ข่าว

'มะเร็งลำไส้ใหญ่' รักษาหายขาด ย้ำประชาชน 'ตรวจคัดกรอง' ทุก 2 ปี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'มะเร็งลำไส้ใหญ่' รักษาหายขาดได้ แพทย์ย้ำประชาชนเข้า 'ตรวจคัดกรอง' ทุก 2 ปี ป้องกันเจอโรคระยะ 'แพร่กระจาย' พบอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

"มะเร็งลำไส้ใหญ่" และไส้ตรงเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี รายงานเมื่อปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 16,000 คนต่อปี เป็นเพศชาย 8,658 และหญิง 7,281 คน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,500 คนต่อปี และมีอัตราแนวโน้นเกิดโรคสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี ทว่า ยังเป็นข้อกังขาอยู่ "มะเร็งลำไส้ใหญ่" รักษาหายขาดจริงหรือไม่ วันนี้ "คม ชัด ลึก" จะพาไปหาคำตอบ 

 

 

 

 

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่รักษาหายได้

 

 

อ.พญ.นุสรา ภาคย์วิศาล หน่วยมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไข้ออกสงสัยของสังคม "มะเร็งลำไส้ใหญ่" รักษาหายจริงเหรอว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่รักษาหายขาดได้หรือไม่ ปัจจัยสำคัญคือระยะของโรคเป็นตัวกำหนดแนวทางการรักษา ซึ่งมะเร็งลำใส้มีทั้งหมด 4 ระยะด้วยกัน 1 และ 2 คือระยะต้น มะเร็งยังอยู่เยื่อบุลำไส้ ไม่กระจาย ระยะ 3 ระยะลุกลามเฉพาะที่ และ 4 ระยะแพร่กระจาย จุดที่มะเร็งแพร่กระจายมากที่สุดคือ ตับ รองลงมาคือปอด 
 

ระยะต้น การรักษาคือการผ่าตัด แต่แพทย์อาจพิจารณาให้ยาเคมีซ้ำ เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคซ้ำ ส่วนระยะลุกลาม  รักษาด้วยการผ่าตัด การให้ยาเคมีหลังผ่าตัด และอาจฉายแสงเพื่อไม่ให้โรคเกิดซ้ำ ซึ่งระยะลุกลามเฉพาะที่ เช่น ลุกลามไปที่ตับ แต่แพทย์พบว่าอยู่ตำแหน่งสามารถผ่าตัดได้ก็มีโอกาสรักษาหายขาดได้ "มะเร็งลำไส้ใหญ่" มีความพิเศษมาก แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการตรวจคัดครอง เพราะการเข้ารับการคัดกรองทำให้มีโอกาสเจอระยะต้น โอกาสรักษาหายขาดและรอดชีวิตในอัตรา 5 ปี มีสูงถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าหากตรวจเจอในระยะลุกลามโอกาสรอดชีวิตร้อยละ 60 ส่วนระยะแพร่กระจายมีโอกาสรอดแค่ร้อยละ 20 เท่านั้น

 

คณะแพทย์ศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​

อีกคำถามหนึ่งที่มักพบอยู่บ่อยๆ คือ ผู้ป่วยมะเร็งสามารถกินเนื้อสัตว์ได้หรือไม่ แพทย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมายืนยันแล้วว่า สามารถกินได้ปกติ กินให้เพียงพอ ส่วนกลุ่มคนปกติ สามารถกินได้แต่ให้พยายามหลีกเลี่ยงเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป และให้เน้นทานผัก  ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี

 

 
สำหรับวิธีสังเกตโรค "มะเร็งลำไส้ใหญ่" เบื้องต้น คือ การขับถ่ายผิดปกติ เนื่องจากลำไส้มีหน้าที่ขับถ่ายอุจจาระ ถ้าเริ่มมีอาการขับถ่ายอุจจาระที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น จากที่เคยถ่ายอุจจาระวันละ 1 ครั้ง เปลี่ยนเป็นวันละ 3-4 ครั้ง หรือลักษณะของอุจจาระที่ออกมาจะเหลวมากกว่าปกติ มีเลือด หรือเป็นมูกปนมาด้วย เมื่อมีอาการเช่นนี้ ควรต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อดูว่าอาการผิดปกติของอุจจาระที่เกิดขึ้นต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือไม่

 


ส่วนอาการที่ตามมาอย่างอื่น เช่น มีอาการแน่นท้อง ปวดท้องโดยไม่รู้สาเหตุ สองอาการนี้ บางท่านอาจจะไม่ทันเฉลียวใจ น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ สิ่งนี้จะทำให้เป็นที่สังเกตง่าย หลังจากนั้นก็อาจจะเริ่มซีดลง โดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เมื่อมีความผิดปกติเช่นนี้ควรต้องปรึกษาแพทย์ทันที
สัญญาณเตือน "มะเร็งลำไส้ใหญ่"

 


โรค "มะเร็งลำไส้ใหญ่" สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และไม่มีอาการผิดปกติให้เห็นเป็นการเตือน จึงต้องหมั่นสังเกตร่างกายตนเองว่ามีความผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ สำหรับอาการผิดปกติที่ไม่ควรปล่อยไว้เพราะอาจทำให้คุณเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง คือ มีอาการท้องเสีย ท้องผูกเป็นประจำ หรือมีเลือดออกในอุจจาระ มีมูกปน เกิดอาการจุกเสียด แน่นท้อง หรือปวดท้องบ่อย อ่อนเพลีย และน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีอาการดังกล่าวนี้ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ ตรวจเช็คเพื่อความสะบายใจ หรือหากตรวจแล้วพบว่า เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะได้รักษาได้ทันท่วงที

 

 

ข่าวดีสำหรับผู้สูงอายุระหว่าง 50-70 ปี ขณะนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือ บัตรทอง 30 บาท ให้บริการตรวจคัดกรองทุก 2 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ