ข่าว

เช็ค 10 "ธนาคาร" ออก มาตรการ ช่วย "น้ำท่วม" หลังเกิด พายุโซนร้อน โนรู

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รวม มาตรการ ช่วย "น้ำท่วม" จาก 10 ธนาคาร ภายหลังเกิด พายุโซนร้อน "โนรู" ได้รับผลกระทบ เกิด "น้ำท่วม" หลายพื้นที่ เสียหายเป็นจำนวนมาก

ภายหลังที่หลายจังหวัดเผชิญปัญหา "น้ำท่วม" ในหลายพื้นที่ หลังจากที่ พายุ "โนรู" เข้าไทย จนเป็นเหตุให้บ้านเรือน ที่อยู่อาศัยเกิดความเสียหาย และถนนหลายเส้นทางถูก "น้ำท่วม" เดินทางไม่ได้ในหลายจังหวัด รวมไปถึงกระทบกิจการ และ เศรษฐกิจ ไทย ล่าสุด ในหลาย ธนาคาร ได้มีการออกมาตรการ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก "น้ำท่วม" ซึ่งครั้งนี้ ได้รวบรวมหลาย มาตรการ จากหลาย ธนาคาร มาให้แล้ว

 

ธนาคารไทยพาณิชย์ 

 

ออกมาตรการช่วยลูกค้า SMEs ที่อยู่ในพื้นที่ประสบ อุทกภัย จาก พายุโซนร้อนโนรู ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ต.ค. 2565

 

- พักชำระเงินต้น (Grace Period) สูงสุดนาน 6 เดือน

- พักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ไม่เกิน 3 เดือน

- ยกเว้นการเรียกเก็บดอกเบี้ยผิดนัดชำระ (อัตราดอกเบี้ยปกติ) สำหรับการผิดนัดชำระไม่เกิน 30 วัน

- เพิ่มวงเงินหมุนเวียนชั่วคราว สูงสุด 20 %ของวงเงิน Working Capital เดิมและไม่เกิน 10 ล้านบาท

- วงเงินกู้สำหรับปรับปรุง ซ่อมแซม หรือซื้อทดแทนทรัพย์สินของกิจการที่เสียหายสูงสุด 20% ของวงเงินรวมเดิม สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี

 

ในกรณีที่ได้รับผลกระทบจาก "น้ำท่วม" แต่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประสบ อุทกภัย จาก พายุโซนร้อนโนรู ก็สามารถติดต่อไปยังธนาคารเพื่อพิจารณาได้เช่นกัน

 

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (iBank)

 

ออกมาตรการช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธ.ค. 2565

 

- มาตรการพักชำระหนี้เงินต้น ชำระเฉพาะกำไร นานสูงสุด 6 เดือน และยกเว้นค่าชดเชยผิดนัด สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน

- สินเชื่ออุปโภคบริโภคและเชื่อธุรกิจอัตรากำไรพิเศษ ได้แก่ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัย สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อบ้านชายแดนใต้ สินเชื่อ MOU

- สินเชื่อธุรกิจอัตรากำไรพิเศษ ได้แก่ โครงการสินเชื่อ SMEs Back to iBank โครงการสินเชื่อ iBank Small SMEs เป็นต้น

 

ธนาคารออมสิน

 

- มาตรการพักชำระหนี้ ให้ลูกหนี้สามารถพักชำระหนี้เงินต้น เลือกชำระเฉพาะดอกเบี้ย 10%-100% และกรณี Flat Rate ลดการชำระเงินงวด 50% ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด

- มาตรการให้กู้เงินฉุกเฉินผ่านสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ รายละไม่เกิน 50,000 บาท ไม่คิดดอกเบี้ยในปีแรก หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยเพียง 0.85% ต่อเดือน (Flat Rate) ชำระเงินเป็นรายเดือน 3-5 ปี ปลอดชำระเงินงวด 3 เดือนแรก

- สินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ เพื่อซ่อมแซมต่อเติมที่อยู่อาศัยส่วนที่เสียหายได้ถึง 100% ของราคาประเมิน ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 = 3.49% (MRR-2.755%) และปีที่ 4 เป็นต้นไป = 4.99% ต่อปี (MRR-1.250%)

- สินเชื่อบุคคลแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอเนกประสงค์ วงเงินกู้สูงสุดไม่เกินรายละ 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-3 = 3.99% (MRR-2.255%) ปีที่ 2 = 4.99% (MRR-1.255%) ปีที่ 3 เป็นต้นไป = 5.745%

- สินเชื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ วงเงินกู้สูงสุด 10% ของวงเงินกู้เดิมแต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 5 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี อัตราดอกเบี้ยปีแรก 3.50% ปีที่ 2 เป็นต้นไป = MLR (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยธนาคาร MRR = 6.245% และ MLR = 6.150% ต่อปี)

 

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

 

ออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธ.ค. 2565

 

มาตรการลดภาระหนี้เดิม สำหรับลูกค้าสถานะหนี้ปกติ

- การปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน ธนาคารจะพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระหนี้พร้อมกำหนดชำระหนี้ใหม่ตามศักยภาพที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 20 ปี

- จ่ายดอก ตัดต้น เมื่อลูกค้าส่งชำระหนี้ ธนาคารจะแบ่งภาระการตัดชำระหนี้ตามสัดส่วนต้นเงินและดอกเบี้ยของจำนวนเงินที่ลูกค้าส่งชำระ

- ชำระดีมีคืน กรณีลูกค้ามาชำระหนี้ถึงกำหนด จะได้รับการคืนดอกเบี้ย 20% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริงไม่เกิน 2,000 บาทต่อราย เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระทางการเงินแก่ลูกค้า

 

มาตรการลดภาระหนี้เดิม สำหรับลูกค้าที่มีหนี้เป็นภาระหนัก

- จ่ายน้อย ผ่อนคลาย ได้ลดดอกเบี้ย โดยลูกค้าชำระหนี้อย่างน้อย 1% ของต้นเงิน ธนาคารจะพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ พร้อมกำหนดชำระหนี้ตามศักยภาพ แต่ไม่เกิน 20 ปี ในอัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 6.50)

- ทางด่วนลดหนี้ สำหรับลูกค้าที่เป็นหนี้ NPL ณ 31 มี.ค. 2565 เมื่อชำระหนี้เสร็จสิ้นเป็นรายสัญญา ธนาคารจะพิจารณาลดดอกเบี้ยค้างชำระตามสัดส่วน

 

สำหรับลูกค้าที่มีหนี้ NPL ที่มีการโอนเพิ่มในปีบัญชี 2565 และมีสถานะ NPL ณ 31 ส.ค. 2565 เมื่อชำระหนี้เสร็จสิ้นเป็นรายสัญญา ธนาคารจะพิจารณาลดดอกเบี้ยค้างชำระตามสัดส่วน

 

มาตรการเสริมสภาพคล่องเพื่อฟื้นฟูลูกค้า

- โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายจำเป็นฉุกเฉิน เพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกร เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น อัตราดอกเบี้ย 0% 6 เดือนแรก เดือนที่ 7 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR วงเงินรายละไม่เกิน 50,000 บาท

- โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นค่าซ่อมแซมบ้านเรือนและทรัพย์สิน ค่าซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรรอบใหม่ วงเงินรายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR-2

 

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

 

ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติปี 2565 ตั้งแต่วันนี้ถึง ธ.ค. 2565

 

- ลดเงินงวด 50% จากเงินงวดปกติ และลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน

- ให้กู้เพิ่มหรือกู้ใหม่อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี คงที่ 1 ปีแรก

- ประนอมหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน และคิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี 6 เดือน ไม่ต้องชำระเงินงวด

- ประนอมหนี้ไม่เกิน 1 ปี คิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 6 เดือนแรก ผ่อนเงินงวดเพียง 1,000 บาท

- กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรให้ผ่อนชำระดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี

- ที่อยู่อาศัยเสียหายทั้งหลังซ่อมแซมไม่ได้ ให้ปลอดหนี้ในส่วนของอาคาร

- พิจารณาสินไหมเร่งด่วน (Fast Track) สำหรับลูกค้าที่ทำกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย จ่ายตามความเสียหายจริงรวมทุกภัยธรรมชาติสูงสุด 30,000 บาทต่อปี

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

 

ออกมาตรการช่วยลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจรายย่อย ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2565

 

สำหรับลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคล – พักชำระเงินต้น สูงสุดนาน 6 เดือน

 

สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายย่อย

- พักชำระเงินต้น สูงสุดนาน 6 เดือน

- ลดค่างวดผ่อนชำระต่อเดือนสูงสุด 85% และผ่อนชำระได้สูงสุด 12 เดือน

 

สำหรับลูกค้า กรุงศรี ออโต้ ทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อเพื่อคนมีรถ

- พักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย สูงสุดนาน 3 เดือน

- ลดค่างวดและขยายเวลาการผ่อนชำระ

 

นอกจากนี้ ลูกค้าสินเชื่อบ้านและสินเชื่อธุรกิจกรุงศรีที่ถือครองกรมธรรม์ ดังต่อไปนี้ 1) ประกันอัคคีภัยสินเชื่อสำหรับบ้านอยู่อาศัยและธุรกิจ 2) ประกันกรุงศรี โฮม พร้อม และ 3) ประกันทรัพย์สิน อุ่นใจ

 

สามารถติดต่อแจ้งเคลมค่าสินไหมประกันภัยทรัพย์สินกรณีฉุกเฉินจากสถานการณ์ "น้ำท่วม" ได้ที่สายด่วน AAGI 1292 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ธนาคารทหารไทยธนชาต

 

ออกมาตรการช่วยลูกค้าสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อรถยนต์ ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ก.ย. 2566

 

สำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อย

สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อสวัสดิการอเนกประสงค์ แบบไม่มีหลักทรัพย์คำประกัน

- ลดยอดผ่อนชำระเหลือ 70% นาน 3 เดือน หรือ

- ชำระเฉพาะดอกเบี้ย นาน 3 เดือน หรือ

- ชำระขั้นต่ำ 20% ของค่างวดผ่อน นาน 3 เดือน

 

บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด

- บัตรเครดิต ลดดอกเบี้ยเหลือ 12% พร้อมผ่อนชำระยอดค้างได้สูงสุด 84 เดือน

- บัตรกดเงินสด (Flash Card) ลดดอกเบี้ยเหลือ 22% พร้อมผ่อนชำระยอดค้างได้สูงสุด 84 เดือน

 

และสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ธนาคาร มีมาตรการรองรับเพิ่มเติม คือ พักชำระค่างวดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย นาน 3 เดือน

 

สำหรับลูกค้าสินเชื่อรถยนต์ ทีทีบีไดรฟ์

สินเชื่อรถยนต์ใหม่ สินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว สินเชื่อรถแลกเงิน

- พักชำระค่างวดสูงสุด 2 เดือน (รวมงวดค้างชำระหากมี) หรือ

- ลดค่างวด หรือ ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ หรือมาตรการอื่นๆ ตามความเหมาะสม

- กรณีลูกค้าค้างชำระต้องไม่เกิน 60 วัน ณ วันที่ยื่นคำร้องโปรแกรมการให้ความช่วยเหลือ

 

สำหรับสินเชื่อรถแลกเงิน แบบอัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอก (สินเชื่อเล่มแลกเงิน)

- พักชำระค่างวดสูงสุด 2 เดือน

- อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 22% และลดค่างวดผ่อนชำระสูงสุด 70% ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน

- กรณีลูกค้าค้างชำระต้องไม่เกิน 30 วัน ณ วันที่ยื่นคำร้องโปรแกรมการให้ความช่วยเหลือ

 

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

 

ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ใน 25 จังหวัด ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2565

 

- กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs ที่ บสย.ค้ำประกันสินเชื่อที่ถึงกำหนดชำระ (หนังสือค้ำประกันลงวันที่ 6 ต.ค. - 30 พ.ย. 2565) สามารถพักชำระออกไปอีก 6 เดือนนับจากวันถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมเดิม

- สำหรับกลุ่มลูกหนี้ที่ประนอมหนี้กับ บสย.ที่ค้างชำระไม่เกิน 3 งวด (ณ วันที่อนุมัติ) ได้พักชำระค่างวด นานสูงสุด 6 เดือน โดยเริ่มงวดแรกในเดือนที่อนุมัติ แต่ไม่เกินเดือน ธ.ค. 2565

 

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) 

 

ออกมาตรการ 2 เพิ่ม 3 ช่วย สำหรับลูกค้าที่ถูกผลกระทบ "น้ำท่วม"

 

- เพิ่มวงเงินหมุนเวียนชั่วคราว สูงสุด 20% ของวงเงินประเภทหมุนเวียนเดิม ไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยเดิมของลูกค้า

- เพิ่มวงเงินกู้ สูงสุด 2 ล้านบาท เพื่อซื้อหรือซ่อมแซมเครื่องจักรหรืออาคารโรงงานที่ได้รับความเสียหาย อัตราดอกเบี้ย Prime Rate ต่อปี ระยะเวลานาน 3 ปี ปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) สูงสุด 3 เดือน

- ช่วยลดการผ่อนชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยลง สูงสุด 50% เป็นระยะเวลาสูงสุด 1 ปี

- ช่วยคืนเงิน 2% ของดอกเบี้ยจ่ายสะสมในระยะเวลาดังกล่าว โดยพิจารณาลูกค้าแต่ละรายตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด กรณีลูกค้าสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ได้

- ช่วยขยายระยะเวลาต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินเกินเทอมที่ธนาคารคารอนุมัติ สูงสุด 180 วัน

 

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย Prime Rate ปัจจุบันเท่ากับ 5.75% ต่อปี

 

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)

 

ออก มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ธ.ค. 2565

 

- มาตรการพักชำระหนี้ สำหรับเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา ให้สิทธิ์พักชำระเงินต้น สูงสุด 6 เดือน สัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน ต่ออายุโดยไม่ต้องชำระเงินต้น โดยพิจารณาแนวทางช่วยเหลือตามผลกระทบของผู้ประกอบการแต่ละราย

- มาตรการเติมทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการ ผ่านโครงการ "สินเชื่อ SMEs Re-Start" วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5.5% ต่อปี หรือ MLR-1.25% ผ่อนชำระนานสูงสุด 12 ปี พร้อมปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) สูงสุด 24 เดือนแรก

 

เบื้องต้น ธนาคาร กำหนดพื้นที่ช่วยเหลือมาตรการพักชำระหนี้ฯ สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ใน 49 จังหวัด ส่วนมาตรการเติมทุนฯ ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

 

ภาพ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ