ประชาสัมพันธ์

ข้อมูลควรรู้ บริโภค "กัญชา" อย่างไรให้ปลอดภัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การประกาศปลดล็อก "กัญชา" หรือการทำให้กัญชาเสรีนี้ ไม่ได้หมายความว่าคุณจะนำ "กัญชา" มาใช้ได้แบบไม่ต้องกังวลอะไรนะ ยังมีกฏหมาย และข้อบังคับที่มีไว้เพื่อกำหนดและควบคุมการใช้กัญชาอยู่

หลังจากที่มีการประกาศปลดล็อก "กัญชา" ออกมา หลายๆ คนก็เตรียมเฮทันที เพราะคาดหวังว่าจะได้ใช้กัญชาอย่างเต็มที่ แต่เดี๋ยวก่อน การประกาศ ปลดล็อกกัญชา หรือการทำให้ กัญชาเสรี นี้ไม่ได้หมายความว่าคุณจะนำกัญชามาใช้ได้แบบไม่ต้องกังวลอะไร เพราะยังมีกฏหมายและข้อบังคับที่มีไว้เพื่อกำหนดและควบคุมการใช้กัญชาอยู่ ซึ่งจะมีอะไรบ้าง และเราจะใช้กัญชาได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยได้อย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาฝากกัน

 

กัญชา ความเป็นมาของพืชที่มีทั้งประโยชน์และโทษ
            

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ "กัญชา" กันก่อน หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกับกัญชากันอยู่แล้วในรูปแบบของยาเสพติดชนิดหนึ่ง โดยกัญชา หรือ Marijuana เป็นพืชดั้งเดิมที่มีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cannabis sativa subsp. indica (Lam.) มีการคาดการณ์ว่ามีการค้นพบกัญชามาตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล เพราะมีการพบเอกสารโบราณที่มีบันทึกเกี่ยวกับการนำเอากัญชามาใช้ ในการถักทอ ทำกระดาษ และใช้ทำเป็นเชือกล่าสัตว์ เนื่องจากกัญชาเป็นพืชที่มีเส้นใยสูง จึงเหมาะที่จะนำมาทำเป็นสิ่งทอต่างๆ ส่วนในประเทศไทยเริ่มมีการนำเอากัญชามาใช้ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีหลักฐานจากภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้วนั่นเอง


 

 

สาเหตุที่ทำให้ "กัญชา" กลายเป็นยาเสพติดก็เพราะว่าในกัญชานั้นมีสารสกัดชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) สาร THC นี้เป็นสารที่มีผลต่อระบบประสาทของมนุษย์ เมื่อมีการรับสารชนิดนี้เข้าไปจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดี รูสึกสบายใจ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มาจนเกินไปก็จะเกิดอาการ High หรืออาการเมานั่นเอง ซึ่งเป็นอาการที่อาจจะทำให้ขาดสติ มีอาการเห็นภาพหลอน ในบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจจะทำให้เกิดอาการคุ้มคลั่ง ทำร้ายร่างกายตัวเองและคนอื่น หรืออาจจะรุนแรงจนถึงขั้นความทรงจำขาดหายเลยทีเดียว แต่เจ้าสาร THC นี้ก็ไม่ได้มีแต่โทษที่น่ากลัวเพียงอย่างเดียว สารนี้ยังมีประโยชน์และได้รับการยอมรับจากทางการแพทย์อีกด้วย เพราะมีคุณสมบัติช่วยรักษาโรคและอาการป่วยต่าง ๆ ได้ดีมาก ๆ เช่น ในผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องมีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรง แพทย์ก็จะมีการใช้สาร THC เพื่อช่วยในการบรรเทาอาการข้างเคียงเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทรมานจากการรักษาจนเกินไป

 

ข้อมูลควรรู้ บริโภค "กัญชา" อย่างไรให้ปลอดภัย

 

การปลดล็อกกัญชา ก้าวสำคัญของวงการสายเขียว


เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมาได้มีการประกาศ ปลดล็อกกัญชา ทำการถอดพืชกัญชาและกัญชงให้พ้นจากการเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุไว้ว่า ให้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง ซึ่งเป็นพืชในตระกูล Cannabis จัดอยู่ในกลุ่มของยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) หรือ THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก และสารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชง เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชที่ปลูกภายในประเทศเท่านั้น จากประกาศดังกล่าว การจะนำเอากัญชามาใช้ให้ปลอดภัยและถูกกฏหมายนั้นจะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มีสาร THC เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด ก็จะไม่ส่งผลเสียต้อร่างกาย แต่นอนกจากนี้ก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้กัญชาที่สำคัญอีกหลายข้อ เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์ที่รุนแรง และส่งผลต่อร่างกายโดยตรง ก่อนการใช้งานจึงต้องมีการประเมินตัวเอง หรือได้รับความเห็นจากแพทย์ก่อนว่าใช้ได้หรือไม่

 

ข้อกำหนดในการใช้กัญชา


สิ่งที่หลายคนควรรู้เกี่ยวกับการนำเอากัญชามาใช้ก็คือ สามารถใช้กัญชาได้เฉพาะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพเท่านั้น ยังไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงสันทนาการ ถ้ามีการพบเห็นการใช้งานผิดประเภท ผู้เสพจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท สารสกัดจากกัญชาที่นำมาผสมกับอาหารหรือผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายต่าง ๆ นั้นจะต้องมาจากกัญชาที่ปลูกในประเทศเท่านั้น ส่วนต่าง ๆ ของกัญชาที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ผิดกฏหมายคือ กิ่ง ก้าน ใบ เปลือก ลำต้น เส้นใย กาก น้ำมันและสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2% ส่วนที่ห้ามนำมาใช้ก็คือ เมล็ดกัญชาที่สามารถนำมาขยายพันธุ์ได้และช่อดอก

 

 

การใช้กัญชาให้ปลอดภัย
          

เมื่อเริ่มมีคนสนใจการใช้กัญชาเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้กัญชาผิดวัตถุประสงค์ หรือการใช้กัญชาเกินขนาดจนทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออก 10 คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ ออกมา เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่จำเป็นต้องใช้กัญชาศึกษาเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับร่างกาย โดยมีคำแนะนำดังนี้

 

1.รักษาตามมาตรฐานการแพทย์ก่อน
2.ไม่ใช้หากอายุน้อย แนะนำอายุมากกว่า 25 ปี
3.ใช้กัญชาอัตราส่วน CBD : THC สูง
4.ไม่ใช้กัญชาสังเคราะห์
5.ไม่ใช้การสูบแบบเผาไหม้
6.หากสูบ ไม่อัดควันเข้าปอด แล้วกลั้นไว้
7.ใช้อย่างระวัง ใช้บ่อยและเข้มข้นสูง เสี่ยงสูง
8.งดขับรถ ใช้เครื่องจักร ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
9.งดใช้ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวจิตเวช ตั้งครรภ์
10.หลีกเลี่ยงใช้ หากมีหลายปัจจัยเสี่ยง

 

นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามที่จำเป็นในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร THC เป็นส่วนประกอบ คือ ถ้าผู้ใช้เคยมีประวัติการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร THC เป็นส่วนประกอบก็ไม่ควรเสี่ยงใช้ต่อ หรือผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้วก็ไม่ควรใช้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคตับ โรคเกี่ยวกับอาการทางจิต โรควิตกกังวล ก็ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม เพราะสาร THC อาจจะเข้าไปกระตุ้นทำให้อาการของโรคเหล่านั้นแย่กว่าเดิมได้ ผู้ป่วยที่ต้องการใช้จะต้องปรึกษาแพทย์และได้รับการยินยอมจากแพทย์ก่อนเท่านั้น

 

ข้อมูลควรรู้ บริโภค "กัญชา" อย่างไรให้ปลอดภัย


นอกจากผู้บริโภคแล้ว ผู้ผลิตก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยเช่นกัน ถ้าผลิตภัณฑ์ของคุณมีส่วนผสมของ "กัญชา" หรือสาร THC ก็จะต้องมีการแจ้งไว้อย่างชัดเจน ห้ามปิดบังโดยเด็ดขาด โดยทางกรมอนามัยได้มีการประกาศว่าสมควรกำหนดให้การใช้กัญชา ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารที่ปลอดภัย เป็นหัวข้อวิชาหนึ่งในหลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการและหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหารแห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ. 2561 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจ ในการนำกัญชา หรือกัญชง มาใช้เป็นส่วนประกอบในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารเพื่อการจำหน่าย ให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย ถ้าหากว่าผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการคนไหนอยากสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาอยู่ก็ควรเข้าร่วมการอบรมจากกรมอนามัย เพื่อประโยชน์ของทั้งตัวเองและผู้บริโภค
การควบคุมการใช้กัญชา หลังการประกาศปลดล็อก
            

ตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า หลังจากที่มีการประกาศ ปลดล็อกกัญชา ออกมา ก็เริ่มมีการนำเอากัญชามาใช้แบบผิดวัตถุประสงค์มากขึ้นเรื่อยๆ และก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ทำให้หลังจากประกาศปลดล็อกกัญชาได้เพียง 1 สัปดาห์ กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกมาประกาศในกัญชากลายเป็นสมุนไพรควบคุม มีข้อห้ามในการใช้คือ ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 20 ปี และห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่มีบุตรและให้นมลูก ในประกาศนี้ยังรวมไปถึงการห้ามเสพหรือใช้กัญชาในสถานที่สาธารณะ สถานที่ราชการ โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ถนนหนทาง และสถานที่ที่มีกลุ่มคนรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันควันหรือกลิ่นจากกัญชารบกวนผู้อื่น ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดจากกรมอนามัยนั่นเอง
            

ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศ ปลดล็อกกัญชา และเกิดเป็น กัญชาเสรี ทำให้หลายคนสามารถเข้าถึงกัญชากันได้ง่ายขึ้น และมีผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีข้อห้ามและหลักปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อกำหนดและควบคุมการใช้อยู่ เพื่อไม่ให้การใช้กัญชาเป็นการใช้แบบผิดวัตถุประสงค์ เพราะถึงแม้กัญชาจะมีประโยชน์มากมาย แต่โทษที่มีก็อัตรายไม่แพ้กัน ในฐานะผู้บริโภคก็จำเป็นต้องรู้ไว้เพื่อป้องกันตัวเอง และไม่ใช้เกินขนาดหรือผิดประเภทจนเกิดผลเสียต่อตัวเองและคนรอบข้าง คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมหรือดูผลิตภัณฑ์จากกัญชาที่ถูกกฏหมายและมั่นใจในคุณภาพได้จากเว็บไซต์ Bloom ที่เป็นแหล่งรวมผลิตภัณฑ์กัญชาและ CBD ชั้นนำในประเทศไทยและผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ