ข่าว

"โควิด19" จับตา XBB.1.5 แพร่เชื้อไวสุด สายพันธุ์อุบัติใหม่ที่น่ากังวล

"โควิด19" จับตา XBB.1.5 แพร่เชื้อไวสุด สายพันธุ์อุบัติใหม่ที่น่ากังวล

19 ธ.ค. 2565

"โควิด19" จับตา "XBB.1.5" สายพันธุ์ลูกผสม แพร่เชื้อไวสุด สายพันธุ์อุบัติใหม่ที่น่ากังวล ฮอตสปอตใหม่ในนิวยอร์ก ขณะ ยอดติดเชื้อในไทยยังสูง ยอดเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 16 ราย/วัน

อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของ "โควิด19" ซึ่งยังคงพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีการปรับการรายงานตัวเลขเป็นรายสัปดาห์แล้วก็ตาม โดยตัวเลข ยอดผู้ติดเชื้อโควิด รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11 - 17 ธันวาคม 2565

 

 

พบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวน 3,419 ราย เฉลี่ยรายวัน จำนวน 488 ราย/วัน ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 542 ราย ป่วยสะสม 2,495,473 ราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตรายสัปดาห์อยู่ที่ 113 ราย เฉลี่ยรายวัน 16 ราย/วัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 6 ราย เสียชีวิตสะสม 11,807 ราย

 

ยอดติดเชื้อโควิด รายสัปดาห์

 

"XBB.1.5" สายพันธุ์อุบัติใหม่ที่ "น่ากังวลมากสุด"

 

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้เปิดเผยข้อมูลว่า นิวยอร์กกำลังกลายเป็น ฮอตสปอตใหม่ ของ "โควิด19" ตระกูล XBB ที่พบแพร่ระบาดใหญ่ในสิงคโปร์เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีตัวเลข ผู้ติดเชื้อ ที่นิวยอร์กรายวันตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมจนถึงปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

5.5%
5.7%
5.7%
5.3%
9.0%
13.8%
12.6%
13.7%
16.5%
18.6%

 

เมื่อเทียบกับ โควิด สายพันธุ์อื่นที่ระบาดในนิวยอร์ก

 

ฮอตสปอตใหม่ ใน นิวยอร์ก

 

โดยมีระบาดเข้ามาแทนที่ โอไมครอน BQ.1 อย่างรวดเร็วโดยพบ 

 

- มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)  ที่นิวยอร์กสูงกว่า BQ.1 ถึง 144%  

- มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า BQ.1 ทั่วสหรัฐ 122% และมี

- มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด สูงกว่า BQ.1 ทั่วโลกประมาณ 94%

 

จากฐานข้อมูลเก็บรหัสพันธุกรรม โควิด โลก GISAID พบแล้วทั้งสิ้น 288 ตัวอย่าง ยังตรวจไม่พบในประเทศไทย

 

คาดว่า "XBB.1.5" ได้กลายพันธุ์มาจาก XBB ที่นิวยอร์ก โดยมีอัตราการเพิ่มจำนวนประมาณถึง 100% ในแต่ละสัปดาห์

 

โดยอาศัยเทคโนโลยีด้าน "ชีวสารสนเทศ" ที่ก้าวหน้าไปอย่างมากมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมโควิดทั้งจีโนม (whole SARS-CoV-2 genome sequencing) ตลอด 3 ปี 

 

จำนวนกว่า 14.2 ล้านตัวอย่าง ช่วยให้เราสามารถทำนายรูปลักษณ์ของโปรตีนหนามที่แตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ของ "โควิด19" เพื่อบ่งชี้

 

- ความสามารถของ โปรตีนหนาม ในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน(immune escape) เนื่องจากรูปร่างโปรตีนหนามที่เปลี่ยนไปอันมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์

- ความสามารถของโปรตีนหนามในการยึดจับตัวรับ ACE-2 บนผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อ เพื่อแทรกเข้าไปภายในเซลล์ (ACE-2 binding score) เนื่องจากรูปร่างโปรตีนหนามที่เปลี่ยนไปอันมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์

 

โดยพบว่า "XBB.1.5" เป็น "โควิด19" ที่มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงที่สุด และมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและการเข้ากับผิวเซลล์เพื่อทะลุผ่านเข้าไปภายในเซลล์ได้ดีที่สุดในโลก ณ ขณะนี้ อันเป็นสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกำลังจับตามองด้วยความกังวล

 

XBB.1.5 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด

 

ข้อมูล : ศูนย์จีโนมทางการแพทย์