คอลัมนิสต์

รอยจำ "ธรรมศาสตร์" ในพายุซ้าย-ขวา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รอยจำ "ธรรมศาสตร์" ในพายุซ้าย-ขวา ธรรมศาสตร์ยุคหลัง 14 ตุลา เป็นมหาวิทยาลัยของประชาชน อีกด้านหนึ่ง ฝ่ายขวามองว่าเป็นแหล่งซ่องสุมกลุ่มหัวรุนแรง


++
ธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยประชาชน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
    

จุดเริ่มต้นของ 14 ตุลามหาปีติ คือวันที่ 5 ต.ค.2516 เมื่อสมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญประมาณ 20 คน เดินแจกใบปลิวเรียกร้องให้ประชาชน ต่อมา ตำรวจได้จับกุมผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญชุดแรก 11 คน และตามจับได้ในภายหลังอีก 2 คน รวมเป็น 13 คน 

 

อ่านข่าว...  เพจคณะก้าวหน้าโพสต์ 19 ก.ย.ถนนทุกสายมุ่งหน้าสู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 

 

 

รอยจำ "ธรรมศาสตร์" ในพายุซ้าย-ขวา


    

8 ต.ค.2516 องค์การนักศึกษาธรรมศาสตร์ (อมธ.) ประชุมลับ และมีมติให้เลื่อนการสอบไล่ นักศึกษาสังกัด “กลุ่มอิสระ มธ.” แยกย้ายกันเอาโซ่ล่ามประตู เอาปูนปลาสเตอร์อุดรูกุญแจห้องสอบ ตัดสายไฟฟ้าเพื่อให้ลิฟต์ใช้การไม่ได้
    

9 ต.ค.2516 เช้าตรู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการชักธงดําครึ่งเสา เหนือยอดโดม ประตูทางเข้ามีประกาศงดสอบ ด้านท่าพระจันทร์ มีผ้าผืนใหญ่ข้อความว่า “เอาประชาชนคืนมา”
    

จากนั้น การชุมนุมก็เริ่มต้นที่ลานโพธิ์ ก่อนจะย้ายไปสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ ก่อนจะเคลื่อนขบวนออกสู่ราชดำเนิน ตอนเที่ยงวันที่ 13 ต.ค.2516

 

รอยจำ "ธรรมศาสตร์" ในพายุซ้าย-ขวา

นสพ.ประชาชาติ ปี 2519 นำเสนอสกู๊ป ธรรมศาสตร์วานนี้ และวันนี้

 


++
มธ.ในมุมจรัล
++
เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2563 จรัล ดิษฐาอภิชัย ผู้ก่อตั้ง “สภาหน้าโดม” กลุ่มอิสระ มธ. และเป็นกลุ่มนักศึกษาปีกซ้าย ตั้งแต่ยุคก่อน 14 ตุลา ได้โพสต์เฟซบุ๊คเกี่ยวกับธรรมศาสตร์กับการเมืองว่า
    

“ช่วงก่อนและหลังกรณี14 ตุลาคม 2516 ถึง กรณีนองเลือด6 ตุลาคม 2519 และต่อๆมา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นทุกอย่างของการต่อสู้ทางประชาธิปไตย  จากเป็นโรงเรียนการเมืองของประชาชน จัดอภิปราย นิทรรศการเกือบทุกอาทิตย์ เป็นที่ชุมนุมประท้วงนับครั้งไม่ถ้วน เป็นป้อมปราการ เป็นกองเสนาธิการของขบวนการนักศึกษาประชาชน เป็นเวทีคอนเสิร์ตเพลงเพื่อชีวิต ถึงเป็นโรงครัวให้กับขาวนา กรรมกรชุมนุมที่สนามหลวง นี่คือเกียรติประวัติอันรุ่งโรจน์ของธรรมศาสตร์  ประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์คือ ประวัติศาสตร์ของนักศึกษาประชาชน”
    

สภาพการณ์ในธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็เป็นดังที่ “จรัล” เล่ามาข้างต้น
    

พลันที่มีขบวนการจัดตั้งของฝ่ายขวา ไม่ว่าจะเป็นกระทิงแดง,นวพล และลูกเสือชาวบ้าน ธรรมศาสตร์ก็ตกเป็นเป้าการโจมตีจากกลุ่มกระทิงแดง

 

รอยจำ "ธรรมศาสตร์" ในพายุซ้าย-ขวา

กลุ่มกระทิงแดง บุกพังหอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ 2518

 

 

++
กระทิงแดงบุก
++
ประมาณเดือน พ.ค.2518 มีการชุมนุมของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการคุกคามชาวนาภาคเหนือ ภายในสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ 
    

ตกกลางคืน กลุ่มกระทิงแดงส่งกำลังเข้ามาก่อกวนการชุมนุม มีการยิงปืน และปาระเบิดใส่ แต่ก็เจอการ์ดสายแรงงานตีโต้กลับไป
    

เดือน มิ.ย.2518 กลุ่มกระทิงแดง นำกำลังนักเรียนอาชีวะ 500 คน บุกธรรมศาสตร์ ตอนกลางวันแสกๆ โดยตำรวจไม่ได้เข้าสกัดกั้น ปล่อยให้กลุ่มกระทิงแดงบุกทำลายหอประชุมใหญ่
    

นสพ.ประชาชาติรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 ส.ค.2519 ได้สกู๊ปพิเศษ “ธรรมศาสตร์วันวาน และวันนี้” โดยตอนท้ายได้สรุปว่า “ธรรมศาสตร์ในวันนี้ เป็นธรรมศาสตร์ ที่เป็นทั้งดินแดนที่เต็มไปด้วยความหวังของคนจำนวนมาก และก็มีอีกหลายกลุ่มเหมือนกันที่มองด้วยความอาฆาตมาดร้าย”
    

 

รอยจำ "ธรรมศาสตร์" ในพายุซ้าย-ขวา

สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ เมื่อ 8-13 ต.ค.2516

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ