ข่าว

สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานประชุมชาวพุทธทั่วโลก ในหัวข้อ ห้วงเวลาวิกฤต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เลขาธิการ พสล. ย้ำ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานการประชุมใหญ่ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ครั้งที่ 30 ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2565

ตามที่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล) (World Fellowship of Buddhist หรือ WFB) ซึ่งเป็นศูนย์รวมชาวพุทธทุกนิกายในโลก ได้จัดประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30 ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) ศาลายา ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2565 นั้น
นายพัลลภ ไทยอารี รองประธานกิตติมศักดิ์ และ เลขาธิการ พสล. ได้กล่าวว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเมตตา เสด็จมาเป็นองค์ประธานการประชุม และประทาน พระสัมโมทนียกถา เปิดประชุมใหญ่ พสล. ซึ่งจะมีกรรมการบริหาร สมาชิกทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประมาณ 370 รูป/คน จาก 40 ประเทศ และจาก 205 ศูนย์ภาคีทั่วโลก ร่วมประชุม ที่ห้องประชุมใหญ่ สุชีพ ปุญญานุภาพ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) 

นอกจากนั้น ยังสมาชิก อีกประมาณ 300 คนที่ไม่สามารถเดินทางมาได้ จึงขอประชุมผ่านโปรแกรม zoom โดยมีหัวข้อหลักในการประชุมหารือคือ Buddhism in the Time of Crisis (พระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาวิกฤตของโลก )

 

 

ในขณะเดียวกัน องค์กรเครือข่าย ของ พสล. คือ องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ( ยพสล) (World Fellowship of Buddhist  Youth หรือ WFBY) และ มหาวิทยาลัยพุทธโลก (World Buddhism University  หรือ WBU) ก็จะประชุมใหญ่ ภายใต้หัวข้อหลักนี้ด้วย
พสล.เป็นองค์กรอิสระ ก่อตั้งที่กรุง โคลอมโบ ศรีลังกา เมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เพื่อเป็นศูนย์รวมชาวพุทธทั่วโลก ซึ่งที่ประชุมตั้งปณิธานว่า จะช่วยกันเผยแผ่ ส่งเสริม สร้างความมั่นคงของพระพุทธศาสนา โดยไม่ให้นิกาย หรือลัทธิธรรมเนียมใดๆ มาเป็นอุปสรรคขวางกั้น
นับแต่นั้นมาจึงเห็นการขยายตัวของพุธศาสนา จากปีที่ก่อตั้ง หรือ 72 ปีที่แล้ว ทีมีเพียง 29 ประเทศและภูมิภาค มาเป็น 40 ประเทศและ 205 ศูนย์ภาคี ในปัจจุบัน
ผู้ริเริมก่อตั้ง พสล. ได้แก่ ดร.ยี. พี. มาลาลาเสเกรา ปราชญ์ชาวศรีลังกา อู จันทูน ผู้นำสำคัญในการส่งเสริมพุทธ แห่งเมียนม่าร์

ส่วนผู้แทนไทยคือ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล นักประวัติศาสตร์ และวิชาการพุทธศาสนา ดร.สุกิจ นิมมานเหมินทร์ เอกอัครทูตไทย ณ ดรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย และ พระศรีวิสุทธิญาณกวี (สุชีพ ปุญญานุภาพ) พระภิกษุที่รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ชาวพุทธ

ส่วนประธาน พสล. ที่มีมาแล้ว คือ ยี.พี. มาลาลาเสเกรา ชาวศรีลังกา , อู จัน ทูน ชาวเมียนมาร์ , มจ.พูนพิศมัย ดิศกุล ชาวไทย , อาจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ชาวไทย และ ปัจจุบัน คือคุณ แผน วรรณเมธี ชาวไทย โดยมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ถาวร พสล. อยู่เลขที่ 616 อุทยานเบญจสิริ ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมานคร  10110

 

วัตถุประสงค์ ขององค์การ พสล.
1. ส่งเสริมมวลสมาชิก ให้รักษาศีล ปฏิบัติธรรม ตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด
2.  เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่น และภราดรภาพในบรรดาชาวพุทธด้วยกัน
3. เผยแผ่หลักธรรมอันบริสุทธิ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
4. ก่อตั้ง และดำเนินกิจกรรม เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม และมรุษยธรรม
5. ดำเนินงานเพื่อสร้างสันติภาพ ความผาสุก ความสามัคคีในมวลมนุษย์ จะร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ที่มีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน และจะไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ในรูปแบบใดทั้งสิ้น

สมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นองค์ประธานการประชุมในหัวข้อ Buddhism in the Time of Crisis องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกจัดประชุมใหญ่ครั้งที่ 30 พัลลภ ไทยอารี รองประธานกิตติมศักดิ์ และเลขาธิการ พสล.

ต่อมา พสล.ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม( The WFB Humanitarian Relief Fund) เพื่อช่วยเหลือชาวโลกในกรณีเกิดภัยพิบัติ ต่าง ๆ ซึ่งได้เข้าไปช่วยเหลือในหลายประเทศ ในหลายกรณี เช่นกรณีคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ส่งผลกระทบ หลายประเทศ เช่นไทย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย หรือ แผ่นดินไหว ในอินโดนีเซีย จีนแผ่นดินใหญ่ จีนไต้หวัน เนปาล และญี่ปุ่น

 


ล่าสุด ในปีนี้ ได้มอบเงินหนึ่งล้านบาท ช่วยเหลือ ชาวศรีลังกา ที่ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจ ผ่านสภากาชาดไทย และการที่ พสล. ปฏิบัติงานมาอย่างราบรื่น เพราะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาชิกทั่วโลก และจาการอุปถัมภ์จากสถาบันต่างๆ ของไทยนับตั้งแต่ สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่องค์พระประมุขทรงรับเป็นองค์เอกบรมราชูปถัมภก อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาทึ่สุดมิได้
สถาบันพระศาสนา ที่สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระเมตตารับเป็นองค์อุปถัมภ์ และองค์ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และรัฐบาลไทย ได้ให้การสนับสนุนทางด้านงบประมาณ ผ่านกรมการศาสนา เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงาน และกิจกรรมต่างๆ ตลอด เวลาที่ตั้งสำนักงานถาวร พสล. ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2512 จนสมาชิกทั่วโลก ให้เกียรติยกย่องว่า "ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก"

ติดตามรายละเอียดโซเชียลเพิ่มเติม คลิ๊ก facebook com/komchadluek

ติดตามคลิปทางYOUTUBE คลิ๊ก KOMCHADLUEK

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ