ข่าว

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ห่วง 'ซีเซียม 137' ในรัศมี 5 กม.ทำคนป่วยเพิ่ม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม ห่วงหลัง "ซีเซียม 137" ถูกหลอมในโรงงานผงฝุ่นที่ปล่อยออกจากปล่องควัน ในรัศมี 5 กม. เพราะมีสารก่อมะเร็งในอากาศ พร้อมแนะภาครัฐควรบอกข้อเท็จจริงกับประชาชน

21 มี.ค.2566  ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย  ระบุถึง กรณีวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 หายจากโรงงานในจ.ปราจีนบุรี  ก่อนพบว่าถูกหลอมไปแล้ว ว่า สารกัมมันตภาพรังสีซีเซียม 137 คืออาจจะถูกหลอมไปรวมกับเหล็ก ที่โรงงานหลอมเหล็กแห่งหนึ่ง  อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 

 

ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้มีการยืนยันกับอธิบดีกรมโรงงาน โดยลักษณะการหลอมจะต้องเอาเศษเหล็กมาอัดเป็นแท่นถึงจะสามารถเข้าเตาหลอมได้ ด้วยความร้อน 1,200 องศาเซลเซียส จากนั้นเหล็กจะกลายเป็นน้ำเหล็กทำให้เย็นลง เพื่อทำเป็นเหล็กแท่น เหล็กเส้นต่อไป

 

 

 

 

 

 ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

 

 

ขณะเดียวกันเหล็กที่กำลังหลอมจะมีมลพิษทางอากาศ คือ ฝุ่นขนานเล็ก ของเหล็กลอยไปที่ปล่องก่อนที่จะออกไปที่ปล่องจะมีจะมีตัวกรองอากาศ กรองฝุ่นไว้ ซึ่งก็คือ ฝุ่นแดง 

 

โดยในฝุ่นแดงจะมีซีเซียมซึ่งถึงกรองอากาศจะดักไว้ได้แค่ 90% ส่วนอีก10% จะลอยออกไปที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศแต่ก็ขึ้นอยู่กับลมจะพัดไปทิศทางไหน ในรัศมี 5 กิโลเมตร โดยบางส่วนอาจจะตกลงมาสิ่งแวดล้อม เช่น ปนเปื้อนในดิน , น้ำใต้ดิน , ผิวดิน ทำให้อาจจะมีสัตว์น้ำมากินเข้าไป เช่น ปลา ซึ่งคนก็อาจจะนำปลามากิน รวมทั้งอาจจะเข้าไปถึงพืช ผัก ผลไม้  ซึ่งก็จะกลายเป็นห่วงโซอาหาร ประชาชนที่ไม่รู้ก็อาจจะกินเข้าไป 

 

 

จนท.ตรวจโรงหลอมเหล็กในพืันที่ปราจีนบุรี

 

 

ขณะเดียวกัน ก้นเตาหลอมจะมีตะกรันเหล็กที่เผาไหม้ไม่หมดกลายเป็นขยะขนานใหญ่ ซึ่งอาจจะมีการปนเปื้อนซีเซียมอยู่ด้วย ซึ่งโรงงานได้เอาไปฝังกลบไว้ที่รอบๆโรงงาน หลังจากที่หน่วยงานราชการไปเจอก็ขุดออก แต่ก็ไม่ทันเพราะได้มีการปนเปื้อนในน้ำใต้ดินแล้ว จึงทำให้รอบๆโรงงานมีซีเซียมผสมลงไปในน้ำใต้ดินแล้ว ซึ่งหากมีคนนำน้ำไปทาน หรือ ไปหาปลา เก็บพืช ผัก ผลไม้ ที่มีซีเซียมปนเข้าไปก็จะเข้าไปสู่ห้วงโซ่อาหาร 

 

 

ซีเซียม 137 ที่หายไปจากโรงไฟฟ้า จ.ปราจีนบุรี

 

 

ซึ่งประชาชนที่ได้รับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของซีเซียมโดยไม่รู้ตัว จะทำให้สารซีเซียมเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจ  หากหายใจอากาศที่มีซีเซียมก็จะเข้าสู่ปอด ไปที่ถุงลมปอด เส้นเลือด และไปที่เนื้อเยื่อต่างๆ  หากทานอาหารเข้าไปจะเข้าสู่กะเพาะ ลำไส้ ดูดซึมเข้าไปในเส้นเลือด สุดท้ายไปสะสมที่เนื้อเยื่ออ่อน  กล้ามเนื้อ ไขกระดูก

 

 

วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม ที่หลุดหายไป

 

 

ซึ่งซีเซียมเมื่อเข้าไปอยู่ในร่างกาย ก็จะปล่อยรังสีกัมมา หรือเบต้าออกมา พอปล่อยไปในระยะเวลานานอาจจะทำให้โคโมโซมในร่างกายเปลี่ยนแปลง หรือ DNA ผิดปกติ หรือเป็นหมันได้ และอาจจะไปสู่ระยะสุดท้ายคือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยใช้ระยะยาวนานถึง 5-10 ปี และขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้นข้นและ ภูมิต้านทานในร่างกายเท่าไหร่ โดยการสลายตัวของซีเซียมใช้เวลาถึง 30ปี

 

ขอให้ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังอาการตนเองว่า มีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดท้อง หรือมีตุ่่มขึ้นตามร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์ว่าได้รับรงสีเข้าไปในร่างกายหรือไม่ 

ขณะเดียวกันฝุ่นแดงได้ข้อมูลจากกรมโรงงานว่ามี 24 ตัน และได้ขนไปที่จ.ระยองแล้ว 12.4 ตัน ที่โรงงาน ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 66 ซึ่งหากส่วนหนึ่งที่เกินหลอมไปแล้ว อาจจะมีซีเซียมที่ปลายปล่อง ประชาชนในพื้นที่จะได้รับผลกระทบได้ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพในพื้นนี้เพิ่ม 


ดร.สนธิ  ระบุว่า ส่วนของราชการจะต้องให้ข้อเท็จจริงกับประชาชน ต้องตื่นตระหนกในการค้นหา หรือตรวจวัดรังสี  ตรวจระบบนิเวศพืชผัก ผลไม้ ประมาณ 1-2 ปี  ตรวจสุขภาพประชาชนบริเวณใกล้เคียง 5 กิโล และต้องดูแลอย่างน้อย 5 ปี และกฎหมายที่สำคัญ เพราะว่า ซีเซียม 137 เข้าข่าย พ.ร.บ.วัตถุอันตรายปี 2535 มาตรา 4 วัตถุกัมตภาพรังสีถือเป็นวัตถุอันตราย เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นวัตถุอันตรายจะต้องขออนุญาตจากหน่วยงาน

 

ซึ่งโรงไฟฟ้าดังกล่าวเขาได้ไปขออนุญาตสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ แต่เขาผิดกฎหมายที่ไม่ปฏิบัติตามใบอนุญาติ คือ ไม่รักษาให้ดี ไม่ดูแลให้ดี ทำให้สูญหาย ทำให้สามารถโดนสั่งยึดใบอนุญาตได้ ส่วนโรงหลอมเหล็ก หรือ ร้านรับซื้อวัตถุอันตรายที่ว่าครอบครองวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดกฎหมายจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติต้องดูแลและตรวจสอบ กัมตภาพรังสีซีเซียม 137 ถ้าดูแลและตรวจสอบไม่ดีผิดกฎหมายมาตรา 157 ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ได้ ประชาชนฟ้องศาลปกครองได้ 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ