ข่าว

'เกณฑ์ทหาร' เส้นทางลูกผู้ชาย ที่ชายไทยต้องที่สูญเสียโอกาสในชีวิตนาน 2 ปี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'เกณฑ์ทหาร' เส้นทางของลูกผู้ชาย กับโอกาสที่ชายไทยต้องสูญเสียไปนานกว่า 2 ปี กระทบแรงงาน ระบบเศรษฐกิจ กองทัพอาจได้บุคลากรที่ไม่มีคุณภาพเพราะไม่ได้เต็มใจอยากเป็นทหาร

หลายพรรคการเมืองเริ่มมีนโยบายเกี่ยวกับการปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปการ "เกณฑ์ทหาร" ให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้หลายคนยังมีความเห็นกรณีที่ชายไทยต้องเข้ารับการ "เกณฑ์ทหาร" ทำให้ไร้ซึ่งอิสระภาพในการใช้ชีวิตขั้นพื้นฐาน 

 

 

 

ประกอบกับในช่วงนี้ถือว่าเป็นฤดูกาลของการ "เกณฑ์ทหาร" ซึ่งทางกองทัพจะทำการคัดเลือกชายไทยที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีบริบูรณ์ด้วยการจับใบดำ ใบแดง หากใครจับได้ใบแดงเท่ากับว่าคนนั้นจะต้องเดินทางเข้าสู่กองทัพอย่างเลี่ยงไม่ได้และต้องใช้เวลาในการฝึกฝนนานกว่า 2 ปี เพื่อรับใช้ชาติ 
 

ข้อมูลระบุว่า การ "เกณฑ์ทหาร" แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นเส้นทางของลูกผู้ชาย แต่รู้หรือไม่ว่า การ "เกณฑ์ทหาร" หรือ การไปเป็น ทหารเกณฑ์ ทำให้ชายไทยสูญเสียโอกาสในชีวิตไปค่อนข้างมาก

 

 

ไม่ว่าจะเป็นการเสียโอกาสในการใช้สิทธิขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะการใช้ชีวิต การเลือกเส้นทางอาชีพ ที่เหล่าทหารเกณฑ์จะต้องเสียไปนานกว่า 2 ปี เพราะตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่อยู่ในค่ายทหาร บรรดา ทหารเกณฑ์ จะต้องใช้ชีวิตภายใต้กฎระเบียบ  ตื่นเช้า ฝึกเพื่อเตรียมพร้อมรบ ในสภาวะที่ประเทศไทยไม่ได้มีสงคราม นอกจากนี้ยังมีการกำหนดระยะเวลาให้กลับบ้านได้เป็นช่วงๆ เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าการเข้าไปเป็นทหารโดยไม่สมัครใจ ย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการฝึก การทำงานให้แก่กองทัพ จนทำให้เกิดกรณีที่ ทหารเกณฑ์ บางคนยอมไปเป็น ทหารรับใช้ ทำงานบ้านนาย เพราะไม่อยากฝึกภาคสนามตากแดด ตากฝน 

การเสียโอกาสด้านเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะการดึงเอาคนที่มีความพร้อมมีมาตรฐานในการใช้ชีวิตเข้ากองทัพ ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคแรงงานอย่างมาก ภาคแรงงานจะต้องขาดแรงงานฝีมือดี คุณภาพไปนานกว่า 2 ปี แต่หากในมุมคนทำงานการที่ต้องเข้าเป็นทหารกองเกินนานกว่า 2 ปี ส่งผลให้สูญเสียรายได้จำนวนมาก หากลองคำนวณรายได้ที่แรงงานหนึ่งคนจะได้รับตามฐานเงินเดือนขึ้นต่ำคือ 15,000 บาท X 24 เดือน เท่ากับว่า ทหารเกณฑ์ คนนั้นหากไม่ ติดทหารจะสามารถหาเงินได้มากกว่า 360,000 บาท ยังไม่นับรวมเงินอื่น ๆ  อีก 

 

 

การเสียโอกาสในการดูแลครอบครัว  การสำรวจความคิดเห็นของญาติผู้ถูกเกณฑ์ทหารบริเวณวัดดวงแข ซึ่งเป็นหน่วยคัดเลือกทหารกองประจำการ ประจำปี 2566 พบว่า บางคนเป็นเสาหลักของครอบครัว  แต่กลับต้องไปเป็นทหารเกณฑ์นานกว่า 2 ปี ส่งผลให้พ่อ แม่ ครอบครัว ต้องอยู่ตามลำพัง จึงอยากให้ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร และควรเปิดแบบสมัครใจมากกว่า เพราะบางคนไม่ได้มีความพร้อมที่จะเป็นทหาร แต่กลับจับได้ใบแดง    

 

 

สูญเสียงบประมาณ โดยรายงานข่าวแจ้งว่า กองทัพจะต้องใช้งบประมาณราวๆ 16,000 ล้านบาท/ปี ในการ "เกณฑ์ทหาร" และการดูแลทหารเกณฑ์   ดังนั้นถ้าเรายกเลิกการเกณฑ์ทหาร แล้วเปลี่ยนมาเป็นระบบรับสมัครโดยสมัครใจ พร้อมปรับปรุงสวัสดิการให้ดีขึ้น น่าจะสามารถลดจำนวนทหารกองประจำการ ให้อยู่ในระดับ 60,000-65,000 คน ซึ่งจะทำให้ประหยัดงบได้ถึง 7,000 ล้านบาท/ปี  สามารถนำเอาเงินจำนวนนี้ไปจัดสรรเป็นสวัสดิการของผู้สูงอายุ หรือสวัสดิการเด็กเล็ก หรือจะนำไปเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือจะนำไปใช้เป็นงบจัดจ้างบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาดแคลน

 

 

อย่างไรก็ตามการ "เกณฑ์ทหาร" ยังเป็นการเปิดทางให้แกคนที่ต้องการรับราชการทหารได้ด้วยดังนั้นเพื่อให้กองทัพได้มีบุคลากรที่มีคุณภาพ และเปิดโอกาสให้คนที่อยากเป็นทหาร ได้เป็นรับใช้ชาติอย่างแท้จริงวิธีการรับสมัครด้วยความเต็มใจจึงอาจจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์การ "เกณฑ์ทหาร" ในประเทศไทยมากกว่าหรือไม่ ยังคงเป็นคำถามเกิดการถกเถียงมากมาย
 

logoline