ข่าว

พบ 'แอม' เคยเป็น 'ตัวแทนประกันชีวิต' ขายประกัน ไป 11 ฉบับ คปภ. เร่งสอบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คปภ. สั่งตั้งทีมกลาง เร่งสอบด่วน หลังพบ 'แอม' ไซยาไนด์ เคยเป็น 'ตัวแทนประกันชีวิต' ขายประกัน ไปแล้ว 11 ฉบับ เป็นการฆ่า เอาประกัน หรือไม่

จากการสืบสวนขยายผล ภายหลังจับกุม “แอม” ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หลังก่อเหตุ วางยา ฆ่าเหยื่อ ด้วยสาร “ไซยาไนด์” และยังพบว่ามีผู้เสียชีวิตในลักษณะเดียวกันอีกหลายราย ซึ่งมีแอม เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น และจากการสอบสวน พบว่า แอมได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตด้วย จนมีคำถามตามมาว่า การฆาตกรรมดังกล่าว เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าสินไหมประกันภัยด้วยหรือไม่

 

 

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้สายตรวจ ทำการตรวจสอบข้อมูล เกี่ยวกับใบอนุญาตของแอม พบว่า แอมเคยได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตจำนวน 4 ใบอนุญาต สังกัด 3 บริษัท ดังนี้

 

  • ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตของ บริษัท เอไอเอ จำกัด วันออกใบอนุญาต 3 ก.พ. 2555 หมดอายุ 2 ก.พ. 2556
  • ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตของ บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) วันออกใบอนุญาต 13 มี.ค. 2558 หมดอายุ 12 มี.ค. 2559
  • ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตของ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) วันออกใบอนุญาต 19 ก.ย. 2562 วันหมดอายุ 18 ก.ย. 2563 และวันออกใบอนุญาต 15 ก.พ. 2564 วันใบอนุญาตหมดอายุ 14 ก.พ. 2565 โดยปัจจุบันใบอนุญาตทั้งหมดได้หมดอายุแล้ว

 

นอกจากนี้ ยังตรวจสอบพบข้อมูลเพิ่มเติมในเบื้องต้นว่า แอมได้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิต จำนวน 11 กรมธรรม์ ประกอบด้วย

  • บริษัท เอไอเอ จำกัด จำนวน 8 กรมธรรม์ โดยเสนอขายเมื่อปี 2555 ซึ่งกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว ณ ปัจจุบัน ได้สิ้นผลบังคับไปแล้ว โดยในระหว่างความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย ไม่มีการเคลมกรณีเสียชีวิต
  • บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 กรมธรรม์ เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตของบุตรของแอม และไม่มีการเคลมกรณีเสียชีวิต
  • บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 กรมธรรม์ ซึ่งไม่มีการเคลมกรณีเสียชีวิต

 

 

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเตือนว่า ผู้ใดก็ตาม กระทำให้บุคคลเสียชีวิตเพื่อหวังเงินประกันภัย นอกจากจะถูกดำเนินคดี และมีความผิดทางอาญาฐานฆ่าผู้อื่นแล้ว หากมีการพิสูจน์ทราบว่า ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย มีส่วนกระทำความผิดร่วมด้วย บริษัทประกันภัยอาจจะอ้างเหตุไม่จ่ายเงินตามสัญญาประกันภัยได้ และถ้าเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉลประกันภัย จะมีความผิดทางอาญาด้วย ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ