มัดรวมไว้ที่นี่ รับมือสารพัดปัญหา "Long Covid"
“Long Covid” ใครบ้างที่มีโอกาสเป็น การป้องกันการเกิดทำได้อย่างไรบ้าง แต่ละชนิดของอาการที่พบบ่อย สมองตื้อ อ่อนล้า อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ป่วยซึมเศร้า จนถึงขั้น Covid Heart มีสารอาหารอะไรที่ช่วยป้องกันได้บ้าง มัดรวมไว้ที่นี่ เช็คเลย
Long COVID คือ อาการเจ็บป่วยที่ตามมา แม้จะมีการรักษาการติดเชื้อ จนร่างกายไม่พบเชื้อโควิด-19 แล้ว แต่ยังมีอาการเจ็บป่วยอยู่ ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มักพบหลังการติดเชื้อตั้งแต่ 4 สัปดาห์ จนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป ในเเต่ละรายก็จะมีลักษณะอาการเเตกต่างกันออกไป
"อาการลองโควิด" คือ อาการผิดปกติทางสุขภาพที่เรื้อรังต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง โดยมีอาการดังต่อไปนี้
1.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
2.ปวดศีรษะ
3.ท้องเสีย
4.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกหายใจไม่ค่อยอิ่ม
5.ไอเรื้อรัง
6.ผมร่วง
7.เจ็บหน้าอก ใจสั่น
8.เครียด มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
9.การรับรสและกลิ่นผิดปกติ
ในประเทศอังกฤษมีการเก็บสถิติที่น่าสนใจพบว่า มากกว่า 50% ของคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และหายป่วยจนตรวจไม่พบเชื้อในร่างกายแล้ว เมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้านยังต้องเจอกับอาการข้างเคียงต่อเนื่องเรื้อรัง หลังจากหายป่วยยาวนานถึง 3 เดือน
ไม่เพียงแต่ในประเทศอังกฤษเท่านั้น มีรายงานทางการแพทย์จากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต้นทางการแพร่ระบาด ก็มีสถิติคล้ายกันว่า กว่า 75% ของผู้ที่หายป่วยจาก โควิด-19 ยังคงมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ภายใน 6 เดือน หลังออกจากโรงพยาบาล เช่นเดียวกับข้อมูลทางการแพทย์ของประเทศอิตาลีก็พบว่ากว่า 87.4% ของคนที่หายป่วย ก็ยังคงมีอาการต่อเนื่องประมาณ 2 เดือน หลังกลับไปพักฟื้น
และนี่คือ กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการลองโควิดได้ หากป่วยจากโควิด-19
- ผู้หญิงวัยทำงาน
- กลุ่มผู้สูงอายุ
- คนที่ปอดอักเสบรุนแรงขณะติดโควิด
- คนที่มีภาวะอ้วน และมีโรคประจำตัว เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น
เด็กเล็ก ในกรณีของเด็ก พบว่าหลังหายจากโควิด จะมีอาการที่เรียกว่า MIS-C เป็นอาการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันสูงผิดปกติ ถ้าพบอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์โดยทันที
นอกจากนี้อาการลองโควิด ที่อาจพัฒนานำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือที่รู้จักในชื่อ COVID Heart
COVID Heart คือ อะไร
COVID Heart (Cardiovascular COVID) เป็นหนึ่งในความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหลังร่างกายหายจากการติดเชื้อแล้ว แต่กลับพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบหัวใจและหลอดเลือด นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
สาเหตุหลักของCOVID Heart เกิดจากร่างกายกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนตี้บอดี้ขึ้นมาเพื่อส่งไปจัดการกับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะต่อสู้กับเชื้อโรคซึ่งในระหว่างนั้นเกิดสิ่งที่เรียกว่า เกิดภูมิต้านทานของตัวเองต่อกล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจ หรือที่เรียกว่าภาวะอักเสบ ที่กระทบต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงและลดประสิทธิภาพการทำงาน การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลง รวมทั้งทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ลดเสี่ยงเจ็บป่วยรุนแรงจาก Covid Heart ได้อย่างไร
วิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดในเวลานี้คงไม่มีอะไรดีไปกว่า การไม่ติดเชื้อนั่นเอง เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่มียาชนิดไหนที่จะสามารถรักษาอาการจากการติดเชื้อนี้ได้ การเว้นระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวก็ควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อเช็คอาการของโรคอยู่เสมอ ที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ควรขาดยาหรือหยุดยาเอง รวมไปถึงการหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายและเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนช่วยในเรื่องการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดให้เป็นปกติ
สารอาหารสำคัญดูแลหัวใจแข็งแรง
โคเอ็นไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10)เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย และให้พลังงานกับเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง ตับ และไต ผู้เชี่ยวชาญจึงมีการนำมาใช้บำรุงหัวใจกับคนที่เคยติดเชื้อ เพื่อลดโอกาสการเป็น COVID Heart โดยสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และทำงานได้เป็นปกติและดีขึ้น ซึ่งสารอาหารชนิดนี้จำเป็นและมีความสำคัญในผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก โดยแหล่งอาหารที่พบโคเอ็นไซม์ คิวเทนตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไต หัวใจ ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน และผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันถั่วเหลือง ผัก รำข้าว ซีเรียล น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
กรดไขมัน Omega-3 เป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านเชื้อโรคได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดภาวะการอักเสบในร่างกายเมื่อเกิดการติดเชื้อ เช่น ลดภาวะปอดอักเสบ จากข้อมูลการวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าการได้รับกรดไขมัน Omega-3 สามารถช่วยลดความเสี่ยงและช่วยบรรเทาโรคปอดอักเสบติดเชื้อได้จริง ซึ่งข้อมูลการวิจัยนี้มาจาก Harvard Medical School ได้ระบุว่ากรดไขมัน Omega-3 ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมัน EPA และ DHA เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นสารต้านอักเสบ ที่ชื่อว่า Resolvins ซึ่งจะเป็นสารสำคัญที่ป้องกันปอดอักเสบ นอกจากนั้นกรดไขมัน Omega-3 ยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ป้องกันหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับอาการ COVID Heart
น้ำมันกระเทียม (Garlic Oil) คุณสมบัติอย่างหนึ่งของน้ำมันกระเทียมที่ให้ประโยชน์โดยตรงกับคนที่เป็น COVID Heart ก็คือ ช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน ป้องกันไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง รวมถึงยังช่วยเสริมภูมิให้ร่างกายแข็งแรง
นอกจากนั้น ยังควรเสริมด้วยวิตามินซี วิตามินดี แร่ธาตุสังกะสี โปรตีนเสริม และโปรไบโอติก เพิ่มเสริมภูมิและความแข็งแรงให้กับร่างกาย เพื่อฟื้นฟูให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันอาการ Long Covid ที่จะตามมาได้อีกด้วย
สารอาหารช่วยป้องกันอาการต่างๆ Long Covid
สารสกัดจากรากวาเลอเรียน (Valerian) สมุนไพรจากธรรมชาติที่เป็นที่นิยมในยุโรป ได้การยอมรับว่าช่วยเรื่องเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ มีฤทธิ์เพิ่มสารสื่อประสาทส่วนกลางที่ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับง่ายขึ้น หลับสนิท ไม่ตื่นกลางดึก ไม่ง่วงซึมหลังจากตื่นนอน และยังมีฤทธิ์คลายวิตกกังวล ที่สำคัญมีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการเสพติดเหมือนยานอนหลับชนิดอื่นๆที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท ดังนั้นสารสกัดจากรากวาเลอเรียนจึงเหมาะสำหรับใช้ในผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับและมีภาวะวิตกกังวลโดยเฉพาะในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิตามินบี (Vitamin B) ปริมาณสูง เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง ข้าวกล้อง นม ไข่แดง ปลา เนื้อหมูไม่ติดมัน ผักใบเขียว และธัญพืช หรือจะเลือกเสริมด้วยวิตามินบีรวม เพราะวิตามินบีมีประโยชน์ต่อระบบประสาทและสมอง ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้สมองสดชื่น ปลอดโปร่ง และช่วยลดความเครียดได้ วีธีคลายเครียดบำรุงสมองด้วยวิตามินบี
จินซิโนไซด์ (Ginsenoside) คือ สารสำคัญในโสมเกาหลีจะไปกระตุ้นกระบวนการสร้างสมดุลให้ภูมิคุ้มกัน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว ในการต่อต้านเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยคลายความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง พร้อมปรับสมดุลร่างกายให้แข็งแรงเพิ่มพละกำลังให้ร่างกายตื่นตัวร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า พร้อมปรับสมดุลร่างกายและบำรุงสุขภาพให้แข็งแรงจากภายในเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายแข็งแรง
"เวย์โปรตีน" เป็นอีกหนึ่งวิธีของการเสริมโปรตีนที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่เต็มไปด้วยสารสำคัญและคุณประโยชน์ที่ครบถ้วน ย่อยง่าย ดูดซึมได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมงหลังรับประทาน จึงทำให้หมดปัญหาการย่อยและปัญหาท้องอืดท้องเฟ้อ และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้นมวัวหรือน้ำตาลแลคโตสสามารถรับประทานได้อย่างหมดกังวล นอกจากนั้นการเพิ่มแร่ธาตุซิงค์และซีลีเนียม จะช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังเจ็บป่วยทำให้แข็งแรงได้เร็วขึ้น จึงเหมาะสำหรับ คนที่เพิ่งหายป่วย คนที่เจ็บป่วยบ่อย คนที่เป็นโรคเรื้อรัง คนสูงอายุ ภูมิต้านทานที่ดีต้องมีโปรตีนที่ดี เลือกโปรตีนทั้งทีต้องเวย์โปรตีนไอโซเลท ที่มีส่วนผสมของแร่ธาตุซิงค์และซีลีเนียม
โปรตีน โพรไบโอติกส์ (Probiotics)หรือจุลินทรีย์สุขภาพได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว โดยควรเลือกชนิดที่มีนํ้าตาลน้อย กินร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์สุขภาพ และยังช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารประเภท Junk Food อาทิ อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่าง ของทอด ของมัน หรืออาหารรสจัด ย่อยยาก รวมทั้งควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาหารเหล่านี้มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง
สนใจข้อมูลเพื่อดูแลสุขภาพ
คลิ๊กที่นี่ MEGA We care
คลิ๊กที่นี่ เรื่องน่ารู้น้ำมันปลากับสุขภาพ
ข้อมูลอ้างอิง... Abbasi J. The COVID Heart—One Year After SARS-CoV-2Infection, Patients Have an Array of Increased Cardiovascular Risks. JAMA.2March2022. (https://bit.ly/3yEh46K)