
สภาพอากาศวันนี้ 25 มี.ค. 68 เปิดพิกัดฝนถล่ม อุตุฯ เตือน"พายุฤดูร้อน"
สภาพอากาศวันนี้ 25 มี.ค. 68 เปิดพิกัดฝนถล่ม ลมกระโชกแรง อุตุฯ เตือน 29 มี.ค.-2 เม.ย.68 เตรียมรับมือ "พายุฤดูร้อน"
25 มี.ค. 2568 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น มีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวและมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจาก สภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานานรวมทั้งระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง
สำหรับลมตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
สภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้ : การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันบริเวณประเทศไทยตอนบนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างมากถึงมากเนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06.00 น. วันนี้ ถึง 06.00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
- อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัว โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดตาก และกำแพงเพชร
- อุณหภูมิต่ำสุด 19-27 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 34-41 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัว
- อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ภาคกลาง
- อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัว โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี และราชบุรี
- อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
- อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัว โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
- อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ยะลา และนราธิวาส
- อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
- มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง กระบี่ ตรัง สตูล และภูเก็ต
- อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
- บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
- อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัว
- อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตว่า ช่วง 29 มี.ค.-7 เม.ย.68 คาดว่าจะมีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคอีสาน ประกอบกับประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกยังพัดปกคลุมภาคเหนือ และลมใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดสอบเข้าหากัน ปกคลุมบริเวณภาคกลาง กทม.และปริมณฑล
ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก (29 มี.ค.-2 เม.ย.68) โดยเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง มีลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และมีลูกเห็บเกิดขึ้นได้ เริ่มทางภาคอีสาน (29/3/68) และภาคตะวันออก ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
ฤดูร้อนปีนี้ คาดว่าอากาศจะไม่ร้อนแรงเหมือนปีที่แล้ว จะมีอากาศร้อนเป็นช่วงๆ และมีพายุฤดูร้อนมาสลับในบางวัน ต้องระวังพายุฤดูร้อน มาเร็ว แรง อาจสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน แม้ปริมาณในระยะนี้อาจจะไม่มากนัก แต่พอช่วยให้บางพื้นที่มีความชุ่มชื้น คลายร้อนได้ แต่ยังมีบางพื้นที่ที่มีฝนน้อย
หากมีฝนตกควรหาภาชนะสำรองน้ำไว้ใช้เพื่ออุปโภคและบริโภค ส่วนน้ำเพื่อการเกษตรอาจยังไม่เพียงพอในฤดูร้อนนี้ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าและประมวลผลใหม่ ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศ)