ประชาสัมพันธ์

"ปตท." เดินหน้าฟื้นฟูผืนป่า ชูแนวคิด “ปลูกป่า” ได้มากกว่าต้นไม้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ปตท.พร้อมเดินหน้า "ปลูกป่า" ได้มากกว่าต้นไม้ หลังประสบความสำเร็จปลูกและดูแลรักษาผืนป่า 25 ปีสามารถฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมได้ถึง 1.1 ล้านไร่ สามารถปลดปล่อยออกซิเจนได้กว่า 1.55 ล้านตันออกซิเจนต่อปี

        กว่า 2 ทศวรรษ ปตท. ได้เดินหน้าภารกิจฟื้นฟูป่ากักเก็บคาร์บอนคืนสมดุลสู่ธรรมชาติรวม 576 แปลง 1.1 ล้านไร่ ใน 56 จังหวัดทั่วประเทศ ผ่านโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ปลูกป่าพิเศษและโครงการพระราชดำริ และโครงการปลูกป่าพื้นฟูระบบนิเวศและลดภาวะโลกร้อน ถือเป็นเวลากว่า 20 ปี กับประสบการณ์และองค์ความรู้สถาบันปลูกป่า ปตท.
      นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการปลูกจากจุดเริ่มต้น ได้เติบโตและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ โดยการวิจัยของศูนย์วิจัยป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าป่าที่ ปตท. ได้ดำเนินการปลูกและดูแลรักษาตั้งแต่ ปี 2537-2559 ปตท. ได้อาสาฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศไปแล้วกว่า 1.1 ล้านไร่

 


      ทั้งนี้ สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 2.14 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือเปรียบเทียบการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ส่วนบุคคลเฉลี่ยปีละ 4.6 แสนคัน และปลดปล่อยออกซิเจนได้กว่า1.55 ล้านตันออกซิเจนต่อปี คิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์จากป่ากว่า 280 ล้านบาทต่อปี และยังคงความอุดมสมบูรณ์มากกว่า 83%

“ปตท.” ฟื้นฟูผืนป่า ชูแนวคิด “ปลูกป่า” ได้มากกว่าต้นไม้

 

นายอรรถพล กล่าวว่า การปลูกป่าไม่เพียงฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่เคยถูกทำลาย และเพิ่มพื้นที่สีเขียวกลับคืนให้กับประเทศ แต่ยังส่งผลต่อความตื่นตัว ตระหนักในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ สานต่อเจตนารมณ์ในการดูและรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดเครือข่ายอนุรักษ์และรักษาป่าให้ยั่งยืน สิ่งแวดล้อม โดยป่าที่ปลูกได้รับการดูแลรักษาจากเครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่ารอบแปลงปลูกป่า รวมถึงเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่าที่ขยายผลต่อมา ได้แก่ โครงการลูกโลกสีเขียว เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2542


ทั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่ขยายผล ต่อยอดจากภารกิจโครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมุ่งเน้นการปลูกป่าเชิงกลยุทธ์ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์สร้างประโยชน์แก่สังคม และชุมชน ตลอดจนการสะสมองค์ความรู้จากประสบการณ์กว่า 25 ปี ในการปลูกป่า การวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเผยแพร่ไปยังสาธารณะสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยกระดับการให้ความรู้ทางวิชาการ และสร้างความ ตระหนักผ่านการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญจำนวน 3 แห่งคือ

ป่าชายเลนสิรินาถราชินี อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
 

      1.ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี 387 ไร่ ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จัดตั้งในปี 2004 โดยมีการปลูกต้นไปไปแล้ว 471,600 ต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 17,010 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ถือเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของ ปตท. ด้วยเป็นพื้นที่พิธีน้อมเกล้าฯ ถวายโครงการปลูกป่าถวารเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

      สำหรับพื้นที่แห่งนี้ได้รับการฟื้นฟูจากนากุ้งร้าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนระดับประเทศและภูมิภาค จากการมีส่วนร่วมจากชุมชน งานวิจัย และความรู้เป็นเครื่องมือในการพลิกฟื้น ดินเสื่อมโทรม และการระบายน้ำเค็ม สำเร็จผลเป็นป่าชายเลนจากการปลูกขนาดใหญ่ ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอน เป็นแหล่งกำเนิดของระบบนิเวศที่สำคัญ สร้างรายได้ให้ ชุมชนจากการรับรองนักท่องเที่ยว และจากการจับสัตว์น้ำ

ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง มีพรรณไม้กว่า 250 ชนิด

 

      2.ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง (กทม.) จัดตั้งขึ้นในปี 2015 ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 7,524 ต้น พรรณไม้กว่า 250 ชนิด ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 230 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดและพระราชทานชื่อ ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 12 ไร่ บนถนนสุขาภิบาล 2 มีการออกแบบที่กลมกลืนกับธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นพื้นที่สีเขียวให้แก่เมือง

ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ มีเนื้อที่ 351.35 ไร่ มีต้นไม้ถึง 453,082 ต้น

 

      3.ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง จัดตั้งปี 2014 ปลูกต้นไม้ 453,082 ต้น ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 3,759 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เนื้อที่ 351.35 ไร่ การออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ซึ่งกระทบต่อธรรมชาติน้อยที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมการฟื้นฟูป่ารูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการฟื้นฟูป่าแบบบูรณาการในรูปแบบ “วนเกษตร” ที่ปลูกไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชสวน 

      รวมถึงการทำนาแบบผสมผสาน เป็นพื้นที่ปลูกป่าโครงการนำร่องที่เข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand-Voluntary Emission and Reduction: T-VER) สาขาป่าไม้ ขององค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
      ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ ยังมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยรอบพื้นที่โดยจัดทำหลักสูตร นิเวศท้องถิ่น เชื่อมโยงการเรียนการสอนในโรงเรียนในชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตาม พระราชดำริฯ มีผักปลูกจากเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทานที่ปลอดภัยไว้บริโภค และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากรายได้การจำหน่ายผัก ในโครงการ "วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน" และโครงการ "สวนป่าครัวเรือน" เป็นต้น
     

      นอกจากนี้ จากการที่ ปตท. ได้ส่งเสริมการดูแลรักษาป่าและสิ่งแวดล้อมผ่านเครือข่ายชุมชนอย่างต่อเนื่อง อาทิ สถาบันลูกโลกสีเขียว เครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า และเครือข่ายหญ้าแฝก จึงได้ต่อยอดการดำเนินงานในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในรูปแบบสวนป่าครัวเรือน คือ การสร้างสวนป่าในบ้านหรือในครัวเรือนที่มีเอกสารสิทธิ์ โดยการปลูกพืชผสมผสานเป็นประโยชน์ทั้งทางด้านอากาศ และความมั่นคงทางด้านอาหารสอดคล้องตามแนวทางโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และยุทธศาสตร์ชาติด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


      ปตท. เห็นถึงความสำคัญของการมีพื้นที่สีเขียวในเมืองและการมีส่วนร่วมของคนเมืองในการรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อม จึงได้ต่อยอดประสบการณ์จากการปลูกป่ากว่า 25 ปี มาปรับให้เหมาะสมกับบริบทเมือง โดยเริ่มดำเนินการในปี2562เป็นต้นมา ผ่านกิจกรรม40ปี ปตท.Plant Togetherโดยสนับสนุน 5 มหาวิทยาลัย ในการออกแบบพื้นที่สีเขียวตามความต้องการของแต่สถาบัน ปตท. ร่วมกับภูมิสถาปนิก คัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองคิดเป็น 2,694 ตารางเมตร หรือ 1.7 ไร่


      สำหรับภารกิจฟื้นฟูป่ากักเก็บคาร์บอนคืนสมดุลสู่ธรรมชาติ ถือเป็นกลยุทธ์ 1 ในกลยุทธ์ 3P ของปตท. คือ Partnership with Nature and Society เพื่อเพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ อย่างน้อย 20%ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของ ปตท. โดยกลุ่ม ปตท. มุ่งปลูกป่าเพิ่มเติม รวม 2 ล้านไร่ ภายในปี 2030 แบ่งเป็นการดำเนินการโดย ปตท.1 ล้านไร่ และความร่วมมือบริษัทในกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ ซึ่งในปัจจุบันมีการปลูกไปแล้ว 1 ล้านไร่ และกำลังปลูกเพิ่ม 1 ล้านไร่

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ