คอลัมนิสต์

โลกล้อมพม่า "เอ็นแอลดี"  รุก ตั้งรัฐบาลคู่ขนาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กองทัพเมียนมาใช้ไม้แข็งปราบม็อบ พรรคเอ็นแอลดี เปิดเกมรุกของนานาชาติหนุนตั้ง "รัฐบาล" คู่ขนานสภาบริหารภาครัฐ


++
การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย คัดค้านรัฐบาลทหารเมียนมา นับวันจะมีความรุนแรงขึ้น เมื่อกองทัพและตำรวจ อ้างว่า ต้องจัดการกับพวกผู้ประท้วงก่อจลาจลอย่างเด็ดขาด และเรียกกลุ่มผู้ชุมนุมว่า “ม็อบอนาธิปไตย”

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง...  "มินอ่องหล่าย" หลังพิงมังกร สู้ม็อบสามนิ้ว

 

เหตุการณ์การชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ก.พ.2564 สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 คน และบาดเจ็บกว่า 30 คน แต่สื่อออนไลน์ในเมียนมาหลายสำนักบอกว่า มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 24 คน 
    

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ เรียกร้องให้สมาชิกดำเนินการมากกว่าที่เป็นอยู่ และส่งสารอย่างชัดเจนถึงกองทัพว่า พวกเขาต้องเคารพเจตนารมณ์ของประชาชนชาวเมียนมาที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้ง และหยุดปราบปรามผู้ประท้วง
    

ล่าสุด (วันที่ 1 มี.ค.2564) สภาภาคบริหารแห่งรัฐ หรือรัฐบาลทหารเมียนมา ได้แจ้งเพิ่มข้อหายุยงปลุกปั่น ให้ประชาชนกระด้างกระเดื่องแก่อองซาน ซูจี อดีตที่ปรึกษาแห่งรัฐ และวิน มิน อดีตประธานาธิบดี 

 


++
รัฐบาลเอ็นแอลดี
++
หลังกองทัพเมียนมา ยึดอำนาจรัฐบาลอองซาน ซูจี ที่มาจากการเลือกตั้งได้เพียง 5 วัน  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) 15 คน ได้จัดตั้งคณะกรรมการตัวแทนสภาแห่งสหภาพ (Committee Representing Pyidaungsu Hluttaw: CRPH) ต่อมา มี ส.ส.พรรคประชาธิปไตยรัฐคะยา (KSDP) 1 คน และพรรคแห่งชาติตะอาง (TNP) 1 คนเข้าร่วมด้วย
    

เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2564 คณะกรรมการตัวแทนสภาแห่งสหภาพ (CRPH) ได้แต่งตั้ง ดร.ซา ซ่า เป็นตัวแทนในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยกิจการสหประชาชาติ และ ถิ่น ลิน อ่อง เป็นตัวแทนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในฐานะตัวแทนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 
    

ดร.ซา ซ่า ผู้แทน CRPH ในฐานะตัวแทนในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยกิจการสหประชาชาติ ให้สัมภาษณ์ทางวิดีโอกับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ส แจกแจงแผนการของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ที่จะจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้นมาต่อสู้ระบอบเผด็จการทหาร และเตรียมขอสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหประชาชาติ ให้การรับรอง 
    

 

พร้อมกันนั้น ดร.ซา ซ่า ยังได้กล่าวตำหนิประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนว่า ไม่ยืนหยัดร่วมกับประชาชนชาวเมียนมา หลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยและรัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซีย ได้มีการพบปะกับ วุ่นนะ หม่อง ลฺวิน รัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร 
    

ถ้อยแถลงของ ดร.ซา ซ่า บ่งบอกความพยายามของพรรคเอ็นแอลดี ที่หวังจะสถาปนาโครงสร้างอำนาจใหม่ขึ้นมาแข่งขันกับคณะผู้นำทหารของ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เพื่อช่วงชิงการยอมรับจากนานาชาติ แต่ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย 
    

เนื่องจากกองทัพเมียนมา ยังมีมหาอำนาจอย่างจีน และรัสเซีย รวมถึงเพื่อนบ้านบางประเทศก็เริ่มที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งบ่งชี้ว่าทิศทางการทูตกำลังเปลี่ยนไปเข้าทางฝ่ายทหารมากขึ้น
 

 

++
ซาซ่าคือใคร?
++
บล็อกเกอร์ “บก.เงาลาย” ได้อธิบายเรื่องราวของ “ดร.ซา ซ่า” ชาวชิน จากหมู่บ้านไลลินปี่ ชุมชนที่โดดเดี่ยวใกล้ชายแดนอินเดีย  เขตเมืองมะตูปี่ แขวงมีนตั๊ด ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐชิน หลังจากเรียนจบจากมหาวิทยาลัยการแพทย์ในเมืองเยเรวาน ประเทศอาร์เมเนีย ดร.ซา ซ่า ได้ก่อตั้งมูลนิธิ Health and Hope Foundation เพื่อดำเนินกิจกรรมการพัฒนาในรัฐชิน ฝึกชาวบ้านให้เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชน 
    

ระหว่างเลือกตั้ง 8 พ.ย.2563 ดร.ซา ซ่า มีบทบาทเป็นผู้นำในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคเอ็นแอลดี ในรัฐชิน 
    

ส่วนถิ่น ลิน อ่อง อาศัยอยู่ในรัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวของนักศึกษาเมียนมา ในปี ค.ศ.1996 และ ค.ศ.1998 และการปฏิวัติผ้าเหลืองปี ค.ศ.2007 เขายังเป็นนักโทษการเมือง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ