที่ต่ำที่สุดในรอบ 71 ปี และเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ประเทศไทยมีจำนวนคนตายมมากว่าเด็กเกิดใหม่ ถือว่าเป็นอัตราที่สวนทางกับการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งอัตราการเกิดที่ลดลงจะส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในอนาคต รวมทั้งเกิดภาวะพึ่งพิง วัยแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 คาดว่าจะมี "เด็กเกิดใหม่" ประชากรวัยเด็ก 10.9 ล้านคน คิดเป็น 16.3 % วัยแรงงาน 42.6 ล้านคน คิดเป็น 63.6 %  และวัยสูงอายุ 13.5 ล้านคน คิดเป็น 20.2 %  ทั้งนี้ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2583 หากอัตราการเกิดยังคงลดต่ำลง สัดส่วนวัยเด็กจะมีเพียงร้อยละ 13.3 ในขณะที่วัยแรงงานลดลงเหลือร้อยละ 55.5 และสัดส่วนวัยสูงอายุสูงถึงร้อยละ 31.1 และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ประกอบกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปชะลอการมีบุตร ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19  อาจเป็นตัวเร่งให้การเกิดน้อยและการลดลงของประชากรไทยเร็วขึ้น

ส่วนปัจจัยที่ทำให้อัตราการเกิดของ "เด็กเกิดใหม่" ลดลงนั้นมี 4 ปัจุจัยหลัก ดังนี้  

 

1.การที่ผู้หญิงมีบทบาทอื่นในสังคมและมีส่วนร่วมในกลุ่มแรงงานมากยิ่งขึ้น 
2.ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความกังวลต่อภาระค่าใช้จ่าย 
3.ความไม่สมดุลระหว่างงานและครอบครัว 
4.การบีบคั้นทางเศรษฐกิจและสังคมการเมืองความเหลื่อมล้ำ 


นายอนุกูล กล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. ในฐานะหน่วยงานหลักของภาครัฐในการขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคม โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human capital) ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่มุ่งเน้นพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในทุกมิติ มีสมรรถนะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ และมีทักษะการใช้ชีวิต เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยได้เตรียมการออกแบบนโยบายการคุ้มครองทางสังคมด้านเด็ก ดังนี้ 

 

1. ขยายความครอบคลุมของเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยมุ่งสู่ความถ้วนหน้า 
2. มุ่งเน้นการลงทุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เต็มศักยภาพ โดยการส่งเสริมให้มีศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียนอย่างทั่วถึง 
3. สร้างสังคมและสภาพแวดล้อมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่  
4. เตรียมพร้อมรับมือกับอัตราการเกิด เพื่อสร้างสมดุลให้แก่จำนวนประชากรในแต่ละช่วงวัยให้มีความเหมาะสม 

 

นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า อัตราประชากรวัยเด็กที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นการสะท้อนการวิจัยถึงอัตราการเกิดที่ต่ำลงอย่างน่าวิตก  ซึ่งกระทรวง พม. จะต้องเร่งขับเคลื่อนงานในการสร้างสังคมที่เป็นมิตรกับเด็ก และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เนื่องจากจำนวนเด็กที่เกิดน้อยลงส่งผลต่อจำนวนแรงงานที่ลดลงด้วย ผนวกกับการเข้าสู่สังคมสูงวัย  อีกทั้งการสร้างโอกาสแก่ครอบครัวเด็ก เนื่องจากอัตราการเกิดส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเด็กเกิดใหม่ใน 1,000 วันแรก ทางการแพทย์ถือว่าเป็นมหัศจรรย์ 1,000 วัน นับเป็นวัยทองคำที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ โดยโครงการเงินอุดหนุนเด็กเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเด็กในครอบครัวยากจน เดือนละ 600 บาท ซึ่งกระทรวง พม. โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) ได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 7 มีเด็กเข้าร่วมโครงการประมาณ 2.4 ล้านคน ดังนั้น สังคมควรมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นมิตรต่อเด็ก และเปิดโอกาสให้ครอบครัวมีความพร้อมในการดูแลเด็กเล็ก รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมอื่นๆ ให้เอื้อต่อการพัฒนาที่สมวัย 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ