ข่าว

23 มีนาคม "วันอุตุนิยมวิทยาโลก" ร่วมขับเคลื่อน ต่อสู้กับ สภาพภูมิอากาศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

23 มีนาคม "วันอุตุนิยมวิทยาโลก" ร่วมขับเคลื่อน เป็นแนวหน้าของภารกิจต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และ ร่วมมือจากทุกภาคส่วน สร้างโลกที่ปลอดภัย

"วันอุตุนิยมวิทยาโลก" ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี โดยเริ่มมาจากการที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อสำรวจ สภาพอากาศ ทั่วโลก และทำการเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางภูมิอากาศ ตลอดจนพยากรณ์สภาพอากาศเพื่อเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้หากสภาพอากาศของโลกเกิดการแปรปรวน โดยใช้ชื่อว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION (WMO)

 

 

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization - WMO) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลซึ่งมีรัฐและดินแดนสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดราย จัดตั้งขึ้นเป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อ ค.ศ. 1950 สืบต่อจากองค์การอุตุนิยมวิทยาระหว่างประเทศ (International Meteorological Organization) ที่จัดตั้งเมื่อ ค.ศ. 1873 มีหน้าที่ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยาเชิงปฏิบัติการ และภูมิศาสตร์กายภาพแขนงที่เกี่ยวข้อง มีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาสหประชาชาติ (United Nations Development Group) ด้วย

 

"วันอุตุนิยมวิทยาโลก" ปี 2567 นี้จัดขึ้นภายใต้ประเด็นที่ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) กำหนดให้เป็นวาระที่ต้องการผลักดันให้สังคมโลกได้รับรู้และตระหนักถึงภารกิจของ WMO และประเทศสมาชิกที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนและเป็นแนวหน้าของภารกิจต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ปลอดภัย

 

 

การ พยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต การที่จะพยากรณ์อากาศได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ ประการแรกคือความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ประการที่ สองคือสภาวะอากาศปัจจุบัน และประการสุดท้ายคือความสามารถที่จะผสมผสานองค์ประกอบทั้งสองข้างต้น เข้าด้วยกันเพื่อคาดหมายการ เปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

 

ระยะเวลาของการ พยากรณ์อากาศ

 

การ พยากรณ์อากาศ อาจเป็นการคาดหมายสำหรับช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า จนถึงการคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกหลายปีจากปัจจุบัน สามารถแบ่งชนิดของการพยากรณ์อากาศตามระยะเวลาที่คาดหมายได้ดังนี้

 

1. การพยากรณ์ปัจจุบัน (nowcast) หมายถึงการรายงานสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศสำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง

 

2. การพยากรณ์ระยะสั้นมาก คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมง

 

3. การพยากรณ์ระยะสั้น หมายถึง การพยากรณ์สำหรับระยะเวลาเกินกว่า 12 ชั่วโมงขึ้นไปจนถึง 3 วัน

 

4. การพยากรณ์อากาศระยะปานกลาง คือ การพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาที่เกินกว่า 3 วันขึ้นไปจนถึง 10 วัน

 

5. การพยากรณ์ระยะยาว คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาระหว่าง 10 ถึง 30 วัน โดยปกติมักเป็นการพยากรณ์ว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงเวลานั้นจะแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร

 

6. การพยากรณ์ระยะนาน คือการพยากรณ์ตั้งแต่ 30 วัน จนถึง 2 ปี ซึ่งยังแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิด คือ

  • การคาดหมายรายเดือน คือการคาดหมายว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิกาศอย่างไร
  • การคาดหมายรายสามเดือน คือการคาดหมายค่าว่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยม วิทยาในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
  • การคาดหมายรายฤดู คือการพยากรณ์ค่าเฉลี่ยของฤดูนั้นว่าจะแตกต่างไปจากค่า เฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร

 

7. การพยากรณ์ภูมิอากาศ คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลามากกว่า 2 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น

  • การพยากรณ์การผันแปรของภูมิอากาศ คือการพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผันแปร ไปจากค่าปกติเป็นรายปีจนถึงหลายสิบปี
  • การพยากรณ์ภูมิอากาศคือการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศในอนาคตโดยพิจารณาทั้ง สาเหตุจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์

 

 

ข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ