ข่าว

เปิด 'เงื่อนไขมรดกโลก' UNESCO ใช้หลักเกณฑ์อะไร พิจารณา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความเข้าใจ 'เงื่อนไขมรดกโลก' UNESCO ใช้หลักเกณฑ์อะไร พิจารณา เช็ก 4 มรดกโลกที่จับต้องไม่ได้ของไทย มีอะไรบ้าง

UNESCO ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์” ประเพณีเก่าแก่ของประเทศไทย เป็น “มรดกโลก” ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เป็นลำดับที่ 4 ต่อจาก โขน, นวดแผนไทย และ โนรา...กว่าจะได้เป็นมรดกโลก ยูเนสโก มีเงื่อนไขอย่างไร ในการพิจารณา และหลังจากขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว พันธผูกพันธ์เป็นอย่างไร

สงกรานต์มรดกโลก

“มรดกโลก” แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ด้านศิลปวัฒนธรรม กับ ด้านธรรมชาติ ซึ่งมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งนี้ เป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นมาอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและความรู้สึกสืบเนื่องก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

 

 

โดย “สงกรานต์, โขน, นวดแผนไทย และ โนรา ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มี 5 สาขา 

 

 

  1. ประเพณีและการแสดงออกที่เป็นมุขปาฐะ รวมถึงภาษาในฐานะพาหะ
  2. ศิลปะการแสดง
  3. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
  4. ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
  5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม

โขน

เงื่อนไขมรดกโลก 

 

 

กว่าจะได้รับรองขึ้นเป็น “มรดกโลก” ต้องผ่านเกณฑ์การคัดเลือกของ UNESCO ซึ่งแต่ละสถานที่ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ก็มีข้อเสนอเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป โดยเกณฑ์การคัดเลือกมีอยู่ 10 ข้อ และการได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ต้องตรงตามเกณฑ์อย่างน้อย 1 ข้อ

 

 

  1. เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอก ที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  2. เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลก ซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  3. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน หรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  4. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้าง อันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  5. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
  6. มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

ประชุมยูเนสโก

 

พันธผูกพันธ์หลังจากขึ้นทะเบียนยูเนสโก

 

 

เมื่อมรดกภูมิปัญญาฯ ได้รับการทะเบียนแล้ว รัฐภาคีจะต้องเสนอรายงานสถานะของรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ทุก 6 ปี โดยนำเสนอใน 7 ประเด็น ดังนี้

 

 

  1. ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหน้าที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม บทบาทของผู้ถือครอง และผู้ปฏิบัติที่มีต่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  2. สถานการณ์ดำรงอยู่ และความเสี่ยงในปัจจุบันของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  3. ความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ หลังจากที่ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  4. มาตรการที่ดำเนินการที่ส่งเสริมและสนับสนุน อันเนื่องมาจากการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 
  5. การมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 
  6. หน่วยงาน และองค์กรชุมชนที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการ และส่งเสิรมรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 
  7. การเปิดโอกาสให้ชุมชน กลุ่มต่างๆ องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุดในกระบวนการจัดทำรายงาน

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ