ข่าว

ไขข้อเท็จจริง 'ไซยาไนด์' กำจัดสัตว์มีพิษได้จริงหรือไม่ หลังดาราสั่งซื้อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไขข้อเท็จจริง ไซยาไนด์ ใช้กำจัดสัตว์มีพิษได้จริงหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญระบุอันตรายมากยังไม่เคยเห็นว่ามีการใช้โพแทสเซียมไซยาไนด์ให้สัตว์กิน

ภายหลังจากที่ พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ออกมาระบุว่า พบรายชื่อดาราสาวชื่อดังสั่งซื้อไซยาไนด์ จากแหล่งเดียวกับ แอม ไซยาไนด์ ผู้ต้องหาคดีวางยา "ไซยาไนด์" เพื่อฆาตกรรม โดยจะเรียกมาสอบสวนในวันที่ 8 พ.ค. 2566 และ มีการเปิดเผยข้อมูลว่า ดาราคนดังกล่าวนั้นคือ ไอซ์ ปรีชญา ส่วนสาเหตุนั้นคือสั่งมาเพื่อเอามาไล่สัตว์เลื้อยคลาน งู ตัวเงินตัวทอง ที่เข้าบ้านแต่ยืนยันว่ายังไม่ได้ใช้แต่อย่างใด

สัตวแพทย์ให้ความรู้เรื่อง "ไซยาไนด์" กำจัดสัตว์เลื้อยคลายมีพิษ ดังนี้

 

- ไม่เคยเห็นหรือว่ามีการใช้ไซยาไนด์กำจัดสัตว์มีพิษ

- สมัยเรียนที่คณะสัตวแพทย์ อาจารย์สอนแล้วนำไซยาไนด์มาเพื่อที่ต้องการ สต๊าฟแมลง โดยนำแมลงมาวางไว้ให้แมลงสูดดมให้สลบ เพื่อให้นักศึกษาดูศึกษาโครงสร้างของแมลงตัวนั้น ๆ

- อาจารย์ให้นักศึกษาต้องสวมอุปกรณ์ป้องกัน เสื้อผ้า ถุงมือยาง หน้ากากกันพิษ และอื่น ๆ ก่อนทดลองเพื่อศึกษาเพราะหากเพียงแค่สูดดมสารไซยาไนด์อาจได้รับอันตราย ขึ้นอยู่กับปริมาณที่สูดดมเข้าไปหากป้องกันตัวไม่ดี และหลังจากทดลองแล้วต้องทำความสะอาดอย่างไรไม่ให้สารปนเปื้อนหรือติดตามร่างกายของนักศึกษา

- ไซยาไนด์ และ ยาเบื่อหนู ไม่เหมือนกัน

- หากนำ"ไซยาไนด์" ไปผสมในอาหารเพื่อวางยาฆ่าสัตว์ หากผู้ใช้ที่ผสมสารพิษ ป้องกันตัวไม่ดีอาจได้รับอันตราย หรือมีผลกระทบต่อผู้ใช้แค่สูดดมก็อันตรายขึ้นอยู่กับปริมาณที่สูดดมเข้าไป

- หากนำไปผสมอาหารหรือเนื้อสัตว์ ก็จะอันตรายกับสัตว์อื่น ๆ ที่ไม่มีพิษ อีกทั้งสารนี้อยู่ในอาหารที่ผสมเพื่อกำจัดสัตว์ สารพิษชนิดนี้จะคงสภาพนาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ และสภาพแวดล้อม ต่าง ๆ ไม่มีใครใช้ "ไซยาไนด์" เพื่อกำจัดสัตว์มีพิษ เพราะเป็นสารอันตราย แต่มีวิธีอื่น ๆหลายวิธี เช่น กำมะถัน หรืออื่น ๆ นำมาใช้เพื่อกำจัดหรือป้องกันสัตว์มีพิษแทนได้

ด้าน รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  หรือ อาจารย์อ๊อด ระบุว่า "ไซยาไนด์" ที่ดาราสาวซื้อไปนั้น เป็น โพแทสเชียมไซยาไนด์ อยู่ในรูปของเกลือไซยาไนด์ คนละตัวกับที่ใช้ในโรงพยาบาลสัตว์ โดยโรงพยาบาลจะใช้ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ สำหรับให้รมให้สัตว์เสียชีวิตและนำไปสตาฟท์ไว้ เพราะฉะนั้นเป็นความเข้าใจผิด

 

 

โพแทสเชียมไซยาไนด์ เป็นตัวที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรม ใช้เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ใช้ในวัตถุประสงค์อื่น โดยโพแทสเซียมไซยาไนด์อยู่ในรูปของแข็ง อาจจะเกิดความเข้าใจผิดว่าเอามาละลายน้ำ ผสมอาหารและให้สัตว์มีพิษกิน เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะ ในการไล่ัตว์ใหญ่ เพราะมีวิธีอื่นที่ปลอดภัยมากกว่านี้

 

 

อย่างไรก็ตามโพสแทสเซียมไซยาไนด์ถือว่ามีความอันตรายมาก หากสัตว์ใหญ่ ทานเข้าไปและออกไปตายข้างนอก หากมีสุนับไปกินเหยื่อ สามารถเสียชีวิตต่อได้ คิดว่าอาจจะขาดความรู้ ในความเป็นจริงสามารถใช้กำมะถัน ปูนขาว ยาเบื่อหนูก็มีการลดการใช้ไซยาไนด์ไปแล้ว

 

 

ทั้งนี้การซื้อ "ไซยาไนด์" ปกติที่ซื้อกันจะอยู่ในอุตสาหกรรมชุปเงิน ชุปทอง โลหะเป็นหลัก แต่การกำจัดสัตว์มีพิษ ตัวเงินตัวทอง หรือหนูไม่ค่อยเห็นว่ามีการใช้กัน  อีกท้ังหากไม่รู้จัดการที่ดีพอจะเกิดอันตรายกับตัวเองได้  เช่น ไม่ใส่ถุงมือ ละลายน้ำแล้ววางทิ้งไว้อาจจะเกิดการปนเปื้อนและถือว่าเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วย

 

 

สำหรับสาร "ไซยาไนด์" มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

1. แอม ใช้ของแข็ง  คือ โพแทสเซียมไซยาไนด์ สูตร KCN

2. ก๊าซ คือ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ สูตร HCN

3. ในแอ๊ปเปิ้ล มัน ในธรรมชาติ คือ ไกลโคไซด์ไซยาไนด์ หรือ Cyanogenic glycosides (ไซยาโนจีนิค ไกลโคไซด์) สูตรยาว จะใช้สัญลักษณ์ (CNglcs)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ