ข่าว

'วัคซีน mRNA' ยิ่งฉีด ประสิทธิภาพยิ่งลด? ยุค โอไมครอน พบติดเชื้อซ้ำเรื่อยๆ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'หมอดื้อ' เปิดข้อมูล 'วัคซีน mRNA' ยิ่งฉีด ประสิทธิภาพยิ่งลดลง จริงหรือไม่ ทำไมยุค 'โอไมครอน' ยังพบการติดเชื้อซ้ำอยู่เรื่อยๆ

'หมอดื้อ' 'หมอดื้อ' ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เปิดเผยข้อมูล 'วัคซีนโควิด' ปี 2023 ที่จะต้องมีการประเมินความจำเป็น ประโยชน์ และผลข้างเคียง 

 

 

โดยอ้างอิงจากรายงานในวารสาร Science ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ธ.ค. 2565 และวารสารอื่นๆ เช่น Nature European Heart journal จนกระทั่งถึงปี 2566 มีการอธิบายว่าเมื่อมีการฉีด 'วัคซีน mRNA' มากขึ้น ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อและการป้องกันอาการหนักจะยิ่งลดลงกว่าที่คิดและน่าจะอธิบายถึงว่าทำไมในยุค โอไมครอน จึงมีการติดซ้ำอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมได้ ดังนี้

 

1. จาก hybrid immune damping วัคซีนเมื่อฉีด ไปแม้จะมากเข็มก็ตาม การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ทั้ง แอนติบอดี ระบบ บีและทีเซลล์ จะเป็นต่อสายพันธุ์บรรพบุรุษอู๋ฮั่น และเมื่อติดเชื้อโอไมครอนก็เป็นในลักษณะเช่นเดียวกัน 

 

 

2. รายงานล่าสุด เมื่อได้รับ วัคซีน มากขึ้น แอนติบอดีจะปรับเปลี่ยนเป็น IgG4 ซึ่งทำให้หน้าที่ในการฆ่าไวรัสด้อยลงเมื่อเทียบกับ IgG 1 และ 3 และอาจอธิบายประสิทธิภาพที่ถูกจำกัดลง 

 

ยังเป็นไปได้ว่ายังมีระบบต่อสู้กับไวรัสที่ไม่ผ่านทางเส้นทางดังกล่าว ที่เป็นระบบนักฆ่า จาก innate immunity ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติมากกว่าที่ได้จากวัคซีน หมายความว่า ถ้าติดตามธรรมชาติและอาการไม่หนักและไม่เกิด ภาวะลองโควิด ก็จะส่งผลดีได้

 

 

3. รายงานจาก อ.ปารวี ที่รามาธิบดี ในวารสาร Nature Scientific report วันที่ 15 ม.ค. 2566 พูดถึงวัคซีนหลังเข็ม 3 จะทำให้ T cell exhaustion หรือ T เซลล์ หมดแรงแม้ว่าแอนติบอดีจะขึ้นก็ตาม 

 

ในคนที่ใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อมีถึง 24.4% ที่มีการติดเชื้อโดยไม่มีอาการใดๆ ทั้งสิ้น และผลของการติดเชื้อแม้ว่าไม่มีอาการ จะทำให้มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเหมือนคนที่ติดเชื้อ 

 

แต่จุดใหญ่สำคัญในรายงานนี้ก็คือ เมื่อพิจารณาถึงการตอบสนองในระบบทีเซลล์ T cell ซึ่งเป็นตัวสำคัญในระบบความจำและเป็นระบบเพชฌฆาตนักฆ่า การฉีดวัคซีนหลายเข็ม และเมื่อมีการติดเชื้อกลับ ทำให้ทีเซลล์หมดแรง เรียกว่า T cell exhaustion

 

 

4. ทั้งองค์การอนามัยโลกและศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ ในเดือน มิ.ย. 2566 เห็นด้วยกันว่า 'วัคซีนโควิด' ต่อจากนี้จำเป็นต้องเลือกสายพันธุ์ที่จำเพาะและตัดสายพันธุ์อู่ฮั่นซึ่งสูญสิ้นไปแล้วถึงจะได้ประโยชน์และควรจะเริ่ม เป็นวัคซีนประจำปีไป

 

 

5. ทั้งนี้ตอกย้ำจากรายงานของ Cleveland clinic ที่ติดตามคนจำนวนหลายหมื่นคน และพบว่าวัคซีนที่ใช้อยู่ขณะนี้ เมื่อไม่ตรงกับสายพันธุ์ย่อยที่ยังคงอยู่ จะไม่ได้ผลใดๆทั้งสิ้นในการป้องกันการติดและประสิทธิภาพในการลดอาการหนัก จะไม่ตรงตามเป้าประสงค์ โดยเฉพาะเมื่อฉีดมากเข็มเกินความจำเป็น จะทำให้ติดมากขึ้น 

 

 

6. ผลของ วัคซีน mRNA รัฐบาลเกาหลีหน่วยงานป้องกันและควบคุมโรค ได้กล่าวย้ำให้มีการติดตามอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันผลกระทบจากวัคซีนโควิดที่เดิมอาจจะดูเหมือนไม่รุนแรงมาก แต่เมื่อมีการติดตามอย่างละเอียด จะมีผลกระทบถึงเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะคนที่อายุน้อยกว่า 45 ปีและได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ รายงานนี้ตีพิมพ์ในวารสาร European heart journal ของสมาคมโรคหัวใจของยุโรป (European society of cardiology) ในเดือนพฤษภาคมปี 2023 นี้เอง 

 

 

อุบัติการของ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในประเทศเกาหลีจะอยู่ที่ 1.08 รายต่อผู้ที่ฉีดวัคซีน 100,000 ราย

  • มีอาการรุนแรง 95 รายคิดเป็น (19.8%) 
  • ที่ต้องได้รับการรักษาในห้องผู้ป่วยอาการหนักไอซียูเป็นจำนวน 85 ราย (17.7% )
  • เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอย่างรุนแรง (fulminant myocarditis) 36 ราย คิดเป็นจำนวน (7.5%)
  • ต้องได้รับการพยุงประคองช่วยชีวิตด้วยเครื่อง ECMO หรือ extracorporeal membrane oxygenation เป็นจำนวน 21 ราย (4.4%)
  • มีผู้เสียชีวิต 21 ราย (4.4%)
  • ผู้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลันกระทันหันที่เกิดขึ้นจากวัคซีนโควิดและพิสูจน์ได้ชัดเจนจากการตรวจสอบและตรวจชิ้นเนื้อเยื่อมีจำนวน 8 ราย ( 1.7%)
  • มีผู้ป่วยที่ต้องได้รับการเปลี่ยนหัวใจเป็นจำนวน 1 ราย (0.2%)

 

อ้างอิงข้อมูล : 

https://www.science.org/doi/10.1126/science.abq1841?utm_campaign=SciMag&utm_source=Social&utm_medium=Twitter Hybrid immune damping
https://www.science.org/doi/10.1126/sciimmunol.ade2798
https://www.nature.com/articles/s41598-023-28101-5
https://academic.oup.com/ofid/article/10/6/ofad209/7131292?login=false
https://academic.oup.com/eurheartj/advance-article/doi/10.1093/eurheartj/ehad339/7188747?login=false#

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ