คอลัมนิสต์

โรคระบาด แฟลชม็อบข้ามโขง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โรคระบาด แฟลชม็อบข้ามโขง ยุคดิจิตอล การเมืองไร้พรมแดน มีเสียงเรียกร้องประชาธิปไตยในลาว ผสมโรงจากฝั่งไทย   คอลัมน์... ท่องยุทธภพ โดย... ขุนน้ำหมึก

++
ม็อบออร์แกนิกรายวัน แสดงพลังให้คนไทยและชาวโลกได้ประจักษ์ถึงการเมืองรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในโลกดิจิตอล 
    

ประชาธิปไตยเบ่งบานในโลกดิจิตอล คนรุ่นใหม่ในไทยฝันถึง

 

อ่านข่าว...   ม็อบออร์แกนิก เอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่

 

 

โรคระบาด แฟลชม็อบข้ามโขง

กฎหมายอาญา ว่าด้วยการกบฏ ของ สปป.ลาว

 


เหตุการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ที่มีการใช้สื่อโซเชียลระดมคนออกมาประท้วงจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในโลกอาหรับ
    

เมื่อวันที่ 20 ต.ค.2563 แฟนเพจ Indochina Publishing Group ได้รายงานว่า มีการเรียกร้องประชาธิปไตยในโลกโซเชียลลาว ตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 19 ต.ค. จนถึงเช้าวันที่ 20 ต.ค.2563  ปรากฏว่า แฮชแท็ก #ถ้าการเมืองลาวดี ขึ้นอันดับ 3  ของเทรนด์ทวิตเตอร์ในไทย 
    

เนื้อหาในทวีตจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลลาว และมีทวีตสนับสนุนจากแนวร่วมจากประเทศต่างๆ ที่เรียกกันว่า #MilkTeaAlliance 
    

“การชุมนุมประท้วงในเชิงกายภาพในประเทศลาว อาจทำได้ยาก แต่ในขณะนี้ การปลุกกระแสให้ออกมาตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้เริ่มขึ้นแล้วในโลกออนไลน์”  
    

ปฏิริยาต่อ #ถ้าการเมืองลาวดี ทางแฟนเพจ Lao Youth Radio FM 90.0 Mhz กระบอกเสียงขององค์กรชาวหนุ่มลาว ได้โพสต์ประมวลกฎหมายอาญาลาว ว่าด้วยการก่อกบฏ มาตรา 111 ผู้ใดเคลื่อนไหวต่อต้าน ล้มล้างรัฐ มีโทษจำคุก หรืออาจถูกประหารชีวิต

 

โรคระบาด แฟลชม็อบข้ามโขง

#ถ้าการเมืองลาวดี ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในไทย


++
ไม่ใช่เรื่องใหม่
++
สงครามในลาวยุติมาแล้ว 44 ปีก็จริง แต่ความขัดแย้งทางความคิดระหว่าง “ลาวใน" (ฝ่ายซ้าย) กับ “ลาวนอก”(ฝ่ายขวา) ยังดำรงอยู่ มีการแบ่งขั้ว เลือกข้าง ยิ่งมีโซเชียลมีเดีย ยิ่งเห็นชัดถึงการต่อสู้ทางความคิดของคนลาวสองฝ่าย 
    

พลันที่โลกก้าวสู่ยุคดิจิทัล อิทธิพลของสื่อโซเชียล ทำให้คนลาวได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้น และเหนืออื่นใด คนลาวกว่า 80% ของประเทศ เสพข่าวออนไลน์เมืองไทย
    

หลังสงครามเย็นยุติ ฝ่ายการเมืองของสหรัฐ เปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ แต่คนกลุ่มหนึ่งที่รับมรดกความคิด “โลกเสรี-โลกคอมมิวนิสต์” มาแต่สมัยสงครามเย็น กลับปรับตัวไม่ทัน อย่างเช่นกลุ่มเวียดนามเสรี และกลุ่มลาวฝ่ายขวา ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินอเมริกา
    

ในประเทศไทย ยังมี “ขบวนการลาวฝ่ายขวา” ฝังตัวอยู่ในรูปองค์กรเอ็นจีโอบ้าง องค์กรสื่อบ้าง 
    

พ.ศ.นี้ นักเคลื่อนไหวชาวลาว ยังใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นกระบอกเสียงในการวิจารณ์รัฐบาลลาว ในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน, การละเลยสิทธิชุมชน และการทำลายสิ่งแวดล้อม
 

โรคระบาด แฟลชม็อบข้ามโขง

ขบวนการเสรีลาว ที่เคลื่อนไหวในไทย

 

++
ลาวคุมเข้ม
++
ก่อนอื่น ต้องเข้าใจระบบการปกครองของ สปป.ลาว “พรรคประชาชนปฏิวัติลาว” (พปล.) มีอำนาจสูงสุด และใช้อำนาจผ่านฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ตามหลักการ “ประชาธิปไตยรวมศูนย์” ประชาชนย่อมมีสิทธิเสรีภาพน้อยกว่าประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ 
    

ปี 2559 ตำรวจลาวจับกุมผู้ที่ตัดต่อรูปภาพ โฆษณาต่อต้านและใส่ร้ายป้ายสีผู้นำพรรค-รัฐ ผ่านเฟซบุ๊ก 
    

ปี 2562 ศาลแขวงจำปาสัก พิพากษาจำคุก 5 ปี “นางหมวย” เน็ตไอดอลลาว ในข้อหาสร้างความปั่นป่วนในสังคม  
    

ปีเดียวกัน ท้าวอ๊อด ไซยะวง สมาชิกกลุ่มเสรีลาวในไทย หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย  
    

แสดงว่ารัฐบาลลาว พร้อมใช้ “กำปั้นเหล็ก” จัดการกลุ่ม “คนบ่ดี” หรือคนต่อต้านรัฐ 

 

โรคระบาด แฟลชม็อบข้ามโขง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ