'วันอุตุนิยมวิทยาโลก' ซึ่งตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี โดยเริ่มมาจากการที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อสำรวจ สภาพอากาศ ทั่วโลก และทำการเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางภูมิอากาศ ตลอดจนพยากรณ์สภาพอากาศเพื่อเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้หากสภาพอากาศของโลกเกิดการแปรปรวน โดยใช้ชื่อว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION (WMO) ซึ่งมีชื่อเดิมว่า International Meteorological Organization หรือ IMO
ซึ่งองค์การที่ว่านี้มีการก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1873 โดยมีหน้าที่ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยาเชิงปฏิบัติการ และภูมิศาสตร์กายภาพ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นสมาชิกกลุ่มพัฒนาสหประชาชาติ (United Nations Development Group) ต่อมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก พร้อมด้วยสมาชิกทั้ง 187 ประเทศทั่วโลก ได้ตกลงร่วมกันให้วันที่ 23 มีนาคมของทุกปีเป็น 'วันอุตุนิยมวิทยาโลก'
เกี่ยวกับ WMO
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลที่มีสมาชิกจาก 193 ประเทศสมาชิกและดินแดน มีต้นกำเนิดมาจากองค์การอุตุนิยมวิทยาระหว่างประเทศ (IMO) ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่การประชุมอุตุนิยมวิทยานานาชาติเวียนนา พ.ศ. 2416 ก่อตั้งขึ้นโดยการให้สัตยาบันอนุสัญญา WMO เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2493 WMO ได้กลายเป็นหน่วยงานเฉพาะทางของสหประชาชาติด้านอุตุนิยมวิทยา (สภาพอากาศและสภาพอากาศ) อุทกวิทยาในการดำเนินงานและธรณีฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องในอีกหนึ่งปีต่อมา สำนักเลขาธิการซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเจนีวา นำโดยเลขาธิการ องค์สูงสุดคือสภาอุตุนิยมวิทยาโลก
การก่อตั้ง องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 หลังจากที่อนุสัญญามีผลบังคับใช้ และการกำหนด WMO ในปี พ.ศ. 2494 เป็นหน่วยงานเฉพาะทางของสหประชาชาติ ได้ประกาศศักราชใหม่ของความร่วมมือระหว่างประเทศในด้าน อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา และธรณีฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่ของ WMO
เนื่องจาก สภาพอากาศ ภูมิอากาศ และวัฏจักรของน้ำไม่มีขอบเขตระดับประเทศ ความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับโลกจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินการตามแนวทางของระบบโลกเพื่อการพัฒนา อุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศ อุทกวิทยาในการปฏิบัติงาน และบริการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก แอปพลิเคชัน WMO จัดทำกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศดังกล่าว
การ พยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต การที่จะพยากรณ์อากาศได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ ประการแรกคือความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ประการที่ สองคือสภาวะอากาศปัจจุบัน และประการสุดท้ายคือความสามารถที่จะผสมผสานองค์ประกอบทั้งสองข้างต้น เข้าด้วยกันเพื่อคาดหมายการ เปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ระยะเวลาของการ พยากรณ์อากาศ
การพยากรณ์อากาศอาจเป็นการคาดหมายสำหรับช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า จนถึงการคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกหลายปีจากปัจจุบัน สามารถแบ่งชนิดของการพยากรณ์อากาศตามระยะเวลาที่คาดหมายได้ดังนี้
1. การพยากรณ์ปัจจุบัน (nowcast) หมายถึงการรายงานสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศสำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2. การพยากรณ์ระยะสั้นมาก คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมง
3. การพยากรณ์ระยะสั้น หมายถึง การพยากรณ์สำหรับระยะเวลาเกินกว่า 12 ชั่วโมงขึ้นไปจนถึง 3 วัน
4. การพยากรณ์อากาศระยะปานกลาง คือ การพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาที่เกินกว่า 3 วันขึ้นไปจนถึง 10 วัน
5. การพยากรณ์ระยะยาว คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาระหว่าง 10 ถึง 30 วัน โดยปกติมักเป็นการพยากรณ์ว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงเวลานั้นจะแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
6. การพยากรณ์ระยะนาน คือการพยากรณ์ตั้งแต่ 30 วัน จนถึง 2 ปี ซึ่งยังแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิด คือ
6.1. การคาดหมายรายเดือน คือการคาดหมายว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิกาศอย่างไร
6.2. การคาดหมายรายสามเดือน คือการคาดหมายค่าว่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยม วิทยาในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
6.3. การคาดหมายรายฤดู คือการพยากรณ์ค่าเฉลี่ยของฤดูนั้นว่าจะแตกต่างไปจากค่า เฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
7. การพยากรณ์ภูมิอากาศ คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลามากกว่า 2 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น
7.1. การพยากรณ์การผันแปรของภูมิอากาศ คือการพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผันแปร ไปจากค่าปกติเป็นรายปีจนถึงหลายสิบปี
7.2. การพยากรณ์ภูมิอากาศคือการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศในอนาคตโดยพิจารณาทั้ง สาเหตุจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์
วิธีการพยากรณ์อากาศ
วิธีแนวโน้ม เป็นการพยากรณ์อากาศโดยใช้ทิศทางและความเร็วในการเคลื่อนที่ของระบบลมฟ้าอากาศที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อคาดหมายว่าในอนาคตระบบดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปอยู่ ณ ตำแหน่งใด วิธีใช้ได้ดีกับระบบลมฟ้าอากาศที่ไม่มีการเปลี่ยนความเร็ว ทิศทาง และความรุนแรง มักใช้วิธีนี้สำหรับการพยากรณ์ฝนในระยะเวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง
การพยากรณ์ด้วยวิธีภูมิอากาศคือการคาดหมายโดยใช้ค่าเฉลี่ยจากสถิตภูมิอากาศหลายๆ ปี วิธีนี้ใช้ได้ดีเมื่อลักษณะของลมฟ้าอากาศมีสภาพใกล้เคียงกับสภาวะปกติของช่วงฤดูกาลนั้นๆ มักใช้สำหรับการพยากรณ์ระยะนาน
การพยากรณ์อากาศด้วยคอมพิวเตอร์เป็นการใช้คอมพิวเตอร์คำนวณการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่เกี่ยวข้อง กับสภาวะของลมฟ้าอากาศ โดยใช้แบบจำลองเชิงตัวเลข (numerical model) ซึ่งเป็นการจำลองบรรยากาศและพื้นโลก ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนข้อจำกัดของวิธีนี้คือแบบจำลอง ไม่มีรายละเอียดครบถ้วนเหมือนธรรมชาติจริง ในทางปฏิบัติ นักพยากรณ์อากาศมักใช้วิธีการพยากรณ์อากาศหลายวิธีร่วมกันตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้
ข้อมูล : WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION / กรมอุตุนิยมวิทยา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง