คอลัมนิสต์

ดับกระแสข่าวลือแรง ลาวโต้ "จีนบ่ได้ยึดเขื่อนไฟฟ้า" เป็นการลงทุนสายส่งไฟฟ้าแรงสูงร่วมกัน

ดับกระแสข่าวลือแรง ลาวโต้ "จีนบ่ได้ยึดเขื่อนไฟฟ้า" เป็นการลงทุนสายส่งไฟฟ้าแรงสูงร่วมกัน

10 ก.ย. 2563

ดับกระแสข่าวลือแรง ลาวโต้ "จีนบ่ได้ยึดเขื่อนไฟฟ้า" เป็นการลงทุนสายส่งไฟฟ้าแรงสูงร่วมกัน

สืบเนื่องจากสำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (EDL) ของรัฐบาลลาว ลงนามร่วมกับบริษัท China Southern Power Grid ของจีน ในการดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนร่วมกัน โดยลาวจะยกอำนาจควบคุมส่วนใหญ่ให้จีน จากข่าวดังกล่าวทำให้สำนักข่าวในประเทศไทย ต่างพาพาดหัวข่าว “จีนยึดเขื่อนลาว” ทำเอาคนสองฝั่งโขงตกอกตกใจเมื่อวันที่ 9 ก.ย.2563 รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (EDL) ได้ออกแถลงการณ์ “จีนบ่ได้ยึดเขื่อนไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดดังนี้ประเด็นข่าวที่ว่า ทางการจีนจะยึดระบบสาธารณูปโภคของประเทศลาว โดยเฉพาะเขื่อนไฟฟ้า และสายส่งไฟฟ้านั้น

ดับกระแสข่าวลือแรง ลาวโต้ \"จีนบ่ได้ยึดเขื่อนไฟฟ้า\" เป็นการลงทุนสายส่งไฟฟ้าแรงสูงร่วมกัน
 

ความจริงก็คือ ไม่มีการยึดใดๆ จากทางการจีน หรือบริษัทจีน เพียงแต่เป็นความร่วมมือระหว่างลาว-จีน ที่มีมายาวนาน ที่จะพัฒนาระบบสายส่งแรงสูงร่วมกัน รัฐบาลลาว และรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว ยืนยันว่า การควบคุมบริหารจัดการด้านพลังงานไฟฟ้า ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลลาว ต้นตอบ่อเกิดที่สำนักข่าวต่างประเทศนำไปพาดหัว “จีนยึดเขื่อนลาว” มาจากกรณีพิธีเซ็นสัญญาร่วมทุนก่อตั้ง “บริษัท สายส่งไฟฟ้าแห่งชาติลาว” (EDL-T) ระหว่างรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว กับรัฐวิสาหกิจเครือข่ายไฟฟ้าภาคใต้ของจีน (China Southern Power Grid-CSG)  

ดับกระแสข่าวลือแรง ลาวโต้ \"จีนบ่ได้ยึดเขื่อนไฟฟ้า\" เป็นการลงทุนสายส่งไฟฟ้าแรงสูงร่วมกัน

เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2563 สืบเนื่องจากรัฐวิสาหกิจไฟฟ้า มีข้อจำกัดด้านเงินทุน จะสร้างสายส่งไฟฟ้าไปทั่วประเทศ และส่งไฟไปยังเพื่อนบ้าน จึงทำให้บางแขวงที่ติดพรมแดนไทย ลาวยังต้องซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ. เพราะปัญหาขาดเงินสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง การลงทุนร่วมกันลาว-จีน เพื่อสร้างสายส่งไฟฟ้า จะลดปัญหาการขาดเงินลงทุนของการไฟฟ้าลาว เหนืออื่นใด เมื่อเขื่อนน้ำอู 1-7 เสร็จสมบูรณ์ ก็มีจะมีการสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง จากภาคเหนือของลาว เข้าไปยังตอนใต้ของมณฑลยูนนาน

ดับกระแสข่าวลือแรง ลาวโต้ \"จีนบ่ได้ยึดเขื่อนไฟฟ้า\" เป็นการลงทุนสายส่งไฟฟ้าแรงสูงร่วมกัน

ในเชิงนโยบายรัฐต่อรัฐ การเข้ามาของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าภาคใต้ของจีน (CSG) เป็นเรื่องที่ทางการจีน ส่งรัฐวิสาหกิจของจีน เข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลลาว ทั้งในแง่เทคนิค เงินทุน ซึ่งคาดว่า จะมีเงินเข้ามาลงทุนในระบบสายส่งไฟฟ้าของประเทศลาวจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการไฟฟ้า ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน