คอลัมนิสต์

ท่าทีรัฐบาลบิ๊กตู่ ถอยแต่ไม่หนี รอนาทีรุกกลับ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ท่าทีรัฐบาลบิ๊กตู่ ถอยแต่ไม่หนี รอนาทีรุกกลับ


ผ่านไป 1 วันเต็มๆ ของการประชุมรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา165 ที่รัฐบาลเป็นฝ่ายเสนอ เพื่อหาทางออกทางการเมืองใน 3 ประเด็นที่รัฐบาลได้ยื่นญัตติเข้าไป

 


สิ่งที่พูดกันมากที่สุดคือ ข้อเสนอให้ นายกฯลาออก และการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีประเด็นการเคลื่อนไหวของม็อบผสมโรงเข้าไป


ที่น่าสนใจคือ ท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่แสดงความเห็นอยู่ 2 ประเด็นคือ เรื่องการลาออก และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ


โดยพล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า รัฐบาลได้หารือการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อ6ตุลาคมที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเริ่มแก้ไขได้ในเดือนพ.ย. จะแล่วเสร็จสามวาระเดือนธันวาคมแต่ต้องไปลงประชามติเสียก่อน


“นี้ชี้ให้เห็นว่าผมมีความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ”


พล.อ.ประยุทธ์ เน้นย้ำในที่ประชุมสภา 


ส่วนประเด็นการลาออก นายกฯได้ชี้แจงว่า “กรณีนายกฯ ลาอออกจากตำแหน่ง จะเกิดอะไรบ้าง ได้ปรึกษากับฝ่ายกฎหมายแล้ว ถ้านากยฯ ลาออก ครม.ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และเลือกนายกฯ ใหม่จากที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งต้องใช้ทั้งเสียง ส.ส. และ ส.ว.ด้วย ต้องมีมติเสียงกึ่งหนึ่ง  ดังนั้นต้องมี ส.ว.มาร่วมเลือกนายกฯด้วย ส่วนกรณีการยุบสภา พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเหมือนกัน สมาชิกภาพของ ส.ส.ก็ต้องสิ้นสุดลงเช่นกัน ตนจึงไม่แน่ใจว่าท่านต้องการหรือไม่ ต้องการอะไรตรงนี้ “


หมายความว่า หากนายกฯลาออกทั้งๆ ที่ยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ยังจะต้องใช้กติกาเดิมในการเลือกนายกฯ กติกาเดิมคือต้องใช้เสียงของ ส.ว.ด้วย ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมต้องการปิดสวิตช์ ส.ว.ในการเลือกนายกฯ 


ซึ่งประเด็นนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯอธิบายเพิ่มเติมว่า หากนายกฯลาออกจะต้องไปเลือกนายกฯใหม่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา172 ซึ่งจะต้องใช้ชื่อนายกฯในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ยกเว้นชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ กับชื่อ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 


แต่ปัญหาก็คือจะต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ 366 เสียง ซึ่งเฉพาะเสียง ส.ส.ฝ่ายค้านไม่พอแน่นอน จะต้องใช้เสียง ส.ว.ด้วย หรือหากเป็นไปได้ ฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลจะจับมือกันโหวตเลือกนายกฯ ตัวแทนจากฝ่ายค้านก็ดูเหมือนว่า พรรคพลังประชารัฐจะไม่เอาด้วย


ฉะนั้นจากเหตุผลที่ได้อภิปรายกันในสภา ประเด็นแรก เรื่องการแก่ไขรัฐธรรมนูญนั้น สภาจะพิจารณาเฉพาะ6ญัตติเท่านั้น แต่ผู้ชุมนุมต้องการให้นำญัตติของประชาชนมาพิจารณา ตั้งสสร.ยกร่างใหม่และไม่ยกเว้นหมวด1และหมวด2 ตรงนี้เห็นต่างกันระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุม


ส่วนประเด็นนายกฯลาออก ก็ยังใช้กติกาเดิม ผู่ชุมนุมจะไม่ยอมรับแน่นอน สุดท้ายนายกฯได้ถามสภาว่า หากยุบสภา จะพร้อมหรือไม่ 
 

โดยประเด็นยุบสภาเป็นอีกทางออกแต่ไม่มีการรับประกันว่ายุบสภาแล้วยังไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญเดิม ผู้ชุมนุมจะยุติหรือไม่เพราะไม่เป็นไปตามข้อเรียกร้อง


นั้นท่าทีของรัฐบาลในสภาตลอด1วันที่ผ่านมา เสมือนว่ารัฐบาลถอยให้หนึ่งก้าว พยายามดึงปัญหาเข้าสภาทั้งเรื่องลาออกและการแก้รัฐธรรมนูญ


แต่การถอยของรัฐบาลไม่ได้เป็นการหนี ยังรอจังหวะที่จะรุกกลับหากมีการเปิดเงื่อนไขการปฏิรูปสถาบัน เมื่อนั้นรัฐบาลจะมีความชอบธรรมในการใช้ไม้แข็งจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

 

ท่าทีรัฐบาลบิ๊กตู่ ถอยแต่ไม่หนี รอนาทีรุกกลับ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ