ข่าว

'โอไมครอน EG.5.1' ระบาดหนัก เกาหลีใต้ติดเชื้อใหม่พุ่ง ชะลอผ่อนปรนข้อจำกัด

08 ส.ค. 2566

'โอไมครอน EG.5.1' สายพันธุ์หลักนำการระบาด เกาหลีใต้ ยอดติดเชื้อใหม่พุ่ง 28 วัน เกือบ 6 แสนราย สั่งชะลอผ่อนปรนข้อจำกัด 'โควิด19' ทั้งหมด

รัฐบาล เกาหลีใต้ ตัดสินใจชะลอแผนที่จะผ่อนปรนข้อจำกัด 'โควิด19' ทั้งหมดและย้อนกลับไปใช้มาตรการที่ใช้ในระหว่างการระบาดของ โควิด-19 เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจาก โควิด ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยพบ 'โอไมครอน EG.5.1' เป็นสายพันธุ์หลักนำการระบาดอยู่ในขณะนี้

 

รายงานล่าสุดจาก องค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 ถึงจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตรายใหม่ในระยะเวลา 28 วัน พบสูงที่สุดคือ 

 

  • สาธารณรัฐเกาหลี : ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 593,023 ราย (+60%) ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 199 ราย (-3%)  เมื่อเทียบกับ 28 วันก่อน
  • บราซิล : ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 48,548 ราย (-37%) ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 769 ราย (-27%)
  • ออสเตรเลีย : ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 35,873 ราย (-68%) ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 623 ราย (+82%)
  • สิงคโปร์ : 30,214 รายใหม่ (-25%)
  • นิวซีแลนด์ : 20,329 รายใหม่ (-47%)
  • สหพันธรัฐรัสเซีย : ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 336 ราย (-35%)
  • เปรู : ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 218 ราย (-13%) 

 

 

การตัดสินใจของ รัฐบาลเกาหลีใต้ ที่ชะลอแผนการผ่อนปรนข้อจำกัด โควิด-19 ทั้งหมดนี้มีขึ้นเพื่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากร และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสต่อไป 

 

- รัฐบาลเดิมได้วางแผนที่จะปรับลดระดับโรคติดเชื้อ COVID-19 เป็นระดับต่ำสุด คือระดับ 4 จากระดับ 2 ในปัจจุบัน เปลี่ยนผ่านเข้าสู่สภาวะปกติอย่างเต็มรูปแบบสำหรับ ระบบการแพทย์

 

- ด้วยการปรับเปลี่ยนนี้ไประดับ 4 หมายถึงการยกเลิกคำสั่งให้ใช้หน้ากากอนามัยที่ในโรงพยาบาลทั่วไปและสถานบริการที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ และรัฐบาลจะหยุดการติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งหมด

 

- ในเกาหลีใต้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สัปดาห์ที่สี่ของเดือนมิถุนายน และคาดว่าตัวเลขรายวันจะสูงถึง 76,000 รายในช่วงกลางเดือนสิงหาคม

 

- จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ โควิด-19 ในเกาหลีใต้ ที่แชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก จีเสส (GISAID) ระหว่าง 15 ก.ค. 2566 - 7 ส.ค. 2566  พบว่าสายพันธุ์หลักที่ระบาดเป็น โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) โดยพบถึงร้อยละ 21 

 

โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย EG.5.1

 

ในขณะที่ประเทศไทยพบ 'โอไมครอน EG.5.1' เพียง 8 ราย และเมื่อวิเคราะห์ความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)  สูงกว่า XBB.1.16 ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักเพียง 1 % ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้นจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จีโนมจนถึงปัจจุบัน สรุปได้ว่าเราควรตระหนัก แต่ไม่จำเป็นต้องตระหนกถึงการระบาดของ EG.5.1 ในประเทศไทย

 

 

อย่างไรก็ตามการกลับมาระบาดอีกครั้งของ โควิด-19 ในเกาหลีใต้ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ถือเสมือนเป็นสัญญาณเตือน (A wake-up call) ในการเตรียมพร้อมรับการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยทางศูนย์จีโนมฯ ได้กลับมาถอดรหัสพันธุกรรมโควิด-19 ทั้งจีโนมจากสิ่งส่งตรวจจากผู้ติดเชื้อโควิดเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของ โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB โดยเฉพาะ 'โอไมครอน EG.5.1' (XBB.1.9.2.5.1)