ข่าว

อุกาฟ้าเหลือง สัญญาณเตือน พายุ ฝนฟ้าคะนอง พายุถล่มจริงหรือ?

อุกาฟ้าเหลือง สัญญาณเตือน พายุ ฝนฟ้าคะนอง พายุถล่มจริงหรือ?

26 ส.ค. 2567

ไขข้อสงสัย "อุกาฟ้าเหลือง" สัญญาณเตือน พายุ ฝนฟ้าคะนองครั้งใหญ่ พายุถล่มจริงหรือ? นักวิทย์ตอบชัดมีสาเหตุมาจากอะไร?

25 ส.ค. 2567 จากกรณีเฟซบุ๊กเพจ World Forum ข่าวสารต่างประเทศ โพสต์เรื่องราว เหตุการณ์ท้องฟ้าเป็นสีแดงฉาน โดยรายละเอียดบอกว่า “ผู้ใช้สื่อโซเซียลมีเดีย รัฐปีนัง ฝั่งตะวันตก ในประเทศมาเลเซีย  โพสต์ถึงพบท้องฟ้าสีแดงช่วงเย็น เวลา 18.00 - 19.00 น. ของวันที่ 23 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา และมีผู้ใช้สื่อโซเชียลหลายราย ต่างโพสต์พบท้องฟ้าลักษณะเดียวกัน”

 

หลังเรื่องราวดังกล่าวถูกโพสต์ออกไป ชาวเน็ตแห่แสดงความเห็นระบุว่า จะมีพายุหรือเปล่าครับ เคยได้ยินพี่ที่อยู่นครศรีธรรมราช พูดว่าก่อนจะเกิดพายุ ทะเลจะนิ่งสงบท้องฟ้าจะเป็นสีแดงฉานครับ,เราจำได้ ตอนก่อนเกิดสึนามิที่ภูเก็ต ท้องฟ้าแดงแบบนี้เลยค่ะ,ท้องฟ้าสีแดง จะเกิดพายุฝนโถมกระหน่ำอย่างรุนแรง แต่นี่แดงมากจนน่ากลัว เตรียมตัวรับมือเลยค่ะ,บางคนบอกว่าเป็น อุกาฟ้าเหลือง

 

อุกาฟ้าเหลือง สัญญาณเตือน พายุ ฝนฟ้าคะนอง พายุถล่มจริงหรือ?

อุกาฟ้าเหลือง สัญญาณเตือน พายุ ฝนฟ้าคะนอง พายุถล่มจริงหรือ?

อุกาฟ้าเหลือง สัญญาณเตือน พายุ ฝนฟ้าคะนอง พายุถล่มจริงหรือ?

อุกาฟ้าเหลือง คืออะไร

  • อุกาฟ้าเหลือง ตามความเชื่อของคนโบราณเชื่อกันว่า เป็นลางบอกเหตุกำลังจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • ในทางวิทยาศาสตร์ คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดเมื่อมีพายุฝนฟ้าคะนอง มีพายุเกิดขึ้น

 

 

อุกาฟ้าเหลือง สัญญาณเตือนพายุ ฝนตกหนัก?

ข้อมูลจาก (สป.อว.) ระบุว่า อุกาฟ้าเหลือง ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการกระเจิงของแสง ซึ่งเราพบเห็นได้ทุกวันอยู่แล้ว คือสีของท้องฟ้าช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกที่ทำให้เราเห็นเป็นสีส้ม เนื่องจากช่วงสีเหลืองจนไปถึงแสงสีแดงที่ดวงอาทิตย์ส่งมามีความยาวคลื่นมากกว่า จึงกระเจิงแสงได้น้อยในช่วงเวลาเช้าและตอนเย็น จึงทำให้เรามองเห็นท้องฟ้าเป็นสีแดงหรือสีส้ม

 

ดังนั้น เมื่อกำลังจะเกิดฝนฟ้าคะนองหรือพายุ ทำให้มีความชื้นในอากาศสูง ไอน้ำปริมาณมหาศาลถูกพัดพามาตามสายลม เมื่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านจึงเกิดการกระเจิงของแสงมากเป็นพิเศษ เราจึงมองเห็นท้องฟ้าก่อนจะมีพายุเป็นสีแดงหรือสีส้มมากกว่าปกตินั่นเองครับ

ที่มา :  World Forum ข่าวสารต่างประเทศ,สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม