ข่าว

ค่าฝุ่น "PM 2.5" วันนี้ พุ่ง 3 เขต กทม. เกินค่ามาตรฐาน เปิด 5 วิธีป้องกัน

ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก "PM 2.5" วันนี้ แนวโน้มพุ่ง พบ 3 เขต กทม. เกินค่ามาตรฐาน สสส. เปิด 5 วิธีป้องกันภัยจาก ฝุ่นพิษ

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประจำวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 20-54 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 3 พื้นที่ คือ 

 

 

  1. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
  2. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
  3. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

 

 

ซึ่ง PM 2.5 ค่ามาตรฐาน เฉลี่ย 24 ชม. นั้นจะต้องมีค่าไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.

 

การป้องกันตัวเองจากหมอกควันและฝุ่นละออง

 

 

  1. ถ้ามองด้วยตาเปล่าจะไม่สามารถแยกระหว่างหมอกและหมอกควันได้ โดยหมอกคือไอน้ำที่กระทบความเย็น แล้วกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ส่วนหมอกควันคือมลพิษทางอากาศ ซึ่งเกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทั้ง PM 2.5 และ PM 10
  2. กลุ่มเสี่ยงต่อหมอกควันได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ และหญิงตั้งครรภ์
  3. ความอันตรายของหมอกควัน ขึ้นกับ ประเภทของหมอกคัน ความเข้มข้น ระยะเวลาที่สัมผัส และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะการมีโรคประจำตัว
  4. PM 10 มีขนาดใหญ่ ทำให้ฝุ่นจะติดอยู่ที่จมูก และปากเท่านั้น ไม่ได้เข้าถึงหลอดลมและปอด ทำให้เสี่ยงต่อโรค ระบบหัวใจและหอลดเลือ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบ
  5. PM 2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกายทางเดินหายใจ เข้าสู่หลอดลมและปอด และเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เสี่ยงต่อ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด มะเร็งปอด โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
  6. การป้องกันอันตรายจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก

 

ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก

 

  • ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก
  • หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น
  • ถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้คือ หน้ากากอนามัย N95
  • งดออกกำลังกายหรือทำงานหนักกลางแจ้ง
  • ไม่สูบบุหรี่
  • กลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการสูดฝุ่นละอองขนาดเล็ก
  • ลดการเผา
  • ลดการใช้รถยนต์ เปลี่ยนมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ
  • การทำความสะอาดบ้านเพื่อลดความเข้มข้นของฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆแทนการใช้ไม้กวาดที่ทำให้ฝุ่น ฟุ้งกระจาย
  • ตรวจสอบและซ่อมบำรุงอุปกรณฺเครื่องยนต์ เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์

 

5 วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5

ด้าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. แนะนำวิธี
ป้องกันภัยฝุ่น PM2.5

 

 

  1. ทำความสะอาดบ้านทุกวัน
  2. ติดตามสถานการณ์เเละสื่อต่าง ๆ
  3. ลดเวลาทำกิจกรรมนอกบ้าน/ใส่หน้ากากอนามัย หรือ N95 ทุกครั้ง
  4. เตรียมยาประจำตัว หากมีอาการผิดปกติ รีบไปพบเเพทย์
  5. ปลูกต้นไม้เพื่อลดฝุ่น