
เช็กลิสต์ 10 นิสัย ปล่อยไว้นานมะเร็งมาแน่ หมอมาเตือนเอง
อย่าชะล่าใจ! เช็กลิสต์ 10 นิสัย ปล่อยไว้นานมะเร็งมาแน่ หมอมาเตือนเองต้นตอสาเหตุมะเร็งกระเพาะอาหาร หลายคนทำจนเคยชิน
หมอเจด หรือ นายแพทย์ เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้ออกมาแชร์เรื่องราวเตือนภัยสุขภาพผ่านเฟซบุ๊กเพจ "หมอเจด" 10 สาเหตุแผลในกระเพาะอาหาร ปล่อยไว้นานมะเร็งมาแน่
มีคนถามบ่อยมากว่า “แผลในกระเพาะนี่มันเป็นเพราะเครียดใช่มั้ย?” หรือ “กินเผ็ดมาก ๆ แล้วเป็นใช่เปล่า?” เอาจริง ๆ ก็มีส่วน แต่ไม่ใช่แค่นั้นครับ มันมีหลายสาเหตุเลย ที่เราอาจไม่เคยคิดว่าเกี่ยวพอเป็นแล้วถึงกับต้องส่องกล้องเลยนะ แถมปล่อยไว้นานยังเสี่ยงมะเร็งกระเพราะอาหาร เดี่ยววันนี้เล่าให้ฟังนะครับ ว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยงบ้าง
1. เชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori)
ตัวนี้ก็เป็นสาเหตุหลักๆ เลย มันเป็นเชื้อที่อยู่ในกระเพาะได้โดยไม่ตาย เพราะมันสร้างสารที่ทำให้กรดในกระเพาะลดฤทธิ์ลง จนมันอยู่ยาว และทำลายเยื่อบุกระเพาะไปเรื่อย ๆ ใครที่ติดเชื้อตัวนี้นาน ๆ มีโอกาสเป็นแผลเรื้อรังหรือมะเร็งกระเพาะอาหารได้เลยปัจจุบันมันเราก็เข้าถึงการตรวจเช้าตัวนี้ได้ง่ายขึ้นนะ เพราะมันมีชุดตรวจอุจจาระ ที่สามารถตรวจเองได้ที่บ้านด้วย ถ้าตรวจไว้ก็ลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพราะอาหารได้นะครับ
2. กินยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน
หลายคนชอบสมุนไพร หรือ “ยาทางเลือก” แต่ที่เจอบ่อยคือไม่รู้ส่วนผสมแน่ชัด บางอย่างมีสเตียรอยด์ผสมแบบไม่บอก อันนี้ระคายกระเพาะได้มากกว่าที่คิด บางคนกินเป็นปีไม่รู้ตัวว่าแผลในกระเพาะก็มาจากยาพวกนี้ได้นะ
3. ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาชุด ยาหลากสี
เคยเห็นยาที่แพ็คเป็นถุงเล็ก ๆ หลายสีไหมครับ? บางคนเรียกว่า “ยาชุด” ซึ่งรวมยาหลายอย่างไว้ด้วยกัน กินแล้วอาจสบายตอนแรก แต่มีโอกาสระคายเยื่อบุกระเพาะอย่างแรง โดยเฉพาะพวกยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดที่แถมมาด้วย
4. ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs
อย่าง Voltaren, Fenac, Brufen กินบ่อย ๆ หรือกินตอนท้องว่าง บอกเลยว่ามีโอกาสเป็นแผลสูงมาก เพราะยากลุ่มนี้ไปลดการสร้างเยื่อเมือกเคลือบกระเพาะ ทำให้กรดกัดได้ง่ายขึ้น
5. แอสไพรินตอนท้องว่าง
แม้จะเป็นยาละลายลิ่มเลือดที่หลายคนใช้ (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ) แต่ถ้ากินผิดเวลา โดยเฉพาะตอนท้องว่าง ก็อาจเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดแผลในกระเพาะได้ง่ายมาก
6. บุหรี่ ทั้งสูบเองและอยู่ใกล้คนสูบ
สารนิโคตินในบุหรี่ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงกระเพาะอาหาร ทำให้กระบวนการซ่อมแซมเยื่อบุกระเพาะช้าลง อีกทั้งยังไปกระตุ้นการหลั่งกรดมากขึ้นด้วย แม้แต่การสูดดมควันบุหรี่จากคนรอบข้าง (secondhand smoke) ก็มีผลคล้ายกัน โดยเฉพาะในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมอยู่แล้ว เช่น เครียด พักผ่อนน้อย หรือกินยาบางชนิด
7. แอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะในปริมาณมาก จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอักเสบได้ และกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดแผลโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นเลี่ยงได้เลี่ยงนะครับ
8. มะเร็งกระเพาะอาหาร
ถึงพบได้น้อยกว่า แต่ในบางกรณี แผลในกระเพาะอาจเป็นหนึ่งในอาการเบื้องต้นของ “มะเร็งกระเพาะอาหาร” ได้โดยเฉพาะในคนที่อายุเกิน 40 ปี มีอาการปวดท้องเรื้อรัง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (EGD) จะช่วยวินิจฉัยและแยกแผลธรรมดาออกจากแผลที่เกิดจากเนื้องอกได้ครับ
9. ความเครียด
ถึง “ความเครียด” จะไม่ได้ทำให้เกิดแผลทันทีทันใดแบบแบคทีเรียหรือยา แต่ก็เป็นตัวเสริมที่สำคัญ เพราะความเครียดไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หลั่งกรดมากขึ้น และลดการผลิตเยื่อเมือกเคลือบกระเพาะลง ทั้งจากเครียดจากงาน จากชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่การอดนอนเรื้อรัง ล้วนส่งผลทางอ้อมต่อสุขภาพกระเพาะอย่างชัดเจน
10. อาหารรสจัด
กินเผ็ดแบบไฟลุก เปรี้ยวจนสะดุ้ง หรือแม้แต่อาหารหมักดองบางอย่าง ถ้ากินบ่อยมากไปก็มีโอกาสระคายเยื่อบุกระเพาะจนเกิดแผลได้เช่นกันเพิ่มอีกอนย่างนะครับ กรณีเคยฉายแสงบริเวณช่องท้อง เช่น รักษามะเร็ง อาจทำให้เนื้อเยื่อในกระเพาะอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเกิดแผลตามมาได้ และอีกอย่างที่ควรรู้ Intermittent Fasting (IF) ไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงของแผลในกระเพาะอาหารครับถ้าทำถูกวิธีและไม่ได้มีโรคประจำตัวมาก่อน กระเพาะก็สามารถปรับตัวได้ดี
ฝากเรื่องแผลในกระเพาะอาหารด้วยนะ ถึงปัจจุบันเรามียารักษาแผลในกระเพาะอาหารที่ได้ผลดีแต่ “การป้องกัน” และ “ลดปัจจัยเสี่ยง” จะช่วยให้ไม่ต้องไปถึงขั้นรักษาเพราะมันเป็นโรคที่เรื้อรัง ต้องใช้เวลาในการรักษา