ข่าว

"รมช.พาพิชย์" ชู Smart Craft ปลดล็อคปัญหาการผลิตงานหัตถศิลป์ไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"รมช.พาพิชย์" ชู Smart Craft ปลดล็อคปัญหาการผลิตงานหัตถศิลป์ไทย มอบหมาย sacit นำเทคโนโลยีมาเสริมทัพในยุคดิจิทัล ลดเวลาผลิต เพิ่มปริมาณสินค้า

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับนโยบายการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและกระบวนการผลิตต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยจะปรับตัวนำเอาเทคโนโลยีหรือแนวคิดใหม่มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ผลิต ชุมชน และผู้ประกอบการ สามารถผลิตงาน "ศิลปหัตถกรรมไทย" ให้มีความรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น 

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงพาณิชย์ มอบหมายให้ sacit หรือ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ดำเนินการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ศิลปหัตถกรรมไทย ให้ทันกับกระแสโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาเป็นส่วนช่วยในการผลิต เพื่อลดขั้นตอน ลดต้นทุน และเพิ่มกระบวนการผลิตมากขึ้น 

 นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

ด้านนายภาวี โพธิ์ยี่ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ได้นำ sacit จัดวาง Role Model ในพื้นที่ชุมชนหัตถกรรมต่างๆ จำนวน 8 กลุ่ม เช่น กลุ่มปานซอยบ้านทุ่งกองมู จ.แม่ฮ่องสอน , กลุ่มทอผ้ามัดหมี่โฮลโบราณ จ.สุรินทร์ , กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองหญ้าปล้องพังโคน จ.สกลนคร เป็นต้น โดยเชื่อมโยงเครือข่ายและผู้เชี่ยวชาญการออกแบบ-การผลิต ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ รวมถึงภาคเอกชน เพื่อเข้ามาพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ และกระบวนการผลิต

 

ตัวอย่าง กลุ่มปานซอยบ้านทุ่งกองมู อ.เมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ทำงานศิลปหัตถกรรม "ต้องลาย-ปานซอย" ประดับตกแต่งชายคาและโครงสร้างของหลังคาอาคารตามวัดวาอาราม ศาสนสถานต่างๆ

 

เดิม ใช้เวลาผลิตยาวนาน มีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การร่างแบบลงบนกระดาษ การตอกกระดาษตามลวดลายที่ร่างไว้ นำกระดาษที่ตอกลายมาวางทาบบนแผ่นอลูมิเนียมหรือสังกะสีและลอกลายลงบนแผ่นอลูมิเนียม ตอกจุดไข่ปลาตามเทคนิคการต้องลาย-ปานซอย จากนั้นนำไปติดตั้งประดับตกแต่งตามสถานที่ที่กำหนดไว้

 

แต่กระบวนการผลิต sacit  สามารถตอกขึ้นลายได้ในครั้งเดียว ซึ่งสามารถลดระยะเวลาในการลอกลายซ้ำๆ ให้มีความง่าย จึงทำให้ร่นระยะเวลาในการผลิตให้สั้นลง ผลิตได้มากขึ้น และทันต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบันได้

 

"รมช.พาพิชย์" ชู Smart Craft ปลดล็อคปัญหาการผลิตงานหัตถศิลป์ไทย กระบวนการผลิต sacit งานศิลปหัตถกรรมไทย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ