ข่าว

มัคคุเทศก์ เปิดเผยข้อมูลอีกแง่ ประวัติ ครูกายแก้ว ไม่ตรงข้อเท็จจริง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มัคคุเทศก์ นำเที่ยวเมืองนครวัด เปิดเผยข้อมูลข้อทเ็จจริงอีกแง่มุม ประวัติ ครูกายแก้ว รูปปั้นดังในออนไลน์ ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

จากกรณีโลกออนไลน์ เผยแพร่ภาพเห็นการณ์รูปปั้นขนาดใหญ่ติดคานสะพานลอย บริเวณถนนรัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา และมีการเปิดเผยข้อมูลเก่ี่ววกับรูปปั้นดังกล่าวจากสื่อมวลชน ระบุว่า เป็นรูปปั้นของ ครูกายแก้ว

รูปปั้นครูกายแก้วที่แชร์กันในโลกออนไลน์

ซึ่งมีการจัดสร้างขึ้นโดย อ.สุชาติ รัตนสุข ผู้ก่อตั้งเทวลัยพระพิฆเนศ ห้วยขวาง ล่าสุด เฟซบุ๊กส่วน ชื่อ ไกด์โอ พาเที่ยว ได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลอีกด้านที่น่าสนใจ โดยระบุข้อความว่า ครูกายแก้ว ไม่อยากถูกหลอก ต้องมาเรียน "จารึก"จากกระแสอันโด่งของ "ครูกายแก้ว" ที่แค่ระหว่างเดินทางขนย้าย ก็เกิดปัญหา อุปสรรค ทำให้คนเดือดร้อนต่างๆนานา ดังที่เป็นข่าวมา ก็ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวมาดังนี้นะครับ

เฟซบุ๊ก ไกด์โอ พาเที่ยว ลงข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับครูกายแก้ว

เนื้อหาข้อความอีกด้านระบุต่อไปว่า เนื้อหาจากข่าว "ครูกายแก้ว"  หรือที่หลายๆ คนอาจรู้จักกันในนามของ  "พ่อใหญ่ บรมครูผู้เรืองเวทย์" นี้  มีที่มาเท่าที่ปรากฎว่า มากับพระธุดงค์ที่จังหวัดลำปาง  จากการที่พระรูปนี้ได้ธุดงค์ไปทำสมาธิที่ปราสาทนครวัดนครธม ประเทศกัมพูชา  และต่อมาก็ได้มอบครูกายแก้วนี้ให้กับลูกศิษย์นั่นก็คือ อาจารย์........... หรือพ่อหวิน  นักร้องเพลงไทยเดิมของกองดุริยางค์ทหารสมัยก่อน  ผู้เป็นอาจารย์ของท่านอาจารย์........... ผู้สร้างองค์ปฐมของครูกายแก้วขึ้นในประเทศไทย ในครั้งแรกที่อาจารย์...........ได้รับมอบครูกายแก้วมานั้น  องค์ครูมีขนาดเล็ก

ภาพแกะสลักที่นครวัด จากเฟซบุ๊ก ไกด์โอ พาเที่ยว

 เป็นลักษณะคนนั่งหน้าตักเพียงแค่ประมาณ 2 นิ้วเท่านั้น และต่อมาครูกายแก้วก็ปรากฎกายให้อาจารย์..........ได้เห็น  ในตอนนั้นเองอาจารย์........... ก็ได้ทำการวาดภาพของครูกายแก้วจากจินตนาการ  และทำการหล่อรูปองค์ครูขึ้นเป็นองค์แรก มีลักษณะเป็นองค์ยืน  คล้ายคนแก่  นำไปไว้ที่สำนัก จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการบูชาครูนั่นเอง

ภาพแกะสลักที่นครวัด จากเฟซบุ๊ก ไกด์โอ พาเที่ยว

โดยรูปร่างลักษณะขององค์ครูกายแก้วที่อาจารย์.......... สร้างขึ้นมานั้น  เป็นลักษณะของผู้บำเพ็ญ  กึ่งมนุษย์กึ่งนก  มีปีกด้านหลัง  มีเขี้ยวทองเพื่อสื่อถึงนกการเวก อ้างอิงตามหลักฐานที่ปรากฎอยู่บนกำแพงบายน ที่มีประวัติของการเวกซึ่งเป็นพวกนักดีดสีตีเป่า ถือเป็นครูของศาสตร์ศิลป์ทั้งหลายในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของกัมพูชา

ภาพแกะสลักที่นครวัด จากเฟซบุ๊ก ไกด์โอ พาเที่ยว

ข้อเท็จจริง
- จากประสบการณ์​การทำทัวร์นครวัดมากว่า 20ปี ไม่เคยเห็นมี "พระธุดงค์​" เดินเท้า ปักกลด ไปที่ "นครวัดหรือนครธม" แต่มีพระ "ซื้อทัวร์ หรือ ให้จัดทัวร์" อยู่เป็นประจำ
- เท่าที่เดิน นครวัด-นครธม มากว่า 200ครั้ง ก็ไม่เคยเห็น "พระ"ไปนั่งทำสมาธิที่ตัวปราสาทเลย เพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ผู้คนพลุกพล่าน แต่ถ้ามีก็คือไปนั่งเพื่อโพสท่าถ่ายรูปเท่านั้น

ภาพแกะสลักที่นครวัด จากเฟซบุ๊ก ไกด์โอ พาเที่ยว
- เท่าที่ผมเดินปราสาท "บายน" มาเยอะพอสมควร ก็ไม่เคยเห็นมีรูปนี้ ตามที่กล่าวอ้าง
- ครูของพระเจ้า "ชัยวรมเทวะ ที่๗" ตามจารึกปราสาทตาพรหม ปรากฎชื่ออยู่เพียงสองท่าน คือ "ศรีมังคลารถเทวะ" และ "ศรีชยกีรติเทวะ"
- ถ้าจะมีรูปที่เหมือนรูป "ครูกายแก้ว" อย่างที่ปรากฎในข่าว ผมก็นึกออกอยู่ที่เดียว ก็คือที่ระเบียงภาพแกะสลักที่ "นครวัด" ทางระเบียงด้าน "ทิศเหนือฝั่งตะวันออก"

มัคคุเทศก์ เปิดเผยข้อมูลอีกแง่ ประวัติ ครูกายแก้ว ไม่ตรงข้อเท็จจริง
- ซึ่งรูปนี้เป็นเรื่องราวของ "พระกฤษณะปราบท้าวพาณอสูร" และฉากนี้เป็นภาพของ เหล่า "นักสิทธิ์​, คนธรรพ์​, วิทยาธร, กินนร, กินรี" ที่อาศัยอยู่ตามซอกผา หรือถ้ำ ที่ตั้งอยู่ตามเชิงเขาไกรลาส เพราะรูปแกะสลักที่อยู่ด้านบนของภาพแกะสลักนี้ คือรูปที่ "ท้าวพาณอสูร" ไปเข้าเฝ้าขอความอนุเคราะห์ต่อ "พระศิวะ" ที่ประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส

- แต่ภาพแกะสลักที่ระเบียงฝาผนังด้านนี้ ก็ไม่ได้แกะสลักในสมัย "พระเจ้าสูรยวรมเทวะ ที่๒" อีกเช่นกัน  เพราะในสมัยของพระองค์นั้น แกะสลักภาพสำเร็จอยู่เพียง ๖ภาพเท่านั้น
- ก็ขอยกเอาข้อความของอาจารย์​ข้าพเจ้า Kang Vol Khatshima  ที่แปลจารึกที่แกะสลักอยู่เหนือภาพนี้ โดยมีคำแปลว่า

ภาพแกะสลักที่นครวัด จากเฟซบุ๊ก ไกด์โอ พาเที่ยว
"พระบาทมหาวิษณุโลก ทำยังไม่สำเร็จอีก ๒ แผ่น ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระราชโองการบรมราชาธิราชผู้บรมบพิตร ให้สลักเรื่องราว จนสำเร็จเมื่อลุ เอก จัตวา อัฐ ปัญจ ศก (มหาศักราช ๑๔๘๕ ตรงกับ พ.ศ.๒๑๐๖) ปีกุน วันเพ็ญเดือน ๔ สำเร็จพนักระเบียงทั้ง ๒ มุม เหมือนดั่งโบราณ"

มัคคุเทศก์ เปิดเผยข้อมูลอีกแง่ ประวัติ ครูกายแก้ว ไม่ตรงข้อเท็จจริง
- ก็แสดงว่า ภาพที่ดูเหมือนภาพต้นฉบับของ "ครูกายแก้ว" นี้ เพิ่งจะแกะสลักเพียงปี พุทธศักราช​ ๒๑๐๖ เท่านั้น หรือเพียง ๔๖๐ปีเท่านั้น
- ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ เรื่องราวของ "ครูกายแก้ว" นี้จึงไม่มีความเก่าแก่ถึงยุค "สูรยวรมเทวะ ที่๒" หรือ "ชัยวรมเทวะ ที่๗" ตามที่ผู้สร้างรูปนี้ กล่าวอ้าง  แต่อย่างใด

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ