การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ประกาศขึ้น ค่าทางด่วน ฉลองรัช และทางด่วนบูรพาวิถี ตามเงื่อนไขสัญญากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย TFFIF ที่จะปรับขึ้น ทุก 5 ปี โดยปรับอัตราค่าผ่านทางในวันที่ 1 มี.ค. 2567 หลังจากที่ชะลอการปรับขึ้นค่าผ่านทางตามสัญญา มาตั้งแต่ 1 ก.ย. 2566 เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ทางพิเศษและประชาชน
ทั้งนี้ทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษบรูพาวิถี มิได้มีการปรับขึ้นค่าผ่านทางมากว่า 6 ปี และทั้งนี้การปรับขึ้นค่าผ่านทางดังกล่าว คิดคำนวณตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ที่จะปรับขึ้นประมาณ 10% หรือประมาณ 5 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
ค่าทางด่วนฉลองรัช
-
รถ 4 ล้อ ราคาเดิม 40 บาท ปรับเป็น 45 บาท
-
รถ 6-10 ล้อ ราคาเดิม 60 บาท ปรับเป็น 65 บาท
-
รถมากกว่า 10 ล้อ ราคาเดิม 80 บาท ปรับเป็น 90 บาท
ยกเว้นด่านฯ รามอินทรา 1 และด่านฯ สุขาภิบาล 5-2
-
รถ 4 ล้อราคาเดิม 20 บาท ไม่มีการปรับขึ้น
-
รถ 6-10 ล้อราคาเดิม 30 บาทปรับเป็น 35 บาท
-
รถมากกว่า 10 ล้อราคาเดิม 40 บาทปรับเป็น 45 บาท
ค่าทางด่วนบูรพาวิถี
รถ 4 ล้อ
-
กรณีเดินทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร จะใช้อัตราค่าผ่านทางเดิม
-
กรณีเดินทางเกิน 20 กิโลเมตร จะปรับอัตราค่าผ่านทางต่ำสุด 5 บาท สูงสุดไม่เกิน 10 บาท โดยคิดตามระยะทาง
รถ 6-10 ล้อ
-
กรณีเดินทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร จะปรับขึ้น 5 บาท
-
กรณีเดินทางเกิน 20 กิโลเมตร จะปรับอัตราค่าผ่านทางต่ำสุด 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 บาท โดยคิดตามระยะทาง
รถมากกว่า 10 ล้อ
-
กรณีเดินทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร จะปรับขึ้น 5 บาท
-
กรณีเดินทางเกิน 20 กิโลเมตร จะปรับอัตราค่าผ่านทางต่ำสุด 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 25 บาท โดยคิดตามระยะทาง
ทั้งนี้ กทพ. ได้พยายามชะลอการปรับขึ้นค่าผ่านทางของทางพิเศษ (ค่าทางด่วน) ทั้ง 2 สายดังกล่าว มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางพิเศษฉลองรัช ที่ไม่ได้ปรับขึ้นค่าทางด่วนมาเป็นระยะเวลา 15 ปีแล้ว แม้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ การบำรุงรักษาทางพิเศษเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ดีจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีก็ตาม ซึ่ง กทพ. ขอขอบพระคุณประชาชนผู้ใช้ทางพิเศษ ที่ให้การสนับสนุน กทพ. ด้วยดีมาโดยตลอด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง