ประชาสัมพันธ์

MEA ปูพรมตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" เขตพื้นที่ชั้นใน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

MEA ลงพื้นที่ตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" ในกลุ่มหม้อแปลงวงจรตาข่าย จำนวน 450 ลูก ในพื้นที่เมืองชั้นใน เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับประชาชน จากเหตุการณ์ เพลิงไหม้ ย่านสำเพ็ง

วันนี้ (7 กรกฎาคม 2565) การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ตรวจสอบ หม้อแปลงไฟฟ้า ในกลุ่มหม้อแปลงวงจรตาข่าย (Network Transformer) อีกจำนวน 450 ลูก ในพื้นที่เมืองชั้นใน เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับประชาชน จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ย่านสำเพ็ง เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา

 

 

 

 

 

 

 

MEA ปูพรมตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" เขตพื้นที่ชั้นใน

 

MEA ปูพรมตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" เขตพื้นที่ชั้นใน

 

MEA ปูพรมตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" เขตพื้นที่ชั้นใน

 

MEA ปูพรมตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" เขตพื้นที่ชั้นใน

 

ตามที่ MEA ได้ดำเนินภารกิจดูแลระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยได้มีการกำหนดมาตรฐานวิศวกรรมในการบำรุงรักษาอุปกรณ์จำหน่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีนั้น การลงพื้นที่ครั้งนี้จึงเป็นมาตรการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยใช้วิธี Dissolved Gas Analysis (DGA) หรือ การวิเคราะห์ก๊าซที่ละลายในน้ำมัน เพื่อตรวจหาความผิดปกติของ หม้อแปลงไฟฟ้า เสมือนการตรวจเลือดของมนุษย์เพื่อตรวจสอบสุขภาพ โดยจะสามารถตรวจวัดค่าความชื้น ค่าก๊าซไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ เอทิลีน อีเทน มีเทน และอะเซทิลีน เป็นต้น

MEA ปูพรมตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" เขตพื้นที่ชั้นใน

 

MEA ปูพรมตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" เขตพื้นที่ชั้นใน

 

MEA ปูพรมตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" เขตพื้นที่ชั้นใน

 

ซึ่งหากพบความผิดปกติ ก็จะทำให้สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุได้อย่างแม่นยำ และสามารถซ่อมบำรุง หรือการเปลี่ยน หม้อแปลงไฟฟ้า ลูกนั้น ๆ ได้ในทันที มีกำหนดการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ให้แล้วเสร็จภายในเดือน สิงหาคม 2565

 

MEA ปูพรมตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" เขตพื้นที่ชั้นใน

 

MEA ปูพรมตรวจสอบ "หม้อแปลงไฟฟ้า" เขตพื้นที่ชั้นใน

 

 

ขณะเดียวกัน MEA จะดำเนินการตรวจสอบด้วยรูปแบบ Standard Check กับ หม้อแปลงไฟฟ้า ของ MEA ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 67,000 ลูก ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยเริ่มต้นระยะที่ 1 จากการตรวจสอบควบคู่กับการทดสอบ DGA ในพื้นที่เมืองชั้นใน และพื้นที่ติดตั้งหม้อแปลงใกล้แหล่งชุมชน รวมจำนวนประมาณ 18,000 ลูก มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 4 เดือน ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ทำเพิ่มเติมจากการตรวจประจำปี โดยการตรวจสอบด้วยกล้องวัดอุณหภูมิ Thermo Scan เพื่อหาค่าความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ ตรวจสอบการทำงานของระบบป้องกันในหม้อแปลงไฟฟ้า รวมถึงการตรวจสอบค่ากระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า จุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ และระบบสายดิน  เพื่อประเมินประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้าแต่ละลูก และประเมินความปลอดภัยตลอดอายุการใช้งาน ตลอดจนการเพิ่มนวัตกรรมระบบควบคุมและติดตามการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า (Online Transformer Control & Monitoring System) มาใช้เสริมความปลอดภัยจากการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ