ข่าว

สภาพอากาศวันนี้ 13 พ.ค. 68 เช็กพื้นที่เสี่ยง ฝนถล่ม 70% กทม.โดนด้วย

สภาพอากาศวันนี้ 13 พ.ค. 68 เช็กพื้นที่เสี่ยง ฝนถล่ม 70% กทม.โดนด้วย

13 พ.ค. 2568

สภาพอากาศวันนี้ 13 พ.ค. 68 เช็กพื้นที่เสี่ยง ฝนถล่ม 70% กทม.โดนด้วย ด้าน อุตุฯ เตรียมประกาศเข้าสู่ "ฤดูฝน" 15 พ.ค. นี้

13 พ.ค. 2568 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคใต้ และประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ และด้านตะวันตกของประเทศระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

สภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้ : การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันบริเวณประเทศไทยตอนบน อยู่ในเกณฑ์น้อยถึงน้อยมาก โดยมีแนวโน้มคงที่ เนื่องจากยังคงมีฝนตกหลายพื้นที่และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม

สภาพอากาศวันนี้ 13 พ.ค. 68 เช็กพื้นที่เสี่ยง ฝนถล่ม 70% กทม.โดนด้วย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 18.00 น. วันนี้ ถึง 18.00 น. วันพรุ่งนี้

 

ภาคเหนือ

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ตาก ลำปาง กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. 


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


ภาคกลาง

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
  • บริเวณจังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส 
  • ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.  

 

ภาคตะวันออก

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
  • บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
  • บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
  • บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
  • บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


กรุงเทพและปริมณฑล

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส 
  • ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

 

ประกาศการเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย ปี 2568

 

ด้าน ดร.สุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ปีนี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ตามเกณฑ์ทางอุตุนิยมวิทยา 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่และต่อเนื่อง 2) ลมชั้นบนที่ระดับความสูงประมาณ 1.5 กิโลเมตร เปลี่ยนทิศทางเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ และ 3) ลมชั้นบนที่ระดับความสูงประมาณ 10 กิโลเมตร เปลี่ยนทิศเป็นลมฝ่ายตะวันออก

ปริมาณฝนรวมปีนี้มากกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูถึงเดือนกรกฎาคม ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนชุกกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 5–10 ส่วนช่วงครึ่งหลังของฤดู (สิงหาคม-ตุลาคม) ปริมาณฝนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก คาดว่าจะมีฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 10 ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกลางกรกฎาคม อาจเกิดฝนทิ้งช่วงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทานที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ขอให้ประชาชนวางแผนการใช้น้ำอย่างเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางการเกษตร

ขณะเดียวกัน ช่วงสิงหาคมถึงตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีความเสี่ยงต่อพายุหมุนเขตร้อน ที่อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยปีนี้คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 1–2 ลูก โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ 

สำหรับอิทธิพลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่-ลานีญ่า (ENSO) ขณะนี้ได้เข้าสู่สภาวะเป็นกลาง และมีแนวโน้มจะคงอยู่เช่นนี้ไปจนถึงช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ส่งผลให้ฤดูฝนปีนี้มีแนวโน้มกระจายตัวดีและมีปริมาณฝนใกล้เคียงหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย

สภาพอากาศวันนี้ 13 พ.ค. 68 เช็กพื้นที่เสี่ยง ฝนถล่ม 70% กทม.โดนด้วย