คอลัมนิสต์

"โรม ก้าวไกล" หาญท้า"ตุลาการ" เป้าหมายคือเลิก112และปฏิรูปสถาบัน 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โรม ก้าวไกล" หาญท้า"ตุลาการ" เป้าหมายคือเลิก112 และปฏิรูปสถาบัน  คอลัมน์...  วิเคราะห์การเมืองร้อน 

 
“ผมจะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและร่วมกันลงมติว่าจะเชิญให้ประธานศาลฎีกาเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกรณีดังกล่าวหรือไม เบื้องต้นได้มีการพูดคุยกับ กมธ. หลายคน ส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือเห็นด้วยที่จะเชิญประธานศาลฎีกาเข้าร่วมการประชุม และชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ศาลฎีกาได้ชี้แจงการทำงานให้พี่น้องประชาชนได้เข้าใจว่าเหตุใดจึงไม่อนุญาตให้ประกันตัวแกนนำคณะราษฎร” 


 

นี่คือคำให้สัมภาษณ์ของ รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล  
รังสิมันต์ โรม อ้างว่าจะเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของกรรมาธิการกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎร ที่มี "สิระ เจนจาคะ" ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธาน 


สิระกับโรม อยู่กันคนละขั้ว เพราะว่าโรม พยายามอย่างยิ่งในการยกเลิกหรือแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 และการปฏิรูปสถาบัน 
ขณะที่ สิระ ซึ่งอยู่ฝ่ายรัฐบาลนั้น ออกมาต่อต้านการแก้ไข มาตรา112 และเป็นกลุ่มคนรักสถาบัน  
 

“เป็นการแถลงข่าวส่วนบุคคล เพราะคณะกรรมาธิการยังไม่มีมติให้แถลง และการเชิญประธานศาลฎีกา ก็ยังไม่เห็นหนังสือ ต้องรอดูก่อนว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ขัดระเบียบข้อบังคับสภาหรือไม่ โดยการแถลงข่าวเมื่อวานนี้(31 มี.ค.2564) ถือเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ในฐานะโฆษกกรรมาธิการ ตนไม่เข้าใจว่าใช้เหตุผลใดในการเชิญประธานศาลฎีกามา เพราะตามหลักการต้องมีผู้ร้องเข้ามาก่อน ส่วนที่หยิบยกประเด็นมาจากโซเชียลถือว่าไม่มีผล และการที่นายรังสิมันต์ อ้างว่าไม่มีใครคัดค้านนั้น ก็ต้องขอดูหนังสือ ถ้าประชุมกันแล้วไม่ขัดข้อบังคับก็จะดำเนินการตามที่ร้องมา” สิระ ตอบโต้ทันควัน 
 

ความจริงสาธุชนย่อมทราบเจตนาของ "รังสิมันต์ โรม" และพรรคก้าวไกลว่า มีความมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่เป็น พรรคอนาคตใหม่ ซึ่งตอนหลังแปลงร่างไปเป็น คณะก้าวหน้าและพรรคก้าวไกล แต่แนวความคิดยังไม่เปลี่ยนแปลง 
 

ในวันที่ "รังสิมันต์ โรม" แต่งงานมี "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" เป็นประธานการแต่ง ในงานเต็มไปด้วยกลุ่มคนชู 3 นิ้ว  


การที่ "รังสิมันต์ โรม" พุ่งเป้าไปที่ประธานศาลฎีกานั้น ย่อมชี้ให้เห็นว่า มีเป้าหมายเพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือ และด้อยค่าการทำหน้าที่ของตุลาการ ซึ่งโรมและใครก็ทราบดีว่า การพิพากษาอรรถคดีของตุลาการนั้นอยู่ภายในพระปรมาภิไธย 


ดังนั้นจึงมองเป็นอื่นไปไม่ได้นอกเสียจาก โรมและคณะ ต้องการที่จะพังทลายองค์กรตุลาการ ซึ่งเป็นกำแพงสุดท้าย ก่อนจะถึงตัวสถาบันพระมหากษัตริย์  


ไม่ใช่ "โรม" ไม่ทราบ ไม่ใช่พรรคก้าวไกลไม่ทราบว่า กรณีของกรรมาธิการฯไม่สามารถเชิญตุลาการมาชี้แจงได้เพราะ ไม่อาจละเมิดและก้าวก่ายได้ เนื่องจากองค์กรตุลาการนั้นพิเศษกว่า บริหาร และนิติบัญญัติ แต่โรมก็ทำ ทำเพื่อให้บรรดาม็อบ 3 นิ้วได้ใจ 
 

อย่าลืมว่าก่อนหน้านี้ บรรดาม็อบ 3 นิ้ว ได้ไปชุมนุมหน้าศาลอาญาเพื่อแสดงเชิงสัญญลักษณ์ ได้ไปชุมนุมหน้าศาลฎีกาสนามหลวงเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์กดดันตุลาการมาแล้ว 
 

ประกอบกับได้กำลังหนุนจากกลุ่มนักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการกดดันศาลเพื่อให้ปล่อยตัวจำเลยคดี112  


ล่าสุดกลุ่มคนเดือนตุลาเก่า อาทิ จาตุรนต์ ฉายแสง , นพ.พรหมมินทร์ เลิศสิริเดช , สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ฯลฯได้ตั้งกลุ่ม OctDem  ขึ้นมาเพื่อกดดันศาลให้ประกัรตัวจำเลย112 


เหตุการณ์ครั้งนี้ หากไม่สามารถทัดทานได้ องค์กรตุลาการจะกลายเป็นเหยื่อทางการเมืองให้กลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทำสำเร็จ. 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ