ประชาสัมพันธ์

ถอดกลยุทธ์ เร่งปรับ-เร่งเปลี่ยน-เร่งปลูก ดัน ปตท. สู่องค์กร Net Zero ในปี 2050

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ปตท.ตั้งเป้ามุ่งมั่นลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15 ในปี 2030 เป็นศูนย์กลางทางคาร์บอน ในปี 2040 และลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero) ภานในปี 2050 ด้วยตัวชี้วัด และกลยุทธ์ที่มีแผนปฏิบัติการเป็นรูปธรรม

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สภาพภูมิอากาศทั่วโลกแปรปรวนจนเกิดภัยพิบัติขึ้นหลายพื้นที่ เกิดเป็นภาวะโลกรวนที่ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เป็นไปตามปกติ บางประเทศเจอกับภัยแล้งหนักในรอบหลายปี ขณะที่อีกหลายประเทศกลับเจอฝนตกหนักจนทำให้เกิดอุทกภัย

รายงาน "ดัชนีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศโลก" (Global Climate Risk Index) จาก Germanwatch ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 2021 รายงานว่า ตั้งแต่ปี 2000-2019 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเพราะความผิดปกติของโลกหรือที่เรียกว่า "โลกรวน" มากถึง 475,000 คน จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกว่า 11,000 ครั้ง

 

       สำหรับประเทศไทย รายงานเดียวกันนี้ยังระบุว่า เมื่อประเมินความเสี่ยงด้านจำนวนผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติ จำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากร 1 แสนคน มูลค่าความเสียหาย มูลค่าความเสียหายคิดเป็น % ต่อ GDP และจำนวนครั้งที่เกิดภัยพิบัติตลอดปี 2000-2019 พบว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงเป็นลำดับ 9 จาก 108 ประเทศ ซึ่งหมายความว่าเรากำลังมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น สะสมมาเรื่อยๆ จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่บรรยากาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ถอดกลยุทธ์ เร่งปรับ-เร่งเปลี่ยน-เร่งปลูก ดัน ปตท. สู่องค์กร Net Zero ในปี 2050 ถอดกลยุทธ์ เร่งปรับ-เร่งเปลี่ยน-เร่งปลูก ดัน ปตท. สู่องค์กร Net Zero ในปี 2050

 

       กลุ่ม ปตท. ในฐานะองค์กรที่สำคัญ จึงตั้งเป้าหมายระยะสั้นถึงระยะยาว ด้วยการมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15  ภายในปี 2030 และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ โดยมีกลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแผนปฏิบัติการรองรับที่เป็นรูปธรรม

ถอดกลยุทธ์ เร่งปรับ-เร่งเปลี่ยน-เร่งปลูก ดัน ปตท. สู่องค์กร Net Zero ในปี 2050

 

กลยุทธ์หลักที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะนำไปสู่การปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) เรียกง่ายๆ ว่า การ “เร่งปรับ-เร่งเปลี่ยน-เร่งปลูก” ซึ่งประกอบไปด้วย

       1.Pursuit of Lower Emissions ซึ่งหมายถึงการ "เร่งปรับ" ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการ ผ่านโครงการสำคัญ เช่น การดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage : CCS) ในพื้นที่บริเวณทะเลอ่าวไทย และพื้นที่บนฝั่งในภาคตะวันออกภายใต้ความร่วมมือ PTT Group CCS Hub Model ที่ระดมเทคโนโลยีของ กลุ่ม ปตท. เพื่อบริหารการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกัน การนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์สูงสุด (Carbon Capture and Utilization : CCU) ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อลดการปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ การปรับปรุงกระบวนการผลิต และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต รวมถึงการผลักดันการใช้พลังงานจากไฮโดรเจน เป็นต้นโดยวิธีการเหล่านี้จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สูงถึง ร้อยละ 30 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 

 

 2. Portfolio Transformation ซึ่งหมายถึงการ "เร่งเปลี่ยน" ไปสู่การเป็นธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปรับพอร์ตการดำเนินธุรกิจสู่ธุรกิจสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนโดยมุ่งธุรกิจพลังงานสะอาด และการเติบใตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน ซึ่งสอดคล้องตามการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ โดยกำหนดสัดส่วนเป้าหมายระยะยาว 10 ปี ที่ร้อยละ 32 ของงบประมาณการลงทุน การรุกปรับสัดส่วนการลงทุนจะเป็นกลไกสำคัญลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึงร้อยละ 50

       3. Partnership with Nature and Society ดำเนินการ "เร่งปลูก" และบำรุงรักษาป่า ร่วมกับภาครัฐและชุมชน มุ่งสู่การเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ ด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งจะสามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ อย่างน้อยร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของ ปตท.

         ปัจจุบันนี้ ปตท. คือองค์กรที่มุ่งหน้าสู่การเป็นองค์กร Net Zero อย่างจริงจัง และ ปตท. ได้รับภารกิจเป็นประธานเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network : TCNN) เครือข่ายองค์กรชั้นนำระดับประเทศจากภาครัฐ เอกชน และชุมชนท้องถิ่น รวม 275 องค์กร ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งเป็น “เครือข่ายแกนนำของประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero” ผลักดันการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการลดก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเร่งจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อภาครัฐ มุ่งยกระดับมาตรฐานการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และผลักดันเป้าหมาย Net Zero ของประเทศจากทุกภาคส่วนร่วมกัน

ถอดกลยุทธ์ เร่งปรับ-เร่งเปลี่ยน-เร่งปลูก ดัน ปตท. สู่องค์กร Net Zero ในปี 2050

 

วิสัยทัศน์ของ ปตท. คือ "Powering Life with Future Energy and Beyond" ซึ่งมุ่งขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต  และหนึ่งในนั้นคือการใช้กลยุทธ์ เร่งปรับ-เร่งเปลี่ยน-เร่งปลูก ไปสู่เป้าหมายการการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ