คอลัมนิสต์

บาดแผลบนความแตกแยกการเมือง "Hate Crimes"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่ายทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บปมปัญหาที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายทะเลาะวิวาทกันมาจากสาเหตุความแตกต่างทางทัศนคติด้านการเมือง จนถูกมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะกลายเป็น"อาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง"หรือ "Hate Crimes" หรือไม่

ร้อยตำรวจเอก จอมเดช ตรีเมฆ จากคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต  บอกว่า ปัญหาอาชญากรรมที่มีผลมาจากความเกลียดชัง หรือที่เรียกว่า “Hate Crimes” หากเปรียบเทียบภาพให้เห็นกันชัดๆ ก็คือ การก่อเหตุทะเลาะวิวาทของกลุ่มนักเรียนอาชีวะ ซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากความขัดแย้งกันส่วนตัว แต่มาจาก “อคติ” เช่น การเรียนต่างสถาบัน ใส่เสื้อผ้าสีแตกต่างกัน จนกลายเป็นการปลูกฝังแนวคิดอคติจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง 

แน่นอนว่า ประเทศไทย ไม่ใช่ประเทศที่มีความแตกต่างของเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ คดีที่เกี่ยวกับ “Hate Crimes” จึงอาจจะเกิดมาจากทัศนคติที่แตกต่างกัน ซึ่งรวบไปถึงเรื่องของความเชื่อทางการเมือง ชนชั้น หรือสถานะทางสังคม โดยเฉพาะในช่วงที่ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศมีความร้อนแรง ทำให้อาจจะเกิดปัญหาอาชญากรรมการทะเลาะวิวาท หรือ การด่าทอกันผ่านโลกออนไลน์จนกลายเป็นคดีความที่เกิดมาจาก “อคติ” ที่นำไปสู่ความเกลียดชังทางการเมืองได้ 

ยังพบข้อมูลอีกว่า สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ FBI มีการเปิดเผยถึงอัตราการเกิด “Hate Crime” ในสหรัฐฯในรอบปีที่ผ่านมา มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.7 เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา โดยมีรายงานของ FBI ระบุว่า ปี 2019 ได้เกิดคดีที่เกี่ยวข้องกับ “Hate Crime” จำนวนกว่า 7,314 ครั้ง 

นอกจากนี้ ยังพบว่า คดีอาชญากรรมประเภท “Hate Crime” เพิ่มขึ้นอย่างมาก ตลอดช่วง 3 ปีแรกของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเป็นช่วงที่สหรัฐฯ เกิดเหตุความเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆอีกด้วย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และศาสนา

 ส่วนทางออกของกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง อาจารย์จอมเดช มองว่า สิ่งแรกคือการออกมายอมรับความผิดพลาดในการบริหารประเทศในหลายๆเรื่องของรัฐบาลรวมถึงตัวผู้นำอย่างนายกรัฐมนตรี  แต่บ้านเราไม่มีวัฒนธรรมการรับผิดชอบด้วยการลาออก เพราะจะถูกมองว่า เป็นการยอมแพ้ และไม่ต่อสู้เพื่อหาทางออกให้กับประเทศชาติในฐานะผู้นำ 

ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมเอง ก็หยิบยกเรื่องราวที่ไม่สมควรมาเป็นประเด็นในการเรียกร้อง ก็คือ ประเด็นการจาบจ้วงล่วงละเมิดหรือต้องการล้มล้างสถาบัน ซึ่งตนมองว่า เป็นสิ่งที่เรียกร้องมากจนเกินไป 

ส่วนตัวมองว่า การเรียกร้องระบบการปกครองที่มีประธานาธิบดี อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีสำหรับประเทศไทย เพราะหลายประเทศมหาอำนาจ อย่างสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ระบบการปกครองที่มีประธานธิบดี ก็ยังมีปัญหาการเมืองและความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ

( อนุรักษ์ เพ็ญสวัสดิ์ ทีมข่าวการเมือง เนชั่น ทีวี  รายงาน) 

โปรลาซาด้า

 

บาดแผลบนความแตกแยกการเมือง "Hate Crimes"

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ