ประชาสัมพันธ์

บทบาทนโยบายและกฎหมายการแข่งขันทางการค้ากับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

08 ก.พ. 2566

บทบาทของนโยบายและกฎหมาย 'การแข่งขันทางการค้า' กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เปิดโอกาสผู้ประกอบทดลองทำธุรกิจ

ในปี 1968 Garrett Hardin นักชีววิทยาซึ่งมีความกังวลต่อภาวะประชากรมากเกินไป ได้เขียนบทความเรื่อง โศกนาฎกรรมของสาธารณสมบัติ (Tragedy of the commons) โดยกล่าวถึง ทรัพยากรของโลกที่มีอยู่อย่างจำกัด รองรับความต้องการของประชากรได้เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งหากประชาชนส่วนหนึ่งใช้ทรัพยากรเพื่อสนองผลประโยชน์ส่วนตนมากเกินไปแล้ว ย่อมนำไปสู่การขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต และในที่สุดก็จะส่งผลร้ายย้อนกลับมายังประชากรโดยรวมไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ทรัพยากรนั้น ๆ หรือไม่

 

 

โศกนาฎกรรมของสาธารณสมบัติกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ Tragedy of the commons เข้ามามีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีและสิ่งแวดล้อม โดยในทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า ผลกระทบภายนอก (Externality) ซึ่งหมายถึง เช่น กรณีที่โรง งานผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของประชาชนที่ต้องการสินค้านั้น ๆ อย่างมาก

แต่ในการผลิตสินค้าดังกล่าว โรงงานผู้ผลิตก็ได้สร้างมลภาวะที่ส่งผลร้ายต่อบุคคลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสินค้าดังกล่าวด้วย ในหลายประเทศจึงได้มีการนำหลักการการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability หรือ Sustainable Development) มาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อบรรเทาผลกระทบภายนอกเชิงลบที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปพร้อมกับ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

 

การแข่งขันทางการค้า

การแข่งขันทางการค้ากับการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความเกี่ยวข้องกัน โดยมีส่วนทั้งส่งเสริมกันหรือขัดแย้ง (Help or Harm) ในส่วนของการช่วยส่งเสริมกัน การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าสามารถช่วยสนับสนุนให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถดำเนินการได้โดยไม่มีอุปสรรค เช่น การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันต่อพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบหรือการตกลงร่วมกันของผู้ประกอบการที่จะไม่นำเทคโนโลยีเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเข้ามาใช้ เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อต้นทุนการผลิตของตนเพิ่มขึ้นโดยในส่วนของการขัดแย้งกันนั้น อาจเกิดจากนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของรัฐที่ต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไป เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นทำเป็นรายแรกต้องเสียเปรียบในการแข่งขันทางการค้า เพราะมีต้นทุนทางธุรกิจสูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่น แต่นโยบายดังกล่าวก็อาจส่งผลร้ายต่อการแข่งขันทางการค้าได้เช่นกัน เพราะอาจทำให้ผู้ประกอบการที่มีทุนและความพร้อมได้เปรียบในการแข่งขันต่อผู้ประกอบการที่มีทุนและความพร้อมจำกัดได้ นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าในบางประเทศ จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถทดลองดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่อาจมีผลกระทบต่อการแข่งขันทางการค้า (Sandboxing)  เพื่อประเมินผลกระทบจากภายนอกที่ส่งผลทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อการแข่งขันทางการค้า ซึ่งหากกิจกรรมทางธุรกิจที่ทดลองทำส่งผลร้ายต่อการแข่งขันทางการค้า หน่วยงานกำกับดูแลจะมีคำแนะนำให้เลิกหรือให้ปรับปรุงพฤติกรรม โดยจะไม่ลงโทษผู้ประกอบการที่ทดลองดำเนินการธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนรายดังกล่าว

 

การแข่งขันทางการค้า

 

การสร้างความยั่งยืนในเวทีการกำกับดูแลการแข่งขันในระดับสากล การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นหัวข้อที่หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าในหลาย ๆ ประเทศให้ความสำคัญ โดยเห็นถึงจำเป็นต้องมีการร่วมมือระหว่างประเทศเป็นวงกว้าง เพราะหากมีประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ได้ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัญหาสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลร้ายมายังประเทศอื่น ๆ

 

การแข่งขันทางการค้า

 

ตามแนวคิด “โศกนาฎกรรมของสาธารณสมบัติ” ได้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้เริ่มทำการศึกษาและพิจารณาความสัมพันธ์ของนโยบายการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าและการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการมิให้การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนขัดหลักการกฎหมายแข่งขัน และเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้ามีส่วนในการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 


*ผู้ประกอบการที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับแผนการธุรกิจของตนเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถขอคำแนะนำจากสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าหรือขอคำวินิจฉัยล่วงหน้าจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้ 

 

บทความโดย : นายนินนาท เกิดลาภผล หัวหน้ากลุ่มประเมินงานสืบสวนสอบสวน สำนักงาน กขค.

 

นายนินนาท เกิดลาภผล หัวหน้ากลุ่มประเมินงานสืบสวนสอบสวน สำนักงาน กขค.