ข่าว

"วสท." รุดตรวจอาคาร พบเอียงจริง หวั่นเกิดอันตราย หาทางเร่งแก้ไข

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"วสท." รุดตรวจอาคาร พบเอียงจริง หวั่นเกิดอันตราย จี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขโดยด่วน ขณะที่ชาวบ้านร้องเรียนเพิ่มเติม น้ำท่วมขัง น้ำผุดขึ้นจากท่อเอง บริเวณด้านหลังบ้าน

จากกรณีผู้โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงประเด็น อาคารพาณิชย์ หรือ ตึกแถว ที่สร้างติดกันหลายหลัง มีลักษณะเอียงเอน หวั่นเกิดเหตุไม่คาดฝัน 

 

วันนี้ 23 ส.ค. เจ้าหน้าที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท. พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่โยธา เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพระโขนง เข้าตรวจสอบอาคารบริเวณปากซอยสุขุมวิท 101/1 จำนวน 14 หลัง 

 

โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการใช้กระป๋อง วางบนพื้น เพื่อทดสอบว่าพื้นอาคารเอียงหรือไม่ ปรากฏว่า กระป๋องกลิ้งไปทิศทางที่ตัวอาคารเอียงไปด้านหลัง

 นายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

นายธเนศ วีระศิริ นายก วสท. เปิดเผยว่า วันนี้เข้าตรวจสอบด้วยตา ดูด้วยภาพถ่าย และการเดิน พบว่า ตัวอาคารมีควรเอียงไปด้านหลังจริง แต่หากถามว่า เอียงเท่าไหร จะต้องใช้เครื่องมือวัดระดับ โดยปกติแล้ว อาคารจะต้องมีแนวตั้งตรง หากเอียงต้องเกิดจากการก่อสร้างแนวศิลปะ ซึ่งเห็นแล้วว่า เสถียรภาพของตัวอาคารไม่ดี ในแง่วิศวกรรมก็บอกได้ว่าไม่ปลอดภัย ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของอาคารต้องการแก้ไขอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามจะต้องสำรวจ ตรวจสอบเชิงลึกอีกครั้ง

นอกจากนี้มีข้อมูลว่า เมื่อ 3-4ปีที่แล้ว มีเจ้าหน้าที่วิศวกรรมสถาน เคยเข้ามาตรวจสอบแล้ว แนะนำให้เจ้าของหมั่นตรวจสอบ จะได้ทราบความคืบหน้าว่ายังมีทรุดตัวเพิ่มมากน้อยแค่ไหน และจุดไหนที่สุดมากที่สุด เพื่อดำเนินการแก้ไขตรงจุด เช่น การเสริมเสาเข็ม การยกตัวอาคาร

 

สำหรับทางกรุงเทพมหานคร ที่เมื่อทราบข่าวก็ได้เข้ามาดูแลแล้ว แต่วันนี้พบชาวบ้านน้องเรียนปัญหาเรื่อง น้ำท่วม  น้ำผุดขึ้นจากท่อ ซึ่งต้องตรวจสอบว่ามาจากที่ใด และทำให้ดินชุ่มจนเกิดการทรุดตัวของอาคารหรือไม่ ซึ่งอาคารเอียงนั้นมักจะได้ยินว่าไม่เกิดการร้าว เป็นเพราะเอียงไปด้วยกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีรอยแตก อาจจะมีบางส่วนที่เกิดรอยร้าว แต่เราไม่เห็น ดังนั้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งสำรวจและแก้ไข เพราะเมื่อใดที่เอียงแล้วฐานใดฐานหนึ่งหลุดจากหัวเข็ม ไปวางบนดิน จะทำให้อาคารจม แบบสไลด์เลย เกิดเหตุได้

 

ทั้งนี้ ปกติอาคารทรุดมี 2 แบบ คือ การทรุดตัวไม่เท่ากัน ที่จะมีรอยร้าวแตกเฉียบที่ผนัง และการทรุดตัวแบบเอียงที่ไม่มีรอยร้าว

 

นายธเนศ กล่าวด้วยว่า จากการพูดคุยกับเจ้าของอาคารแต่ละหลัง ก็บอกว่าอยู่อาศัยได้ แต่ขอให้งดสิ่งที่เพิ่มน้ำหนักเข้าตัวอาคารเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัย อาคารจะมีอายุการใช้งานมากน้อยแค่ไหน อยู่ที่การบำรุงรักษา

ชาวบ้านอาศัยอาคารหน้าปากซอยสุขุมวิท 101/1 นายสุรสิทธิ์ เฉลิมเจริญรัตน ลูกชาย 1 ในเจ้าของบ้านอาคาร เล่าว่า 3-4 ปีหลังมานี้ สังเกตุเห็นว่าบ้านเกิดปัญหา เอียงเอนอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่ที่มีการก่อสร้างโครงขนาดใหญ่ด้านหลังจากอาคาร เวลาฝนตก น้ำท่วมขังในบ้าน โดยเฉพาะด้านหลัง หรือ จุดที่เอียงลงไป รวมถึงถนนบริเวณนี้ด้วย ซึ่งได้ทำหนังสือเมื่อปี 2563 ก่อนจะยื่น 4 หน่วย คือ สำนักงานเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(EIA) ซึ่งปัญหานี้ไม่ใช่การท่วมแบบไหลจากถนนเข้าอาคาร แต่น้ำผุดขึ้นจากตัวอาคาร เนื่องจากใช้บ่อพักน้ำร่วมกับกับโครงขนาดใหญ่ จากนั้นได้รับการตอบกลับจาก EIA ว่า ต้องให้ กทม.ดำเนินแก้ไข แต่จนถึงขณะนี้ไม่มีการแก้ไขแต่อย่างใด

ทดสอบอาคารเอียง ด้านหลังตัวอาคาร ด้านหน้าอาคาร

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ