ประชาสัมพันธ์

โคก หนอง นาโมเดล ทางรอดสู่ "ความยั่งยืน" ด้วย "ความพอเพียง"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กฟผ. จัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้และลงมือทำจริงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ในวันที่ทั่วโลกเผชิญกับการล็อคดาวน์อย่างหนัก ต้องกักตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันที่เคยเป็นเรื่องง่าย ๆ อย่างการออกไปหาซื้ออาหารก็กลับกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก จนนำมาสู่จุดเปลี่ยนของใครหลายคนที่ต้องการหันมาพึ่งพาตนเองเพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นทางรอดในวันที่ทั่วโลกเผชิญกับการล็อคดาวน์อย่างหนัก ต้องกักตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันที่เคยเป็นเรื่องง่าย ๆ อย่างการออกไปหาซื้ออาหารก็กลับกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก จนนำมาสู่จุดเปลี่ยนของใครหลายคนที่ต้องการหันมาพึ่งพาตนเองเพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นทางรอด

 

"โคก หนอง นา โมเดล" ถือเป็นแนวคิดในการออกแบบพื้นที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งรัชกาลที่ 10 ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด โดยเป็นการทำเกษตรในพื้นที่จำกัด กักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดินและใต้ดิน แต่สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเห็นผล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ 7 เขื่อนพระนาม 3 โรงไฟฟ้า ได้แก่ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ และเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา และโรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ "โคก หนอง นา โมเดล" ในการจัดสรรที่ดินสำหรับบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร เปลี่ยนแนวคิดสู่การทำเกษตรอินทรีย์แบบไม่ใช้สารเคมี และสร้างความเข้าใจในการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง

โคก หนอง นาโมเดล ทางรอดสู่ "ความยั่งยืน" ด้วย "ความพอเพียง"

โคก หนอง นาโมเดล ทางรอดสู่ "ความยั่งยืน" ด้วย "ความพอเพียง"

สองตาดูหรือจะเท่าลงมือทำ

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ กฟผ. มุ่งเน้นให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาได้เรียนรู้และลงมือทำจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ได้จริงในพื้นที่ของตัวเอง ยกตัวอย่างที่เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ได้จำแนกฐานการเรียนรู้ออกเป็น 9 ฐาน แบ่งเป็น

 

ด้านอาหาร มีทั้งหมด 5 ฐาน ได้แก่ ฐานคนรักษ์แม่โพสพ เรียนรู้การการปลูกข้าวนาดอนโดยใช้ข้าวพื้นเมืองพันธุ์ซอคาและแยแหของกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติบ้านปิล็อกคี่ ฐานไม้ผลท้องถิ่น จัดแสดงการปลูกไม้ผลท้องถิ่นของอำเภอทองผาภูมิ อาทิ เงาะทองผาภูมิ ทุเรียนก้านยาวทรงหวดทองผาภูมิ ฐานคนรักษ์ป่า เรียนรู้การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการปลูกไม้ 5 ระดับ ฐานคนรักษ์สุขภาพ เรียนรู้สรรพคุณของพืชสมุนไพร ฐานคนรักษ์แม่ธรณี   เรียนรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากแนวคิด "เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช" ช่วยให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตดี  

 

โคก หนอง นาโมเดล ทางรอดสู่ "ความยั่งยืน" ด้วย "ความพอเพียง"

โคก หนอง นาโมเดล ทางรอดสู่ "ความยั่งยืน" ด้วย "ความพอเพียง"
 

ด้านน้ำ จำนวน 2 ฐาน ได้แก่ ฐานคนรักษ์น้ำ เรียนรู้การจัดการน้ำโดยหลักธรรมชาติ อาทิ การขุดคลองไส้ไก่ การทำฝายน้ำล้น และฝายถาวร และฐานคนมีน้ำยา เรียนรู้วิธีการทำน้ำยาเอนกประสงค์จากจุลินทรีย์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

โคก หนอง นาโมเดล ทางรอดสู่ "ความยั่งยืน" ด้วย "ความพอเพียง"

โคก หนอง นาโมเดล ทางรอดสู่ "ความยั่งยืน" ด้วย "ความพอเพียง"

ด้านพลังงาน จำนวน 2 ฐาน คือ ฐานคนมีไฟ เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้โซลาร์เซลล์สำหรับการเกษตร และฐานคนเอาถ่าน เรียนรู้การทำถ่านธรรมชาติและประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ในการไล่แมลง

 

"กฟผ. ตั้งใจขับเคลื่อนศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 10 แห่ง เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้และลงมือทำจริง ก่อนที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในพื้นที่ของตนเอง ทำให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยืน" ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. กล่าวย้ำถึงความตั้งใจของ กฟผ.

 

โคก หนอง นาโมเดล ทางรอดสู่ "ความยั่งยืน" ด้วย "ความพอเพียง"

 

เรียนรู้จากปราชญ์ท้องถิ่น ต่อยอดด้วยภูมิปัญญา

"โคก หนอง นา โมเดล เป็นทางรอด ไม่ใช่ทางเลือก"  นี่คือคำพูดแรกที่ ทูคือ ยินดี ประธานกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติปิล็อกคี่ช เพราะเดิมชาวปกาเกอะญอในหมู่บ้านปิล็อกคี่จะทำเกษตรเชิงเดี่ยวและใช้สารเคมี ทำให้ดินชเสื่อมโทรม ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรเพราะขาดแคลนน้ำ ประกอบกับพื้นที่ในการเพาะปลูกมีอยู่อย่างจำกัด แต่เมื่อคนในชุมชนหันมาเรียนรู้หลักการโคก หนอง นาโมเดล จึงร่วมกันเอามื้อสามัคคีทำฝายชะลอน้ำ ขุดนาขั้นบันได ปลูกผักผลไม้ต่าง ๆ และเลิกใช้สารเคมีในการทำเกษตร

 

ปัจจุบันทูคือเป็นหนึ่งในปราชญ์ท้องถิ่นที่มาร่วมเป็นวิทยากรให้กับศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเขื่อนวชิราลงกรณเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับโคก หนอง นาโมเดลที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของ จ.กาญจนบุรี

 

"ผมเชื่อว่าการจัดตั้งศูนย์นี้ที่เขื่อนวชิราลงกรณจะเป็นประโยชน์กับคนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีบัตรประชาชนก็จะมีโอกาสเข้ามาเรียนรู้และได้ลงมือทำจริง" ทูคือ กล่าวทิ้งท้าย

 

โคก หนอง นาโมเดล ทางรอดสู่ "ความยั่งยืน" ด้วย "ความพอเพียง"

 

การน้อมนำศาสตร์พระราชาตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตจึงไม่เพียงทำให้คนในชุมชนสามารถกลับพึ่งพาตนเอง มีของกิน ของใช้ และที่อยู่อาศัยเท่านั้น หากแต่ยังทำให้สภาพแวดล้อมทั้งดินและน้ำดีขึ้น มีอากาศที่บริสุทธิ์ โดยทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้พื้นที่สังคมเมืองและสังคมชนบทเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ