ชีวิตดีสังคมดี

เผยผล 90% ถูกละเมิดช่วง 'สงกรานต์' วอนบังคับใช้กฎหมายเข้มข้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พม. สสส. และมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เผยผล 90% ถูกละเมิดช่วง 'สงกรานต์' วอนบังคับใช้กฎหมายเข้มข้น จัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัยพร้อมรับมือแจ้งระงับเหตุการณ์ 5 ประเภท

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมูลนิธิเด็กและเยาวชนและครอบครัว จัดกิจกกรมรณรงค์เนื่องในวันสงกรานต์ ปี 2566 (10 เม.ย 66 ) สงกรานต์ปลอดภัย สาดสุข เคารพสิทธิ 

 

นาย อนุกูล  ปีดแก้ว ปลัดกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

นาย อนุกูล  ปีดแก้ว ปลัดกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า เทศกาล 'สงกรานต์' ถือเป็นประเพณีอันดีงามของไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่ทุกปีจะถูกจับตาเรื่องอุบัติเหตุทางถนน เพราะประชาชนเดินทางมาท่องเที่ยว กลับภูลำเนาจำนวนมาก รวมถึงปัญหาการล่วงละเมิด การคุกคามทางเพศ พฤติกรรมเล่นน้ำที่ไม่เหมาะสมและทะเลาะวิวาท

 

โดยเฉพาะกรณีที่มีเครื่องเดิมแอลกอฮอล์เข้ามมาเกี่ยวข้องยิ่งทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น ปีนี้ทีม one home พม. ทุกจังหวัด และสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ได้ร่วมรณรงค์ด้วยการลงพื้นที่แจกสติ๊กเกอร์ และติดป้าย สงกรานต์ปลอดภัย สาดสุข เคารพสิทธิ ซึ่งได้รับ การสนับสนุนจาก สสส. ให้ประชาชนแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ และ พม.ยังได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พัฒนาช่องทางการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ผ่าน line bot ใน การแจ้งระงับเหตุการณ์ 5 ประเภท ดังนี้

  1. การข่มขู่ว่าจะทำร้ายร่างกาย
  2. การกักขังหน่วงเหนี่ยว
  3. เสี่ยงถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  4. ผู้คลุ้มคลั้งก่อให้เกิดเหตุร้าย
  5. มั่วสุ่มก่อให้เกิดเหตุร้าย

 

หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินนี้ สามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. สายด่วน 1300 โทรฟรี 24 ชม. 

 

น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงกลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.)

 

น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงกลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.) กล่าวว่า ข้อมูลจากศูนย์วิชาการ เพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) รายงานว่า สงกรานต์ปี 2565 พบอุบัติเหตเพิ่มขึ้น 6.2 จากปี 2564 การดื่มแล้วขับและเสียชีวิต ลดจาก 21.5% ในปี 2564 เหลือ 16.5% แต่มีจำนวนผู้เสียชีวิตคาที่เพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 60% มาจากการขับรถเร็ว และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

ในส่วนของผู้บาดเจ็บนั้นพบว่า 1 ใน 4 มีแอลกอฮอล์ในกระแส นอกจากนี้ข้อมูลกรมคุม ประพฤติ กระทรวงยุติธรรม พบว่ามีคดีเมาแล้วขับเข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ ปี 2565 สูงถึง 7,141 คดี ดังนั้นในปีนี้เราจึงต้องเน้นย้ำในเรื่องของการจัดการพื้นที่เล่นน้ำให้ปลอดเหล้า 

 

ซึ่งปัจจุบันมีผู้ตอบรับกว่า 100 พื้นที่ ร่วมถึงถนนตระกูลข้าวสาร(ปลอดเหล้า) 60 แห่ง พร้อมทั้งฝากทุกคนว่าดื่มไม่ควรขับ แค่กรึ่มๆ ก็ถึงตายแม้เพียงแก้วเดียวก็เสี่ยงอุบัติเหตุถึง 2-6 เท่า

 

น.ส.อังคณา อินทสา มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล

 

น.ส.อังคณา อินทสา มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากการสำรวจความเห็นประชาชนกรุงเทพฯปริมณฑล 1,725 คนระหว่างวันที่ 24-30 มี.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับเทศกาล 'สงกรานต์' พบว่า 96.5% เคยหรือมีคนรู้จักถูกปะแป้ง 87.9% ถูกแซว/ผิวปากหรือใช้สายตาจ้องมองทำให้อึดอัด 84.9% เกิดอุบัติเหตุ82.4% ถูกก่อกวนจากคนเมาหรือถูกบังคับให้ดื่มแอลกอฮอล์ 73.8% ทะเลาะกันในครอบครัวส่วนวิธีแก้ปัญหาเมื่อถูกลวนลามพบว่าเลือกที่จะแจ้งความ 37% ตะโกนให้คนช่วย 20.2% บอกผู้ใหญ่ 11.5% ที่น่ากังวลคือมี 8.1% ไม่กล้าบอกใคร

 

โดยสำหรับหน่วยงานที่นึกถึงเมื่อเจอเหตุการณ์ไม่ปลอดภัย คือ สถานีตำรวจ 55.5% ศูนย์แจ้งเหตุในพื้นที่เล่นน้ำ 20.9% เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ 13.4% 

 

ซึ่งสิ่งที่อยากให้คงไว้ในเทศกาล 'สงกรานต์' คือ การเยี่ยมญาติ/รวมญาติ 29.9% เล่นน้ำปลอดภัยไม่รุ่นแรง 23.5% และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ 18.2%

 

แต่สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น อาทิ การลวนลามทางเพศ 35.5% อุบัติเหตุ 22.5% คนเมาขาดสติ การทะเลาะวิวาทและการไม่เคารพสิทธิคนอื่น รวมเป็น 62%

 

รูปถ่ายรวม สงกรานต์ปลอดภัย สาดสุข เคารพสิทธิ 

 

ดังนั้นขอให้ภาครัฐบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการลวนลามทางเพศ กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างเข้มงวด จัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดแอลกอฮอล์ปลอดภัยการคุกคามทางเพศเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกเพศทุกวัย

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ