ข่าว

พิรุธ TOR โครงการ 'เสาไฟฟ้าเครื่องบิน' ระบุสเปคละเอียดยิบส่อแววปิดกั้น?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดพิรุธ TOR โครงการ 'เสาไฟฟ้าเครื่องบิน' บอกสเปคแบบละเอียดยิบ ต้องทดลองระบบ 3 วันหลังยื่นซอง แถมรูปปั้นเครื่องบินสุดแพง ส่อแววปิดกั้นหรือไม่

โครงการติดตั้ง "เสาไฟฟ้าเครื่องบิน" ต.หนองปรือ จ. สมุทรปราการ กลายเป็นอีกหนึ่งโครงการที่กำลังเกิดกกระแสวิจารณ์อย่างมา เพราะด้วยงบประมาณที่สูงกว่า 35 ล้านบาท 

 

นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (อดีตผู้ว่าฯ สตง.) ให้สัมภาษณ์ กับ คมชัดลึก ว่า การที่จะพิจารณาว่าการจัดซื้อจัดจ้างโครงการ "เสาไฟฟ้าเครื่องบิน" ในครั้งนี้ถูกต้องหรือไม่ จะต้องมีการพิจารณารายละเอียดในข้อตกลงขอบเขตการจ้างงาน (TOR) เป็นตัวประกอบ  ว่ามีการเขียน TOR แบบเฉพาะเจาะจงหรือไม่ และTOR เอื้อแก่การประมูลสำหรับบริษัทเอกชนเข้าใดเจ้าหนึ่งหรือไม่

นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาบริบทแวดล้อมลักษณะถนนที่ทำการติดตั้งประกอบด้วยว่า มีความเหมาะม หรือเป็นไปตามระเบียบของกราส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้หรือไม่ โดยเฉพาะใน TOR  ที่ระบุรายละเอียด ว่า เสาไฟฟ้าพร้อมกิ่งโคมจะต้องมีคุณสมบัติ เป็นเสาที่ผลิตตามสแตนเลส ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 144  ความหนาไม่น้อยกว่า 4 มม. ความยาวไม่น้อยกว่า 8 ม. ชนิดท่อนเดียวไม่มีรอยต่อ เพื่อความมั่นคงแข็งแรง

 

เสาไฟฟ้าเครื่องบิน

 

โดยรายละเอียดดังกล่าวหากเป็นการก่อสร้างในถนนของทางหลวงชนบทเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นความยาวที่สูงเกินไปหรือไม่  เนื่องจากความกว้างของถนนมีความสัมพันธ์กับขนาดของเสาไฟด้วย หากเป็นช่องทาง 2 ช่องจราจรอาจจะไม่ต้องสูงขนาดนี้ก็ได้

 

 

นอกจากนี้รายละเอียดใน TOR ที่อาจจะส่อได้ว่ามีการเจาะจงเป็นพิเศษ คือ ผู้เสนอราคาจะต้องนำตัวอย่างอุปกรณ์ พร้อมทำการติดตั้งจริงและทดสอบระบบ ณ บริเวณที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือกำหนด เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาถัดจากวันที่ยื่นเสนอราคาแล้วภายใน 3 วันทำการ โดยให้ผู้เสนอราคานำอุปกรณ์พิจารณาพร้อมติดตั้ง ดังนี้

 

 

ประติมากรรมรูปจำลองเครื่องบินสแตนเลสขนาดความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า 95 ซม.ชุดโคมไฟ ขนาด 60 วัตต์ พร้อมแผงโซล่าเซลล์ไม่น้อยกว่า 120 วัตต์ จำนวน 2 แผง รวม 240 วัตต์ (หรือแผงโซล่าเซลขนาดไม่น้อยกว่า 240 วัตต์ จำนวน 1 แผง) ชนิดผลิกเดี่ยว หรือ ผลึกซ้อน (Crystalline Silicon) พร้อมอุปกรณ์ครบชุดจำนวน 1 ชุด

 

เสาไฟฟ้าเครื่องบิน

 

โดยอดีตผู้ว่า สตง. ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับ TOR ข้อนี้ ว่า กรณีที่กำหนดให้มีการทดสอบอุปกรณ์ภายใน 3 วันหลังจากที่ทำการเสนอราคา เป็นระยะเวลาที่สั้นเกินไปสำหรับการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ยกเว้นแต่ว่าจะมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเท่านั้น จึงจะสามารถนำมาทดสอบได้ทันเวลา ซึ่งข้อนี้หากไม่ใช่เอกชนเจ้าใหญ่ที่มีอุปกรณ์ครบอยู่แล้วก็จะสามารถทำได้อยาก และมีโอกาสที่จะทำให้คู่แข่งการประกวดราคามีน้อยลง  และที่น่าจับตามองคือ รูปบินที่ติดบนเสาไฟมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องออกแบบให้เป็นเครื่องบิน เพราะเฉพาะราคารูปปั้นเครื่องบินก็มีราคาที่ค่อนข้างสูง ยิ่งไปกว่านั้นหากเอกชนที่ชนะการประกวดราคาครั้งนี้มีการไปจดลิขสิทธิ์ตัวประติมากรรม หรือจดทะเบียนนวัตกรรมเฉพาะจะยิ่งมีความน่าสงสัยมากขึ้นไปอีกในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการ เสาไฟฟ้าเครื่องบิน ครั้งนี้และมีแนวโน้มที่อาจจะเป็นไปได้ว่ามีลักษณะการปิดกั้นการประกวดราคาหรือไม่

 

 

 

‘สิ่งที่ควรจะมีการตั้งคำถามกับการจัดซื้อจัดจ้าง "เสาไฟฟ้าเครื่องบิน" ครั้งนี้คือมีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องติดรูปปั้นเครื่องบินไว้บนเสา ได้ใช้งานจริงหรือไม่ เพราะราคาค่อนข้างสูงมากหากตัดส่วนที่เป็นเครื่องบินออกไปจะทำให้ได้ราคาเสาไฟฟ้าที่ถูกลงกว่า 20,000 บาท ผมเห็นว่ามันเกินความจำเป็นที่จะต้องติดตั้งในลักษณะเช่นนี้ เพราะราคาแพงเกินไปหากไม่มีเครื่องบิน อบต.ก็จะประหยัดงบได้มากขึ้นด้วย ’ นายพิศิษฐ์กล่าวทิ้งท้าย   

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ