ข่าว

แก้ปัญหา 'ไฟป่า' หมอกควัน 99.99% มาจากน้ำมือมนุษย์ ต้องเข้าใจบริบทไฟและคน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แนะแก้ปัญหา 'ไฟป่า' หมอกควันในประเทศไทยช่วงฤดูแล้ง ต้องเข้าใจบริบทไฟและคน พบข้อมูลเกิดจากคน 99.99% อย่าโยนความผิดเพื่อนบ้านเตือนจุด Hot Spot น้อยลงไม่ได้แปลว่าการเผาป่าลดลง กังวลการแกล้งเผาป่าหลอกดาวเทียม

ปัญหามลพิษทางอากาศจาก "ไฟป่า" โดยปรกติเกิดขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทยช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องฤดูแล้ง ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงสิ้นเมษายน โดยคุณภาพอากาศที่แย่ที่สุดเนื่องจาก หมอกควัน จากไฟ (ไฟป่าและการเผาในที่โล่ง) ส่วนใหญ่จะเกิดช่วงเดือนมีนาคม เหตุเพราะอากาศในช่วงเวลานั้นมักจะเกิดสภาวะอากาศปิด ลมนิ่ง ลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ ความกดอากาศสูงเคลื่อนตัวลงมากดทับจากจีนแผ่นดินใหญ่ ลักษณะเหมือนฝาชีครอบ ส่งผลให้หมอกควันไม่สามารถลอยตัวออกจากพื้นที่ได้ บวกกับพื้นที่ที่ให้ฝุ่นควันลอยตัวอยู่มีพื้นที่แคบมากขึ้น

 

 

โดยที่ผ่านมาทางหน่วยงานราชการจะเน้นปัญหาเพียง 9 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน น่าน ลำปาง แพร่ ตาก พะเยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 มีการขยายเพิ่มเติมอีก 8 จังหวัด คือ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี รวมเป็น 17 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ร่วมแก้ไขปัญหาเริ่มมีความตระหนักถึงการเคลื่อนตัวของหมอกควันซึ่งมิใช่ข้ามมาจากประเทศข้างเคียงเท่านั้น

กราฟเปรียบเทียบความร้อนสะสม

 

แต่ยังข้ามมาจากจังหวัดข้างเคียงด้วย โดยในปีพ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา มีฝนตกช่วงหน้าแล้งหรือหน้าไฟอย่างผิดปรกติคล้ายกับปี 2564 โดยถือว่าเป็นปีที่ ลานินญ่า ส่งผลให้มีผลกระทบเรื่องหมอกควันน้อยลงตามตัวไปด้วย ทั้งนี้ต้องตระหนักด้วยว่าเมื่อมีไฟน้อยนั้นหมายถึงการสะสมของเชื้อเพลิงบนพื้นป่ามีมากขึ้น และจะเป็นเชื้อไฟพร้อมที่จะถูกเผาในอนาคตเมื่อความแห้งแล้งกลับมาอยู่ในสถาวะปรกติ หรือมีสภาวะแห้งแล้งผิดปรกติ เช่น โดยคลื่นความร้อนที่เกิดสลับกันไปมาทั่วโลกในปี 2565 ที่ผ่านมา หรือสภาวะ เอลนีโญ ที่กำลังจะมาเยือน

ภูมิภาคอาเซียนตอนบนในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นสภาวะภูมิอากาศที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ ในปีพ.ศ. 2566 ดูเหมือนจะมี "ไฟป่า" เกิดมาขึ้น ภูมิภาคอาเซียนตอนบนในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นสภาวะภูมิอากาศที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ 

 

การเกิด "ไฟป่า" ของประเทศไทยนั้นเกิดจากหลายสาเหตุแต่เป็นการจงใจจุดโดยคน 99.9999% เนื่องจากการเกิดไฟนั้น องค์ประกอบ 3 อย่าง อ๊อกซิเจน เชื้อเพลิง และความร้อน ต้องมีลักษณะและคุณสมบัติที่สมบูรณ์พร้อมพอดีไฟถึงจะเกิด โดยส่วนใหญ่ไฟจะไม่เกิดถ้าความร้อนไม่ถึงจุดเริ่มการเผาไหม้ ซึ่งเชื้อเพลิงแต่ละชนิดก็มีจุดความร้อนที่แตกต่างกันไป บวกกับขนาดและการเรียงตัวของเชื้อเพลิงที่แน่นหรือแม้แต่ความแห้งยังไม่พอ  "คน"  จึงเป็นปัจจัยหลักในการที่จะทำให้ความร้อนถึงจุดการเกิดไฟของเชื้อเพลิงลักษณะและขนาดต่างๆ โดยสาเหตุที่พบคือ มีการลักลอบกลั่นแกล้งเผาป่า

 

ว่ากันว่ามีการจ้างกันมาเผา โดยพบว่า สาเหตุเกิดมาจากความขัดแย้งความไม่พอใจ แม้แต่เรื่องส่วนตัว รวมไปถึงนโยบายของรัฐ การเมืองทั้งระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ ความขัดแย้งทางการเมือง การลุกลามข้ามเขตการปกครองหรือเขตประเทศ รวมไปถึงสาเหตุเดิมๆ คือ หาของป่า การล่าสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การเกษตรกรรม การขยายพื้นที่ทำกิน การทำให้พื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อดำเนินการครอบครองต่อไป การลักลอบตัดไม้ ความคึกคะนอง ความประมาทเลินเล่อ ส่วนเรื่องเกษตรกรรมนั้นปัจจุบันได้เริ่มจัดให้มีแบ่งการเผาเตรียมพื้นที่การเกษตรกรรมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ก็ทำได้ไม่ตรงจุดเท่าที่ควร

 

ที่ผ่านมาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและภูมิอากาศขององค์การอวกาศนาซ่า/โนอาร์ประเทศอเมริกาตรวจพบในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง และตรวจพบน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านในรอบ 22 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักก็เพราะประเทศไทย คือประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนตอนบน (ไทย ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม) ที่มีการจัดการและควบคุมไฟป่าอย่างเป็นระบบโดยหน่วยงานของรัฐ  แต่ผ่านไปกว่า 40 ปี ปัญหาไฟป่าและหมอกควันยังส่งผลกระทบเรื่อยมา บางส่วนก็โยนความผิดให้ประเทศข้างเคียง เช่นทางภาคเหนือก็โทษประเทศพม่าและลาว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพม่า ถึงแม้ว่าประเทศลาวมีไฟไหม้มากเหมือนกัน 

 

ที่ผ่านมาเราเพียงมองจำนวนฮอตสปอตที่ดาวเทียมตรวจพบเป็นมากเกินไป แถมนำมาเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร เพื่อสะท้อนให้เห็นจุดที่เกิดไฟไหม้ แต่เราไม่ทราบเลยว่าพิกัดที่ดาวเทียมตรวจเจอนั้นมีพื้นที่ไฟไหม้กว้างใหญ่ขนาดไหน เชื้อเพลิงที่ไหม้เป็นประเภทไหนและมีลักษณะเป็นอย่างไร อีกทั้งลักษณะภูมิประเทศเอื้ออำนวยขนาดไหน และลักษณะภูมิอากาศขณะที่ไหม้เป็นอย่างไร  แต่ยังมีเรื่องทิศทางและความรุนแรงของลมที่พัดที่แต่ละระดับความสูงต่างๆ ลมก็พัดในทิศทาง ความเร็วและความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไฟ

 

 

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ การเผาหลบดาวเทียมที่ทำให้ไม่สามารถตรวจวัดจุดฮอตสปอตได้แย่างแม่นยำ ซึ่ง เกิดขึ้นมานานขนาดไหนนั้นไม่สามารถระบุได้ ฉะนั้นการที่จะบอกว่าในประเทศไทยมีจำนวนฮอตสปอตน้อยจึงไม่ได้หมายความว่าเกิดไฟน้อย แล้วไฟที่เผาหลบจำเป็นที่ต้องทำหลังเวลาบ่าย 3 โมง ซึ่งเป็นเวลาที่ดาวเทียมได้ผ่านประเทศไทยไปแล้ว ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นคือ ช่องว่างของช่วงเวลาเกิดขึ้นทุกวัน ตัวเชื้อเพลิงที่ถูกไฟไหม้จะมีความชื้น ส่งผลให้การเผาไหม้เกิดควันมากขึ้น ฉะนั้นการที่มีตัวเลขฮอตสปอตน้อย ไม่ได้หมายความว่าควันจะน้อยตามไปด้วย 

 

 

แก้ปัญหา 'ไฟป่า' หมอกควัน  99.99% มาจากน้ำมือมนุษย์ ต้องเข้าใจบริบทไฟและคน   

 

 

ข้อมูลฮอตสปอตที่ดาวเทียมตรวจพบ คือ ฮอตสปอต Hotspot หรือ Active Fire Product จากการนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ

 

พื้นที่ไฟไหม้โดยเซ็นเซอร์โมดิส รายละเอียด 500 เมตร 22 ปี พ.ศ. 2544-2565

 

สัญลักษณ์แสดงพิกัดหรือจุดฮอตสปอตไม่ได้แสดงขนาดของพื้นที่ไฟไหม้แต่อย่างใด ขนาดของจุดเหล่านั้นจะปรับเปลี่ยนไปตามมาตราส่วนของแผนที่ที่แสดง เช่น ภาพซ้ายเป็นภาพมุมกว้างที่ครอบคลุมพื้นที่ได้มาก จึงดูเสมือนว่ามีไฟไหม้เยอะทั่วประเทศไทย แต่เมื่อขยายภาพเข้าไปจะเห็นว่าจุดเหล่านั้นห่างออกจากกัน  ดังนั้น พิกัดหรือจุดฮอตสปอต ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดไฟไหม้เป็นพื้นที่ขนาดเท่าไรและไฟอยู่ที่ตำแหน่งไหนในพิกเซลที่มีความร้อนผิดปรกตินั้น

 

เปรียบเทียบการแสดงผลจุดฮอตสปอตที่ตรวจพบด้วยดาวเทียมบนแผนที่ของระบบ NASA FIRMS

 

สำหรับการแก้ปัญหา "ไฟป่า" ในเบื้องต้นสามารถบริหารจัดการไฟ (ไฟป่าและการเผาในที่โล่ง หรือไฟเกษตร) นั้น เราต้องพยายามทำความเข้าใจทั้งบริบทและพฤติกรรม ของทั้งไฟป่า ไฟเกษตร ควันที่เกิด กันเสียก่อน การยอมรับข้อเท็จจริงพื้นฐานที่ประเทศไทยยังมีความรู้เรื่องที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านวิทยาศาสตร์ไฟ ด้านวิทยาศาสตร์ควัน และทางสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานหลักที่จำเป็นต้องดำเนินการศึกษาหาความรู้และความเข้าใจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์บนพื้นฐานข้อเท็จจริงในการแก้ไขปัญหาร่วมกันทุกภาคส่วน    

 

 

บทความโดย:  ดร. วีรชัย ตันพิพัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไฟป่าภูมิภาคอาเซียนตอนบน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ