ข่าว

ส่องข้อกำหนด อ่าวพัทยา เป็น พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทำไมเรือแพดังจอดได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดข้อกำหนด ด้านสิ่งแวดล้อม พบ อ่าวพัทยา เป็นพื้นที่ตามการกำหนด พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ห้ามสร้างสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำสาธารณะ

จากเหตุการณ์ เรือแพคาเฟ่ดังในอ่าวพัทยา คราเคเนี่ยน ได้ล่มลง เมื่อช่วงเย็นวันที่ 30 ม.ค. ที่ผ่านมา และกำลังดำเนินการเตรียมกู้เรือแพดังกล่าวในวันนี้ ( 31 ม.ค.) ซึ่งต้องมีการประเมินสถานการณ์ให้รอบคอบ เนื่องจากช่วงนี้ทะเลมีคลื่นลมแรง นอกเหนือจากการเกิดเหตุเรือแพล่มดังกล่าว มีการตั้งคำถามจากสื่ออิสระท้องถิ่นของพัทยาว่า การจอดเรือแพคราเคเนี่ยนนั้น ถูกต้องและได้รับอนุญาตตามกฎหมายหรือไม่ รวมทั้งความปลอดภัยต่อลูกค้า เนื่องจากมีการเปิดเผยว่า ที่ผ่านมาลูกค้าที่ใช้บริการเรือแพแห่งนี้ ไม่มีการสวมใส่เสื้อชูชีพในขณะใช้บริการ 

ส่องข้อกำหนด อ่าวพัทยา เป็น พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทำไมเรือแพดังจอดได้
สำหรับที่ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กฎหมายที่ว่านั้นคืออะไร โดยในประเทศไทยนั้น มีพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้เรียกว่า พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม  ซึ่งได้ถูกกำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
 

1. การประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 43


  มาตรา 43 ในกรณีที่ปรากฎว่าพื้นที่ใดมีลักษณะเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นโดยทั่วไป หรือมีระบบนิเวศตามธรรมชาติที่อาจถูกทำลายหรือได้รับผลกระทบกระเทือนจาก กิจกรรมของมนุษย์ได้โดยง่าย หรือเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันควรแก่การอนุรักษ์ และพื้นที่นั้นยังมิได้ถูกประกาศกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่นั้นเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม


พื้นที่ทีมีลักษณะเข้าข่ายมาตราที่ 43 ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ที่มีระบบนิเวศตามธรรมชาติแตกต่างจากพื้นที่บริเวณอื่นโดยทั่วไป พื้นที่ที่ระบบนิเวศอาจถูกทำลายหรือได้รับผลกระทบการกิจกรรมของมนุษย์ไดโดยง่าย และพื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติหรือศิลปกรรมอันเก่าแก่ควรค่าแก่การอนุรักษ์แต่พื้นที่นั้นยังมิได้ประกาศกำหนดให้เป็นขตอนุรักษ์


2. การประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 45


มาตรา 45  ในพื้นที่ใดที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ เขตผังเมืองรวม เขตผังเมืองเฉพาะ เขตควบคุมอาคาร เขตนิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือเขตควบคุมมลพิษตามพระราชบัญญัตินี้ไว้แล้ว แต่ปรากฏว่ามีสภาพปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมรุนแรงเข้าขั้นวิกฤตซึ่งจำเป็นจะ ต้องได้รับการแก้ไขโดยทันทีและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่มีอำนาจตามกฎหมาย หรือไม่สามารถที่จะทำการแก้ไขปัญหาได้ ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอต่อคณะ รัฐมนตรีขออนุมัติเข้าดำเนินการเพื่อใช้มาตรการคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตามมาตรา ๔๔ ตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาในพื้นที่นั้นได้
 

ส่องข้อกำหนด อ่าวพัทยา เป็น พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทำไมเรือแพดังจอดได้

โดยพื้นที่ของ พัทยา นั้น ถูกกำหนดเป็นหนึ่งในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม  โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออก “ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2563” เพื่อใช้แทนฉบับเดิม พ.ศ. 2553

ประกาศฯฉบับนี้ได้กำหนดอายุใช้บังคับ 5 ปี คือตั้งแต่ 25 ก.ค. 2563 ถึง 24 ก.ค. 2568 ครอบคลุมพื้นที่เช่นเดิม มีการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมข้อกำหนดในรายละเอียดบางอย่าง


มีการระบุว่า พื้นที่ภายในบริเวณระยะ 6 เมตร จากแนวริมฝั่งตามสภาพธรรมชาติของแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะ ห้ามก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารใด ๆ เว้นแต่เป็นการก่อสร้างเพื่อประโยชน์สาธารณะในการคมนาคมทางน้ำหรือการสาธารณูปโภค

โดยต้องได้รับความเห็นจากคณะกรรมการ เพื่อนำไปประกอบการขออนุญาต (เดิม หากเป็นคลองสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร บังคับเฉพาะพื้นที่ภายในบริเวณระยะ 3 เมตรจากแนวเขตคลองสาธารณะ)


แต่ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดเหตุ ยังไม่พบเจ้าของเรือแพดังกล่าวแต่อย่างใด และยังไม่ได้มีการกล่าวถึงใบอนุญาตในการจอดเรือแพ เพราะเนื่องจากข้อกำหนดนั้น จะต้องมีการได้รับใบอนุญาตนารจอดจากคณะกรรมการ

 


คงจะต้องรอดูความชัดเจนกันต่อไป
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ