ข่าว

ส่องโมเดลต่างประเทศไม่ 'เกณฑ์ทหาร' แล้วผู้ชายต้องทำอะไรทดแทน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส่องโมเดลต่างประเทศไม่มี 'เกณฑ์ทหาร' แบบบังคับ แล้วผู้ชายต้องทำหน้าที่อะไรทดแทน บางประเทศใช้วิธีส่งเสริมด้านกีฬา และให้เงินเดือนดึงดูดใจ

ถึงฤดูกาลเกณฑ์ทหารอีกครั้ง และเป็นอีกครั้งที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวของสังคม และพรรคการเมืองถึงความจำเป็นในการ "เกณฑ์ทหาร" ของประเทศไทย ซึ่งหลายพรรคการเมืองเริ่มเคลื่อนนโยบาย และมีทั้งฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่าง ๆ ที่ออกมา  

 

 

 

แต่หากพิจารณาถึงความจำเป็นในกับการ "เกณฑ์ทหาร" ในบ้านเรานั้นอาจจะยังสร้างความกังขา และสร้างความหนักใจให้แก่ชายไทยไม่น้อย หลายคนอยากให้ยกเลิกการจับใบดำ-ใบแดง เพื่อลดงบประมาณและให้กองทัพไทยนำงบที่ต้องมาอุดหนุนทหารกองเกินไปเพิ่มเติมสวัสดิการให้ดีขึ้น  เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ต้องการอยากเป็นทหารจริงๆ ได้เข้าไปทำงาน  เหมือนกับที่หลายประเทศเริ่มมีการปรับรูปแบบการ "เกณฑ์ทหาร" และใช้แบบสมัครใจ หรือให้ทำงานสังคมทดแทน 
 

อย่างไรก็ตามยังมีประมาณ 26 ประเทศที่บังคับให้รับราชการทหาร โดยวิธีการส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดให้เข้าเป็นทหารภายใต้เกณฑ์ที่กำหนด โดยในแต่ละประเทศจังมีการกำหนดระยะเวลาที่เข้าเป็นทหารแตกต่างกันไป  

 

  • ตัวอย่างประเทศที่มีระบบการบังคับ "เกณฑ์ทหาร"


เกาหลีเหนือ 

เกาหลีเหนือเป็นประเทศที่มีการบังคับ "เกณฑ์ทหาร" ทั้งชายและหญิง แต่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่แตกตางกัน โดยผู้ชายจะต้องเกณฑ์ทหารนานกว่า 10 ปี  ส่วนผู้หญิงจะต้องเข้ารับทหารตั้งแต่เรียนจบมัธยมปลายหรือช่วงอายุประมาณ 18 ปี ไปจนถึงอายุ 23 ปี ทั้งนี้จากกฎระเบียบดังกล่าวส่งผลให้กองทัพเกาหลีเหนือมีขาดใหญ่ โดยพบว่ากำลังผลมากถึง 6.4 ล้านนาย ในจำนวนนี้แบ่งเป็นทหารประจำการ 9.4 แสนล้านคน และเป็นทหารกำลังสำรอง 5.5 ล้านนาย เรียกได้ว่าเป็นกองทัพที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 

อิสราเอล 

อิสราเอล ถือว่าเป็นประเทศมีระบบการ "เกณฑ์ทหาร" มาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ โดยการเข้าร่วมในกองทัพเป็นภาคบังคับทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในอดีตกองทัพอิสราเอลจะมีการจำกัดหน้าที่สำหรับทหารหญิงเอาไว้ เนื่องจากเห็นว่าผู้หญิงยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้  แต่ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนให้ทหารหญิง สามาถปฏิบัติหน้าที่ และรับตำแหน่งได้ทั้งหมด ทั้งนี้การรับราชการเป็นทหารของอิสราเอลจะยกเว้นในสตรีมีครรภ์ พยาบาล รวมถึงการยกเว้นในบางกรณีที่มีความเกี่ยวข้องด้านศาสนา  การบังคับให้พลเมืองทุกคนรับราชการส่งผลให้อิสราเอลเป็นประเทศที่มีการใช้งบประมาณด้านการทหารต่อหัวมากที่สุด  แต่อย่างไรก็ตามโมเดลการ "เกณฑ์ทหาร" ของอิสราเอล เป็นการ "เกณฑ์ทหาร" แบบขับเคลื่อนเทคโนโลยีและเศรษฐกิจของประเทศ 

 

 

นอร์เวย์   

สำหรับประเทศนอร์เวย์มีเรื่องราวการรับ ทหารเกณฑ์ ที่น่าสนใจ โดยผู้ชายทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 19-44 ปี จะต้องสมัครเป็นทหาร แต่เนื่องด้วยนอร์เวย์เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศ ในปี 2559 รัฐสภานอร์เวย์จึงผ่านร่างกฎหมาย ที่อนุญาตให้ผู้หญิงสามารถเข้ารับการฝึกทหารได้ด้วย โดยผู้หญิงที่เข้ารับการคัดเลือกกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องมีอายุตั้งแต่ 19-44 ปี จึงจะสามารถลงทะเบียน 

 

 

แม้ว่ายังมีหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับการ "เกณฑ์ทหาร" อยู่ แต่ในบางประเภทก็ได้ลดการเกณฑ์ทหารลงไป โดยเปิดรับแบบสมัครใจ และผู้ชายสามารถเลือกทำงานบริการสังคมทดแทนการเป็นทหาร รวมไปถึงสวัสดิการของอาชีพทหารที่น่าสนใจ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เหล่าทหารได้รับสวัสดิการ ค่าตอบ เงินเดือนอย่างเหมาะสม โดยประเทศที่ยกเลิกการเกณทหารไปแล้ว และมีการใช้ระบบสัมครใจแทน คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรีย  ไต้หวัน แต่ละประเทศมีโมเดลการรับสมัครตามความสมัครใจ สวัสดิการ หรือทางเลือกอื่นให้กับผู้ชายไว้อย่างน่าสนใจ 

 

 

เริ่มต้นที่ ไต้หวัน 

โดยรัฐบาลไต้หวั่นเริ่มมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ "เกณฑ์ทหาร" แม้ว่าประเทศจะยังอยู่บนความขัดแย้งระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่  โดยไต้หวันมีทั้งระบบการ "เกณฑ์ทหาร" และให้เลือกทำงานบริการสังคมทดแทน ระเบียบดังกล่าวเริ่มปรับเปลี่ยนตั้งแต่ปี 2013 จากเดิมที่ผู้ชายจะต้องถูกเกณฑืเข้ากองทัพเป็นระยะเวลนานกว่า 2 ปี โดยในปี 2014 รัฐบาลได้มีการปรับเกณฑ์การเข้าคัดเลือกทหารเหลือเพียง 4 เดือน  และสามารถกลับบ้านได้ทุกเสาร์-อาทิตย์ และเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาไต้หวันมีการส่งเสริมกีฬา  eSports  โดยผู้ที่เป็นนักกีฬาสามารถแข่งขัน  eSports ทดแทนการเกณฑ์ทหารได้  

 

 

สหรัฐอเมริกา
เป็นอีกหนึ่งประเทศที่อาชีพทหารได้รับความนิยมอย่างมาก  โดยอเมริกามีการใช้รูปแบบการเกณฑ์ทหารแบบสมัครใจ พร้อมกับมีสวัสดิการอย่างดีที่สามารถดึงดูดให้พลเมืองสมัครใจอยากเป็นทหาร โดยเฉพาะเงินเดือนทหารสหรัฐอเมริกาที่มีเงินเดือนเฉลี่ยเริ่มตั้นตั้งแต่  1,554 ดอลลาร์สหรัฐฯ/เดือน ราว 47,000 บาท และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,681 ดอลลาร์สหรัฐฯ/เดือน ราว 50,000 บาท 

 

 

ออสเตรีย 

ให้รูปแบบการเกณฑ์ทหาร 2 แบบ  คือการเลือกบริการสังคม และเข้าร่วมโครงทดแทนการ "เกณฑ์ทหาร" โดยหากมีอายุครบ 18 ปี จะต้องเข้าในกองทัพ 6 เดือน และสามารถเลือกทำงานบริการอีก 9 เดือน เช่น การทำงานที่โรงเรียนอนุบาล ดูแลผู้พิการ  รวมไปถึงการสร้างสันติภาพในพื้นที่คัดแย้ง  

 

อ้างอิง: worldatlas

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ