ข่าว

"วันสตรีสากล" ชี้ ผู้หญิงถูกทำร้ายรายวัน 16 ปี กฎหมายคุ้มครองยังอ่อนแอ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"วันสตรีสากล" ชี้ยังพบผู้หยิงถูกทำร้ายรายวัน หนักสุดภถึงขั้นโดนทำร้ายถึงแก่ชีวิต ระบุ 16 ปีกฎหมายยังอ่อนแอดูแล คุ้มครองไม่ได้

เปิดเวที "วันสตรีสากล" พบผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงรายวัน ชี้ 16 ปี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว ยังมีช่องโหว่ เน้นรักษาสัมพันธ์ มากกว่าคุ้มครองผู้ถูกกระทำ เผยสถิติจากข่าวความรุนแรงในครอบครัวปี 64 สูงถึง 372 ข่าว ฆ่ากันตายเกินครึ่ง ผัวฆ่าเมียเยอะสุด รองลงมาคือคู่รักแบบแฟน ทั้งนักศึกษา วัยทำงาน

 

จี้ปรับแก้กฎหมายให้สอดคล้องสถานการณ์ ด้านผู้ถูกกระทำเปิดใจ อยู่กินกับสามีขี้เหล้าถูกทุบน่วมทุกวัน ไม่สนศาลสั่งคุ้มครอง ล่าสุดแยกบ้านอยู่ยังตามราวี

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว และแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาถอดบทเรียน “16 ปี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550” เนื่องในโอกาส 8 มีนาฯ "วันสตรีสากล" 

 

วันสตรีสากล

โดยนางสาวอังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากการรวบรวมข่าวหนังสือพิมพ์ 11 ฉบับ และข่าวจากสื่อออนไลน์ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2564 มีข่าวความรุนแรงในครอบครัว 372 ข่าว มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้น 92 ข่าว คิดเป็น 24.7% และยาเสพติด 64 ข่าว คิดเป็น 17.2% จะเห็นว่าสถิติไม่ได้ลดลงเลย โดยเฉพาะการฆ่ากันตายในครอบครัวมีถึง 195 ข่าว คิดเป็น 52.4% ทำร้ายกัน 82 ข่าว คิดเป็น 22% และฆ่าตัวตาย 52 ข่าว คิดเป็น 14%

 

 

โดยความสัมพันธ์แบบสามีฆ่าภรรยาสูงสุด 57 ข่าว คิดเป็น 63.4% สาเหตุมาจาก หึงหวง ระแวงว่าภรรยานอกใจ 45 ข่าว คิดเป็น 60% ง้อไม่สำเร็จ 11 ข่าว คิดเป็น14.7% วิธีการที่ใช้มากสุดคือปืนยิง 34 ข่าว คิดเป็น 43% ใช้มีดหรือของมีคม 27 ข่าว คิดเป็น 34.2% และตบตีทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต 7 ข่าว คิดเป็น 8.8%


 

วันสตรีสากล

 

ที่น่าห่วงคือความสัมพันธ์แบบแฟน ซึ่งฝ่ายชายกระทำต่อฝ่ายหญิง 27 ข่าว คิดเป็น 65.9%  ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาความรุนแรง สังคมต้องเริ่มต้นจากการป้องกันโดยจับสัญญาณความรุนแรงในคู่รัก ก่อนทำร้ายร่างกายกันจริงๆ เช่น หึงหวง เพิกเฉย ทำให้อับอาย ควบคุม รุกราน ข่มขู่ พยายามปั่นหัว แบล็คเมล์ หรือตัดขาด เป็นต้น เพื่อหาทางออกจากความสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยอย่างสันติ   การปรับแก้กฎหมายครอบครัวที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายครอบครัวเพื่อทำให้ผู้ถูกกระทำตัดสินใจใช้กลไกดังกล่าวในการคุ้มครองสวัสดิภาพตนเองได้  ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก  เรื่องการเคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกาย ความรักที่ไม่ใช่เจ้าของชีวิต
 

 

ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถีศึกษา กล่าวว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฯ ยังมีปัญหาหลายด้าน ที่สำคัญคือเจตนารมณ์และหลักการของกฎหมายที่ให้น้ำหนักกับการรักษาความสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว มากกว่าที่จะเน้นการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกระทำและชัดมากในมาตรา 15 ระบุว่า “ไม่ว่าการพิจารณาคดีฯ จะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ก็ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบปรับให้คู่ความได้ยอมความกัน โดยมุ่งถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเป็นสำคัญ” ซึ่งข้อความนี้ กลายเป็นพิมพ์เขียวในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่มองว่า แม้จะมีการทำร้ายกันในครอบครัว แต่ต้องพยายามรักษาครอบครัวให้เขาอยู่ด้วยกันต่อไปให้ได้ ผู้ถูกกระทำเลยไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างที่ควรจะเป็นอีกปัญหาคือกฎหมายไม่ได้ออกแบบรองรับให้การทำงานแบบบูรณาการสหวิชาชีพ ซึ่งสำคัญมาก เพราะปัญหามีความซับซ้อน ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย แต่กฎหมายกำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดูแลเพียงหน่วยเดียว ความร่วมมือจากฝ่ายอื่นจึงเป็นแบบกระท่อนกระแท่น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ