สภาสหรัฐฯ เปิดข้อมูล "โควิด19" อาจไม่ได้มีต้นตอมาจาก ค้างคาว หรือธรรมชาติ
สภาสหรัฐฯ เปิดข้อมูล "โควิด19" รายงานระบุ อาจไม่ได้มีต้นตอมาจากธรรมชาติ ชี้ไม่พบว่ามีสัตว์เป็นตัวกลางในการระบาด ค้างคาวมีเชื้อจริงแต่แพร่สู่คนไม่ได้
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึกออนไลน์ เกี่ยวกับรายงานต้นกำเนิด "โควิด19" จากข้อมูลของวุฒิสภาสหรัฐอมเริกา ว่า จากการระบาดของ "โควิด19" ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายปี 2019 โดยมีการตรวจพบเชื้อครั้งแรกบริเวณตลาด ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน จากรายงานระบุว่า ต้นตอการระบาดของ "โควิด19" ไม่พบว่ามีสัตว์เป็นตัวกลางในการแพร่เชื้อมาสู่คน
โดยเฉพาะ ค้างคาวมุงกุฏ ที่ถูกระบุว่าเป็นต้นต่อการทำให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ เพราะจากข้อมูลพบว่า ในตัวค้างคาวมีเชื้อไวรัวโควิดก็จริงแต่เป็นเชื้อที่ไม่สามารถแพร่กระจายมาสู่คนได้ โดยปกติแล้วไวรัสที่มีตัวกลางเป็นสัตว์จะต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะสักระยะก่อนจึงสามารถเข้าสู่มนุษย์ได้
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า รายงานจากสภาสหรัฐอเมริการะบุเอาไว้ด้วยว่า อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีการสำรวจค้างคาวบริเวณยูนนาน และประเทศลาว พบไวรัสที่คล้ายกับ "โควิด19" ซึ่งหากโควิดสามารถติดต่อได้ผ่านตัวกลางอย่างเช่นค้างคาวจริง จะส่งผลให้ประชากรพื้นที่นี้ติดเชื้อโควิดตั้งแต่ต้น อย่างเช่นการระบาดของไข้หวัดนกในจีนที่แพร่กระจายไปยังนกในพื้นที่ก่อนแพร่กระจายสู่คน รวมไปถึงการระบาดของ MERS หรือ SARS ที่เกิดการกระจายอย่างเป็นอิสระเข้าในมนุษย์ ทั้งนี้การระบาดของไวรัสทั้ง 3 ชนิด ชี้ให้เห็นว่าการระบาดเกิดจากตัวกลางทั้งสิ้น
สำหรับการระบาดของ "โควิด19" จุดเริ่มต้นการระบาดอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ ตั้งแต่ต้น ซึ่งการระบาดที่เกิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่น นั้นเป็นเชื้อไวรัสที่มีความสมบูรณ์เต็มที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ ข้อมูลระบุเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลจึงแสดงว่าเป็นโควิดที่แพร่จากคนตั้งแต่ต้น และที่พบในจุดที่เกิดแต่แรกใกล้ สถาบันวิจัยไวรัส อู่ฮั่น ( Wuhan institute of virology) ไม่ใช่ที่ตลาดอู่ฮั่น ตามที่มีการกล่าวอ้าง
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาพบว่า EcoHealth Alliance ของสหรัฐได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่น ทำการศึกษาโคโรนาไวรัสที่เกี่ยวโยงกับ SARS ว่าจะมีความสามารถที่จะใช้ตัวรับในมนุษย์ เพื่อเข้าคนได้หรือไม่ ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ชั้นนำที่สถาบันไวรัสอู่ฮั่น และเชี่ยวชาญในไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวกับ SARS ให้สัมภาษณ์ถึงความสำเร็จที่ใช้ไวรัสที่ตบแต่งพันธุกรรม chimeric SARS-related corona viruses ในการติดเชื้อและก่อโรครุนแรงแก่หนูและ ตัว civets ที่ปรับแต่งให้ไวรัสสามารถเข้าสู่ปอด (ACE2receptor) ของมนุษย์ รวมไปถึงยังมีรายงานเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย Biosafety and Biosecurity ที่ สถาบันวิจัยไวรัส อู่ฮั่น ใน ช่วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่ 2018 จนกระทั่งในปี 2019 เกิดเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในระบบการรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ไวรัสตระกูล covid และเป็นระบบเกี่ยวข้องกับการควบคุมอากาศ
ข้อมูลจากสภาสหรัฐระบุเพิ่มเติมว่า ในระหว่างเวลา 02.00-03:00 น. ของวันที่ 12 เดือนกันยายนปี 2019 ทางสถาบันได้ปิดระบบ ออนไลน์ข้อมูลรหัสพันธุกรรมของไวรัส ที่เรียกว่า wildfire-borne viral pathogen database และมีการเปิดใหม่เป็นระยะจากเดือนธันวาคม 2019 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2020 หลังจากนั้นจึงมีการปิดถาวรในเดือนธันวาคม 2020 เป็นที่สังเกตุว่า โดยปกติแล้วข้อมูลเหล่านี้ จะเปิดให้แก่สาธารณะชนโดยมีพาสเวิร์ดที่ชัดเจน แต่จะมีข้อมูลปกปิด ซึ่งเข้าได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของสถาบันโดยจะมีคลังข้อมูลของรหัสพันธุกรรมที่ไม่เปิดเผยของไวรัส
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุป จากวุฒิสภาของสหรัฐคล้ายคลึง Lancet commission ที่ตีพิมพ์ เปิดเผยทั่วไป ก่อนหน้านี้ โดยระบุจุด ที่น่าจะมีต้นตอ หรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาทดลองวิจัยในห้องปฏิบัติการ และ "โควิด19" อาจเป็นผลจากการศึกษาวิจัยร่วมของสหรัฐและ สถาบันไวรัส อู่ฮั่น นอdจากนี้ยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างรุนแรง และแถลงว่า สถาบันสุขภาพแห่งชาติ The National Institutes of Health (NIH) ไม่ร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลรวมกระทั่งเรื่องที่เกี่ยวพันกับสถาบันวิจัยไวรัส อู่ฮั่น
ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7