ชีวิตดีสังคมดี

ขึ้นชื่อว่า "บูลลี่" เก่งแค่ไหนก็ข้ามผ่านยาก เหยื่อบางคนสู้ไหว บางคนยอมแพ้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ขึ้นชื่อว่า "บูลลี่" แข็งแกร่งแค่ไหนก็ก้าวผ่านได้ลำบาก เหยื่อบางคนอาจสู้ไหว แต่บางคนกลับยอมแพ้ หมอแนะช่วยเหลือเหยื่อต้องย้อนกลับไปที่ครอบครัวและแรงซัพพอร์ตจากคนรอบข้าง

รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ กุมารแพทย์เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองเด็ก ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึกออนไลน์ถึงพฤติกรรม ลักษณะของผู้ที่บูลลี่ผู้อื่น และผู้เป็นเหยื่อของการถูก "บูลลี่" ว่า กฎของการ "บูลลี่" คือคนที่มีพลัง(Power)มากกว่าจะกระทำกับคนที่มีพลังน้อยกว่า โดยพฤติกรรมของการบูลลี่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ การบูลลี่แบบซึ่งหน้า โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะทำให้เกิดความรู้สึกว่ากำลังถูกดูหมิ่น เหยียดหยาม ถูกกรีดกันไม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ปล่อยข่าวลือสร้างความเสียหาย บางครั้งอาจรวมไปถึงการทำร้ายร่างกายด้วย 

 

ส่วนการ "บูลลี่" แบบไซเบอร์ (Cyber Bullying) พบว่าส่วนใหญ่เป็นการเปิดโปรงข้อมูล ความลับ คลิปที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการกระจายไปอย่ากว้างขวาง ตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อโจมตี รวมทั้งการแอบอ้างตัวตน เพื่อนำไปทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่แล้วการบูลลี่แบบไซเบอร์ไม่ได้มีการทำร้ายร่างกาย 
 

รศ.พญ.วนิดา กล่าวต่อว่า แน่นอนว่าการ "บูลลี่" มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำค่อนข้างมาก เหยื่อบางคนสามารถต่อสู่กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ เพราะความเข้มแข็งจากภายใน ผู้ที่ถูกบูลลี่บางคน ไม่แคร์ ไม่สนสิ่งที่กำลังโดนบูลลี่คนกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่า เหยื่อที่เข้มแข็ง  แต่ทั้งนี้จะมีการแยกแยะก่อนว่าลักษณะแบบไหนเป็นการบูลลี่ หรือพูดหยอกล้อกัน หากเกิดการบูลลี่แต่คนที่โดนกระทำไม่ได้รู้สึกอะไร หรือ รู้สึกตลกไปด้วย ไม่ได้รู้สึกว่าถูกทำร้าย เหตุการณ์เช่นนี้จะไม่รับว่าเป็นการกระทำเพื่อกลั่นแกล้ง หรือ "บูลลี่"


 

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาก็มักจะมีเหยื่อที่เข้มแข็งแต่ก็ไม่สามารถเอาตัวรอดจากการโดน "บูลลี่" ได้   โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ๆ ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการได้รับคำชม การยอมรับ แต่กลับโดนผู้ใหญ่บางคนด่า หรือตำหนิ โดยเฉพาะครูที่ค่อนข้างมีความใกล้ชิดกับเด็กวัยนี้  หรือในกรณีวัยรุ่นบางคนที่โดนกรีดกันออกจากกลุ่ม แม้ว่าจะมีจิตใจที่เข้มแข็งแค่ไหนก็ตาม แต่ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ต้องการเพื่อน หากเจอการกระทำเช่นนี้ก็จะทำให้วัยรุ่นกลายเป็นเหยื่อของการโดน บูลลี่ได้ อย่างง่ายดาย 

 

สำหรับวิธีการที่จะช่วยเหลือ หรือพาเหยื่อนจากการถูก "บูลลี่" ออกมาจากมุมมืดได้นั้น รศ.พญ.วนิดา กล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือจะต้องพิจารณาไปถึงภูมิหลังของผู้ที่ถูก บูลลี่ หรือกลั่นแกล้งว่าพื้นานภายในครอบครัวเป็นอย่างไร เด็กได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวมากแค่ไหน  ซึ่งการช่วยเหลือต้องกลับไปพิจารณาถึงพ่อ แม่ และคนรอบข้างด้วย ว่าช่วยให้เหยื่อมีความแข็งแรงได้มากแค่ไหน ส่วนตัวคนที่คอยบูลลี่คนอื่น กลุ่มนี้ ถือว่าเป็นกลุ่มที่น่ากังวล และเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือมากพอ ๆ กับผู้ถูกกระทำ  เพราะแน่นอนว่าคน ๆ หนึ่งจะ บูลลี่ คนอื่นได้อาจจะมีภูมิหลังครอบครัวที่ไม่ดีมากหนัก  

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ