Lifestyle

น่าน...ไง บ้านสะปัน ที่ก้าวผ่านวิถีข้าวโพด สู่วิถีชุมชนต้องเที่ยว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์ท่องเที่ยว "วิถีไทย" หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับสุดท้าย 8 เม.ย.2563 โดย ธนชัย แสงจันทร์ เจ้าหน้าที่สื่อสารเพื่อสร้างสังคมฐานความรู้ สกสว.

 

 

*******************************

 

 

"น้ำไหล นกร้อง" เสียงที่บอกถึงความเป็นธรรมชาติ ซึ่งเราอาจรับรู้และสัมผัสโดยไม่ต้องลืมตาขึ้นมามอง ทั้งหมดที่กล่าว คนเมืองหลายคนอาจจะไม่ได้ยินหรือสัมผัส หากแต่เปิดทีวีดูสารคดีแล้วจินตนาการตามเท่านั้น

 

เช่นเดียวกับชุมชนบ้านสะปัน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ที่น้อยคนจะรู้จัก...ว่าสวรรค์บนดินเป็นอย่างไร

 

 

 

น่าน...ไง บ้านสะปัน ที่ก้าวผ่านวิถีข้าวโพด  สู่วิถีชุมชนต้องเที่ยว

 

 

เชื่อว่าอีกไม่นาน ภาพที่พักริมน้ำว้าที่ใสเห็นตัวปลา กระโจมริมน้ำตกที่มีเสียงน้ำกระทบหินทุกค่ำเช้า จะปรากฏใน Google และ เพจท่องเที่ยว ต่างๆ เต็มไปหมด และอาจจะโด่งดังก่อน

 

ท่องเที่ยววิถีไทยฉบับสุดท้ายนี้ จะกางอยู่ต่อหน้าทุกท่านเสียอีก แต่ถึงอย่างไร ความประทับใจที่จะกล่าวต่อจากนี้ ไม่เสียเที่ยวที่จะได้ทำความรู้จักหมู่บ้านเล็กๆ กลางหุบเขาที่โอบล้อมไปด้วยต้นไม้ รวมถึง ธารน้ำ และ สายลม

 

 

 

น่าน...ไง บ้านสะปัน ที่ก้าวผ่านวิถีข้าวโพด  สู่วิถีชุมชนต้องเที่ยว

 

 

ทว่าบางท่านที่อ่านแล้วอาจจะบอกว่าไม่เชื่อ? ก็เป็นไปได้ ด้วยที่ผ่านมา จังหวัดที่ถูกขนานนามว่าเป็น ‘หุบเขาข้าวโพด’ เกษตรเชิงเดี่ยวซึ่งโยงใยผลประโยชน์ “คน-ป่า-น้ำ” จนส่งผลกระทบถึงระบบนิเวศในระดับวิกฤติ จากแหล่งเหลือธรรมชาติที่สมบูรณ์ สวยงามเช่นนี้

 

บ้านสะปัน ที่นี่ไม่เป็นอย่างที่คิด และ อย่างที่เขาเล่าว่า จังหวัดน่านมีแต่เทือกเขาโล้น ที่เกิดจากคนลุกป่าปลูกข้าวโพด กระทั่งประจักษณ์ด้วย “ตา” และไปลองสัมผัสด้วยตนเอง

 

 

 

น่าน...ไง บ้านสะปัน ที่ก้าวผ่านวิถีข้าวโพด  สู่วิถีชุมชนต้องเที่ยว

 

 

เริ่มตั้งแต่รถยนต์แล่นผ่านตัวอำเภอเมือง อำเภอปัว ก่อนจะไต่ระดับความสูงขึ้นมาตามถนนลอยฟ้าเห็นวิวรอบทิศ สู่ดินแดนเกลือสินเธาว์โบราณ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีอนุรักษ์ ที่คนส่วนใหญ่นิยมมาชมและทำความรู้จักกระบวนการต้มเกลือ ที่ใช้หลักการระเหิด ของน้ำด้วยความร้อน ต่างกับบ้านสะปันที่ใครก็ส่ายหน้าเมื่อถามถึง เว้นแต่เป็นคนในพื้นที่

 

วันนี้ ไม่เหมือนเมื่อวาน หมู่บ้านกลางหุบเขาและสายน้ำ กลายเป็นชุมชนมีมนต์เริ่มมีคนรู้จัก และแวะเวียนเข้ามาเที่ยว หรือ เข้ามาพักโฮมสเตย์ ซึ่งถือเป็นตัวเลือกที่ดีของคนชอบธรรมชาติ “อยู่นิ่งๆ ดูปลา” ที่ชานบ้านริมน้ำ

 

 

 

น่าน...ไง บ้านสะปัน ที่ก้าวผ่านวิถีข้าวโพด  สู่วิถีชุมชนต้องเที่ยว

 

 

หรือ ถ้าใครอยากเปลี่ยนบรรยากาศไปนอนที่กระโจมขาวริมน้ำ “ฟังเสียงลมพัดใบไม้ และเสียงน้ำไหลกระทบหิน” ก็เป็นตัวเลือกที่ดี นอกจากแลนด์มาร์คที่กล่าวไป 2 จุดแล้ว ยังมีที่พักบนเชิงเขา สำหรับคนที่ชอบวิว

 

เรียกได้ว่า มาที่นี่ที่เดียวจบ...ก็ว่าได้ หลักท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างในละแวกเดียวกัน เช่น กาแฟบ้านไทลื้อ วัดพระธาตุจอมกิตติ การต้มเกลือสินเธาว์ ชมบ่อโบราณอายุกว่า 800 ปี พระตำหนักภูฟ้า ล่องแก่งน้ำว้า และ จุดชมภูมิทัศน์ เดอะวิวกิ่วม่วง

 

เดิมก่อนหน้านี้ กิจกรรมท่องเที่ยวจะสิ้นสุดที่อำเภอบ่อเกลือ อย่างมากก็อยู่ทานข้าวเย็นเมนูพิเศษ “ไก่ทอดมะแข่วน” ที่บอเกลือฮิว หรือ พักที่นั้น เพราะเมื่อก่อนที่พักแถวนี่มีไม่มา ถือเป็นข้อจำกัด ที่น่าเสียดาย ประกอบกับการเดินทางด้วยลักษณะถนนที่สูงชันตามแนวเขา

 

 

 

น่าน...ไง บ้านสะปัน ที่ก้าวผ่านวิถีข้าวโพด  สู่วิถีชุมชนต้องเที่ยว

 

 

บางช่วงถนนเลี้ยวโค้งไปมาอยู่บนยอดดอย อันเป็นที่มาของ “ถนนลอยฟ้า” หากมองในช่วงกลางวันผ่านกระจกรถออกไปจะเห็นเส้นจากยอดต้นไม้บนเขาตัดกับขอบฟ้าไปจนสุดสายตา สลับกับเมฆหมอกที่เกาะกลุ่มกันเป็นก้อนคลายกับว่ามันกำลังวิ่งตามรถที่กำลังแล่นอยู่

 

แม้ภูมิทัศน์ที่มองเห็นระหว่างทาง ซ้าย-ขวา จะตื่นตาแต่ก็ไม่พอที่จะหลอกล้อสายตาให้หันเหจากซากต้นข้าวโพดที่ยืนแห้งตายข้างทาง

 

ตรงกันข้ามกับยามค่ำคืน นอกจากแสงจากหน้ารถแล้ว ก็ไม่มีแสงใดที่พอจะมองเห็นทางข้างหน้า แม้ยามที่เงยหน้าขึ้นฟ้าจะมีจันทร์และแสงดาว แต่ก็ไม่พอที่จะมองเห็น ถือว่าเป็นความอันตรายที่คนขับรถต้องระวัดระวัง และไม่เหมาะกับคนขับรถน้อยประสบการ หรือ มือใหม่

 

ร่องรอยความเสียหายของธรรมชาติที่เกิดจากการปลูกข้าวโพดในพื้นที่จังหวัดน่าน ทำให้ชาวบ้านที่นี่ “รู้ซึ้ง” ถึงผลกระทบ เมธวัฒน์ พุทธธาดากุล นายกอบต.ดงพญา ประธานโครงการป่าชุมชนบ้านสะปัน ย้อนถึงบทเรียนที่ผ่านมาว่า ตั้งแต่ก่อน ปี พ.. 2553 พื้นที่ป่าธรรมชาติในจังหวัดน่านได้ถูกเปลี่ยนเป็นที่พื้นการเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อการพาณิชย์อย่างรวดเร็วจนคาดไม่ถึง โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตัวเลขกลมๆ ของพื้นที่เพาะปลูกอยู่ที่ 9 แสนไร่และเพิ่มขึ้นทุกปีหลังจากนั้น

 

 

 

น่าน...ไง บ้านสะปัน ที่ก้าวผ่านวิถีข้าวโพด  สู่วิถีชุมชนต้องเที่ยว

 

 

ผลกระทบที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ การพังทลายของดินบนพื้นที่ลาดชัน การชะล้างตะกอนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้นพอถึงฤดูแล้ง ภูเขาสีน้ำตาลก็ถูกซ้ำเติมด้วยไฟป่าและหมอกควัน

 

ซึ่งคนที่ต้องทนทุกข์มากกว่าใคร ก็คือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่รวยสักที แถมยังต้องเผชิญกับพิษของสารเคมีทั้งที่สูดดมเข้าไปและปนเปื้อนในแหล่งน้ำ

 

 

 

น่าน...ไง บ้านสะปัน ที่ก้าวผ่านวิถีข้าวโพด  สู่วิถีชุมชนต้องเที่ยว

 

 

 

เรื่องนี้คนน่านรู้ดีว่าเพราะอะไร กระทั้งมีการพูดคุย และ ได้ทำวิจัย “แนวทางการอนุรักษ์ และ ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติ” โดยการสนับสนุนของฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือ สกสว. ปัจจุบัน

 

จากการพูดคุยเปิดใจของคนในชุมชน ทำให้ได้สรุปผลกระทบร่วมกัน และ ช่วยกันแก้ไขเลื่อยมา สร้างชื่อเสียงมิติใหม่ที่ใครก็อยากไปเยี่ยมชม

 

 

 

น่าน...ไง บ้านสะปัน ที่ก้าวผ่านวิถีข้าวโพด  สู่วิถีชุมชนต้องเที่ยว

 

 

วันนี้ ไม่ว่าภาพความงามของธรรมชาติ เรื่องราวที่บอกเล่ามานี้ จะกระตุ่นความปรารถนา จะแรงปานใดเราทุกคนก็ไม่สามารถกล่าวออกจากบ้าน หรือ ที่พัก ด้วยกติกาทางสังคม Social Distancing เราไม่ติดต่อ (โควิด19) ไม่ติดต่อ เพื่อเราทุกคน ไม่งั้นก็อาจกลายเป็นดราม่าของคนเมืองผู้โหยหาธรรมชาติ....

 

...และมันกำลังจะนำไปสู่ดราม่าเรื่องต่อไป

 

โดย ธนชัย แสงจันทร์ เจ้าหน้าที่สื่อสารเพื่อสร้างสังคมฐานความรู้ สกสว.

 

 

********************************************************************
 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ