ข่าว

'วันต่อต้านยาเสพติดโลก' ร่วมเป็นส่วนหนึ่งต่อต้าน แก้ไขปัญหา 'ยาเสพติด'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

26 มิถุนายน 'วันต่อต้านยาเสพติดโลก' (World Drug Day) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งต่อต้าน แก้ไขปัญหา 'ยาเสพติด' พร้อมคำขวัญปี 2566 รวมพลังไทย หยุดภัยยาเสพติด'

'วันต่อต้านยาเสพติดโลก' (World Drug Day) หรือ (International Day against Drug Abuse and Illicit Trafficking) ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี ตามประกาศตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) เป็น วันสำคัญสากล เพื่อต่อต้านการใช้ยาในทางผิด และค้ายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

 

สำหรับประเทศไทยในบ้านเรานั้น ได้พบเจอเผชิญกับปัญหา 'ยาเสพติด' อยู่มาเป็นเวลานาน ซึ่งรัฐบาลในทุกยุคทุกสมัย ก็ได้เล็งเห็นและพยายามแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด โดยคำขวัญในปี 2566 คือ 'รวมพลังไทย หยุดภัยยาเสพติด'

 

ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลายๆ ครั้ง ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้

 

  • เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
  • เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
  • มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
  • สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

 

 

ตัวอย่างของ ยาเสพติด ที่ควรระวัง

 

ยาบ้า (Amphetamine) เป็น ยาเสพติด ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้รู้สึกตื่นตัว มีเรี่ยวแรงมาก หัวใจเต้นเร็ว ส่งผลให้ความอึดเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เมื่อยาบ้าหมดฤทธิ์จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้รู้สึกทรมานมากจนต้องหายามาเสพอยู่เรื่อยๆ

 

อาการของผู้เสพติดยาบ้า ได้แก่ แขนขาผอมลีบ ใบหน้าดำคล้ำ อยู่ไม่นิ่ง กลิ่นตัวแรง ลมหายใจเหม็น และมีอาการสั่น โทษของยาบ้าตามกฎหมาย แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ ผลิตและนำเข้า ครอบครองเพื่อจำหน่าย ครอบครองเพียงอย่างเดียว และเสพ แต่ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด ก็มีโทษร้ายแรง ตั้งแต่จำคุกตลอดชีวิตไปจนถึงขั้นประหารชีวิต

 

สารระเหย ผลของสารระเหยมีตั้งแต่ภาวะพิษคล้ายแอลกอฮอลไปจนถึงประสาทหลอนชัดเจนขึ้นอยู่กับสาร และขนาดที่ใช้ ผู้ใช้สารระเหยบางคนได้รับบาดเจ็บเนื่องจากผลเป็นอันตรายของตัวทำละลายหรือแก๊ส หรือเนื่องจากสารเคมีอื่นที่ใชในผลิตภัณฑ์ที่สูด

 

ยาไอซ์ มีชื่อทางเคมีว่า เมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ ที่อยู่ในรูปเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ยาไอซ์มีความบริสุทธิ์สูงกว่ายาบ้า 4-5 เท่า ดังนั้น เมื่อเสพแล้วจึงออกฤทธิ์เร็วและแรงกว่ายาบ้า

 

 

โดย สำนักงาน ป.ป.ส. เชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงพลังต่อต้านยาเสพติด เนื่องใน 'วันต่อต้านยาเสพติดโลก' ประจำปี 2566 มาร่วมสวมเสื้อสีขาว ในวันที่ 26 มิ.ย. นี้
 

 

วันต่อต้านยาเสพติดโลก

 

ข้อมูล : สำนักงาน ป.ป.ส.

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ