ข่าว

'เช็กสิทธิประกันสังคม' ผู้ประกันตน 3 มาตรา ล่าสุด ได้สิทธิอะไรบ้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'เช็กสิทธิประกันสังคม' ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 สำนักงานประกันสังคม อัปเดตล่าสุด ได้สิทธิอะไรบ้าง สรุปครบจบที่นี่

"เช็กสิทธิประกันสังคม" สำหรับผู้ประกันตน ที่สมัครสิทธิประกันสังคม แต่ละมาตรา ทั้ง มาตรา 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40 มีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้มาไขข้อสงสัย รวมทั้งขั้นตอนการเช็คสิทธิ และ การหักเงินสมทบประกันสังคม แบบละเอียด

 

สำหรับ ประกันสังคม คือการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, ตาย, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และว่างงาน มีการคุ้มครองผู้ประกันตน โดยแบ่งเป็น 3 มาตราหลัก ๆ  ได้แก่

 

 

ประกันสังคมมาตรา 33

 

คือ ลูกจ้าง ผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี

 

  1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  2. กรณีคลอดบุตร
  3. กรณีทุพพลภาพ
  4. กรณีตาย
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร
  6. กรณีชราภาพ
  7. กรณีว่างงาน

 

ประกันสังคมมาตรา 39

 

คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี

 

  1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  2. กรณีคลอดบุตร
  3. กรณีทุพพลภาพ
  4. กรณีตาย
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร
  6. กรณีชราภาพ

หมายเหตุ ยกเว้นกรณีว่างงาน

 

 

สิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 

 

กรณีเจ็บป่วย

  • เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเจ็บป่วย โดยสามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลที่เลือกไว้ ตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการรักษา โดยไม่เสียเงินสักบาท รวมไปถึงการบำบัดไต ปลูกถ่ายอวัยวะ ค่าทำฟัน และเงินทดแทนรายได้ขณะเจ็บป่วย

 

กรณีทุพพลภาพ

  • เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนจะทุพพลภาพ โดยผู้ประกันตนจะได้รับค่าใช้จ่ายตามรายละเอียด ดังนี้

 

  • ค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของผู้ทุพพลภาพ ทั้งร่างกาย และจิตใจ เป็นจำนวนไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย 
  • ค่าอวัยวะเทียม + อุปกรณ์
  • ค่าพาหนะรับ - ส่งผู้ทุพพลภาพ 500 บาทต่อเดือน

 

กรณีเสียชีวิต

  • เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีเสียชีวิต ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 1 เดือนภายใน 6 เดือนก่อนที่จะเสียชีวิต โดยผู้ประกันตนจะได้รับค่าใช้จ่ายตามรายละเอียด ดังนี้

 

  • ค่าทำศพ 4,000 บาท
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต

 

กรณีคลอดบุตร

  • เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 7 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนที่จะคลอด โดยผู้ประกันตนจะได้รับค่าใช้จ่ายตามรายละเอียด ดังนี้

 

  • ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายไม่จำกัดจำนวนครั้ง เบิกได้ 13,000 บาทต่อครั้ง
  • ผู้ประกันตนฝ่ายหญิงจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีกในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
  • ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

 

กรณีชราภาพ

  • เงินสมทบชราภาพของประกันสังคมนั้น ผู้ประกันตนจะได้รับก็ต่อเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนของประกันสังคม โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินชราภาพ ดังนี้

 

  • อายุครบ 55 ปี สมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) ได้บำเหน็จ
  • อายุครบ 55 ปี สมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป (15 ปี) ได้บำนาญ
  • ถ้าค่าจ้างเกินกว่าเดือนละ 15,000 บาท สมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้บำนาญเดือนละ 3,000 บาท หากส่งเกิน 180 เดือน (15 ปี) จะได้เพิ่มปีละ 225 บาท

 

กรณีเงินสงเคราะห์บุตร

  • เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคม กรณีเงินสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบ 12 เดือนภายใน 36 เดือนก่อนมีบุตร โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินสงเคราะห์บุตร คือ บุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร 600 บาทต่อเดือนต่อคน ครั้งละไม่เกิน 3 คน

 

กรณีเป็นคนว่างงาน

  • เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีเป็นคนว่างงาน ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบ 6 เดือนภายใน 15 เดือน ก่อนที่จะว่างงาน โดยเงินคนว่างงาน จะจ่ายให้กับผู้ประกันตนใน 3 กรณี คือ

 

  • กรณีเลิกจ้าง : ได้เงินคนว่างงาน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)
  • กรณีลาออก : ได้เงินคนว่างงาน 30% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน)
  • เหตุสุดวิสัย : ได้เงินคนว่างงาน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)

 

ประกันสังคมมาตรา 40

 

คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี

 

  1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  2. กรณีทุพพลภาพ
  3. กรณีตาย
  4. กรณีสงเคราะห์บุตร
  5. กรณีชราภาพ

 

คุณสมบัติของผู้ประกันตนมาตรา 40

 

  • อายุผู้ประกันตนต้อง 15-60 ปี
  • บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 หรือข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

 

โดยสิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนมาตรา 40 ใช้ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทเงินสมทบที่ส่ง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

 

ส่งเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน 

  • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 30 วัน
  • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
  • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน

 

ส่งเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน 

  • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 30 วัน
  • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
  • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน
  • บำเหน็จชราภาพ 50 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน

 

ส่งเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน 

  • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 90 วัน
  • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต
  • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 40,000 บาท
  • บำเหน็จชราภาพ 150 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน
  • เงินสงเคราะห์บุตร 200 บาทต่อเดือนต่อคน ครั้งละไม่เกิน 2 คน

 

ขั้นตอนการเช็คสิทธิประกันสังคม

 

  • เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th  แล้วกรอกรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่าน หลังจากนั้นคลิกที่ “เข้าสู่ระบบ”
  • หน้าเว็บไซต์ประกันสังคมจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกันตนว่าเป็นผู้ประกันตนมาตราอะไร เลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยผู้ประกันตนสามารถเลือกดูข้อมูลต่าง ๆ ได้เลย

 

ประกันสังคม ปรับลดอัตราเงินสมทบ เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 

 

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งโดยปกติต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม ในอัตรา 5% ของค่าจ้าง แต่ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 จะได้ปรับลดเหลือ 3% ของค่าจ้าง

 

ดังนั้น หากเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 ก็จะส่งเงินสมทบเหลือ 450 บาท/เดือน จากเดิมต้องจ่าย 750 บาท/เดือน ส่วนคนที่มีฐานเงินเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท ก็จะจ่ายลดหลั่นกันลงมา ดังต่อไปนี้

 

เงินสมทบประกันสังคม

ผู้ประกันตนมาตรา 39 ปกติต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาท จะลดเหลือเดือนละ 240 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2565

 

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ปรับลดเงินสมทบไปแล้วในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 หลังจากนั้น ไม่ได้มีการปรับลดอีก ดังนั้น ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 ผู้ประกันตนมาตรา 40 ยังต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราปกติ คือ

 

  • ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
  • ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
  • ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ