ข่าว

สรุปดราม่า 'จอดรถขวางหน้าบ้าน' ปัญหาโลกแตก ผิดกฎหมาย หรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สรุปปมดราม่า 'จอดรถขวางหน้าบ้าน' ปัญหาโลกแตก ที่หลายคนเจอ แม้จะเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ไขข้อข้องใจ ผิดกฎหมาย หรือไม่

"จอดรถขวางหน้าบ้าน" เป็นปัญหาโลกแตก สำหรับใครหลายๆ คน ที่มักเจอคนมักง่าย นำรถมาจอดขวางทางเข้าหน้าบ้าน โดยอ้างว่า เป็นพื้นที่ส่วนกลาง ล่าสุด จากกรณีที่เป็นประเด็นพูดถึงกันอย่างมากในโลกโซเชียลขณะนี้ เรื่องการจอดรถขวางหน้าบ้าน กรณีมีผู้ใช้เฟสบุ๊ครายหนึ่ง โพสต์ภาพเหตุการณ์ เพื่อนบ้านจอดรถขวางหน้าบ้าน ถึงแม้ตัวเจ้าของบ้าน จะไม่ได้อยู่เป็นประจำ 

 

 

ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ยังคงเป็นคำถาม ว่าการจอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่น ถึงแม้จะเป็นพื้นที่ส่วนกลาง มีความผิดหรือไม่ คมชัดลึก ไล่เรียงไทม์ไลน์ สรุป
ปมดราม่า ปัญหา "จอดรถขวางหน้าบ้าน" แบบเข้าใจง่ายๆ

 

                  ดราม่า "จอดรถขวางหน้าบ้าน"

1. ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ชื่อ แอนดี้ โพสต์ระบายปัญหา ที่มักโดนบ้านหลังหนึ่ง ย่านพระยาสุเรนทร์ จอดรถขวางหน้าบ้านตนเอง โดยบ้านของเจ้าของโพสต์ เป็นช่วงท้ายซอย เมื่อถูกรถคันอื่นมาจอดที่จุดดังกล่าว จึงเป็นมุมที่ทำให้เจ้าของบ้าน ไม่สามารถเข้าบ้านตัวเองได้

 

จอดรถขวางหน้าบ้าน

 

2. เจ้าของบ้านเคยเขียนโน้ต แปะไว้หน้ารถเพื่อนบ้านคู่กรณีว่า "กรุณาอย่าจอดหน้าบ้านผมนะครับ ผมไม่ได้อนุญาต เตือนครั้งที่ 1 วันที่ 31 มี.ค. 2566 
จงเคารพในสิทธิของคนอื่นในฐานะความเป็นมนุษย์ ขอบคุณครับ"

 

3. ดราม่าเริ่มร้อนแรงขึ้น เมื่อเจ้าของบ้านได้รับโน้ตตอบโต้ จากเพื่อนบ้านเจ้าของรถคู่กรณี ระบุว่า "ถนนสาธารณะ เตือนครั้งที่ 1 ไปศึกษามาใหม่ (สมอง)" พร้อมกับลงชื่อเล่นและเลขที่บ้านของตัวเองไว้อีกด้วย

 

4. เรื่องราวดังกล่าว กลายเป็นดราม่า ถูกแชร์สนั่นโซเชียล เมื่อปม "จอดรถขวางหน้าบ้าน" กลายเป็นปัญหาโลกแตก ที่เจอกันอยู่เป็นประจำ

 

5. ต่อมาเจ้าของโพสต์ ได้ลงคลิปล่าสุด ขณะเข้าไปเจรจาพูดคุยปัญหา กับเพื่อนบ้านคู่กรณี โดยอีกฝ่ายเป็นผู้ชาย ออกมาพูดโต้ตอบว่า ที่ไปจอดตรงนั้น เพราะเจ้าของบ้านนานๆ จะมาที่บ้านหลังนี้ ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต เพราะพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ส่วนกลาง หากจะเข้าบ้าน ก็แค่มาเรียก 

ดราม่า จอดรถขวางหน้าบ้าน

6. เรื่องราวบานปลาย เมื่อเจ้าของรถ ที่จอดขวางหน้าหน้าบ้าน เตรียมแจ้งความที่ สน.คันนายาว กรณีเจ้าของบ้าน นำเรื่องราวไปโพสต์ลงโซเชียล ทำให้ครอบครัวได้รับความเสียหาย เพราะบางข้อความมีการคุกคามลูกสาว อายุ 16 ปีด้วย 

 

7. หลังโพสต์นี้ถูกเผยแพร่ไป มีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์จำนวนมาก โดยต่างรู้สึกเห็นใจเจ้าของบ้าน ที่เจอเพื่อนบ้านแบบนี้ เพราะต่างมองว่า ถึงแม้จะเป็นพื้นที่ส่วนกลาง แต่การจอดขวางหน้าบ้านคนอื่นนั้น เป็นสิ่งที่ผิดอยู่แล้ว ไม่ควรไปจอดหน้าบ้านใครแล้วขอให้เจ้าของบ้านมาเรียกให้ขยับ เพราะหากเจ้าของบ้านจะเข้าบ้านตอนดึกๆ จะทำอย่างไร 

 

8. หนุ่ม กรรชัย เปิดปมปัญหาว่า บ้านของเจ้าของคลิป อดีตเคยเป็นบ้านของเพื่อนบ้านเจ้าของรถคู่กรณี แต่คาดว่า ถูกธนาคารยึดแล้วขายทอดตลาดต่อ ก่อนที่ แอนดี้ จะเข้ามาซื้อต่อ และเริ่มมีปัญหากันตั้งแต่การย้ายของ จนมาเกิดประเด็นขึ้นมาอีกครั้ง

 

จอดรถขวางหน้าบ้าน

 

จอดรถขวางหน้าบ้าน มีความผิดหรือไม่

 

ข้อมูลจากกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า การจอดรถที่ถูกต้องและเหมาะสม ต้องจอดในพื้นที่ของตนเอง ที่มีรั้วรอบขอบชิดเท่านั้น เนื่องจากผู้ขับขี่รถยนต์ ไม่มีสิทธิจอดรถในทางสาธารณะ หรือพื้นที่เอกชน เช่น ถนนภายในหมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น มิเช่นนั้นจะถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 55 ประกอบมาตรา 148 ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคาร หรือทางเดินรถ ซึ่งการจอดรถบนทางสาธารณะ แม้จะเป็นหน้าบ้านของตนเอง แต่ก็สามารถสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับผู้อื่น เนื่องจากไม่สามารถสัญจร หรือถอยรถเข้า-ออกได้อย่างสะดวก 

 

หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท และอาจมีความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

 

นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม กล่าวว่า กรณีมีความผิดตามกฏหมายมาตรา 397 สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้ผู้อื่น โทษปรับเงิน 5,000 บาท กรณีแบบนี้ ศาลฏีกาเคยมีคำตัดสินมาแล้ว

 

สำหรับวิธีแก้ปัญหาในเรื่องนี้ ทนายรณรงค์ แนะนำว่า เมื่อหมู่บ้านยังเป็นนิติบุคคลอยู่ ต้องให้นิติบุคคลหมู่บ้านเป็นคนดำเนินการ ออกคำสั่งปรับรถที่มาจอดรถในที่สาธารณะแทน และคนที่คิดจะจอดรถ ต้องไม่ลืมว่า ถนนเป็นที่สาธารณณะจริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะไปจอดรถขวางหน้าบ้านใครก็ได้ ส่วนกรณีที่มีการถ่ายคลิปการทะเลาะโต้เถียงกัน แล้วนำไปโพสต์นั้น คนโพสต์จะเข้าข่ายความผิด ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาได้

 

 

 

 

logoline