คอลัมนิสต์

ปิดทางหากินตำรวจ แก้ไข ป.วิอาญา อัยการมีอำนาจตรวจสอบการสอบสวนคดีสำคัญ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดร่างแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา  อัยการมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการสอบสวนคดีสำคัญที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปหรือเมื่อมีการร้องเรียนแต่ตำรวจไม่รับแจ้งความ แจ้งให้อัยการสอบสวนได้ -ตรวจค้น จับกุม สอบปากคำ ตำรวจต้องบันทึกภาพและเสียงไว้เป็นหลักฐาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง“การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นสอบสวน และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ.….” ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ที่มีนายสิระ เจนจาคะ เป็นประธานกรรมาธิการฯ ซึ่งผ่านความเห็นชอบของที่ประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ไปเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2563  และส่งให้นายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอ ครม.เห็นชอบเป็นร่างกฎหมายก่อนเสนอเข้าสภาออกเป็นกฎหมายต่อไปนั้น

สำหรับสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้แก่

-ในการตรวจค้น จับกุม สอบปากคำผู้กล่าวหาหรือผู้ต้องหา จะต้องบันทึกภาพและเสียงเป็นหลักฐาน

-อัยการมีอำนาจตรวจสอบการสอบสวนคดีสำคัญที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปหรือเมื่อมีการร้องเรียน

-ตำรวจไม่รับแจ้งความ แจ้งให้อัยการสอบสวนได้ 
 

 ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีเนื้อหาดังนี้ 

 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๓/๑ และมาตรา ๑๗/๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๗/๑ ในการจับหรือค้น ให้เจ้าพนักงานผู้จับหรือค้นจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียง ซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่อง เว้นแต่เป็นกรณีเร่งด่วนหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจดำเนินการได้ ก็ให้เจ้าพนักงานนั้นบันทึกเหตุดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานในบันทึกการจับหรือบันทึกการค้น แล้วแต่กรณี

..มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๒๑/๑ ในคดีดังต่อไปนี้ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าตรวจสอบการสอบสวนกับพนักงานสอบสวน

(๑) คดีที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป

(๒) คดีที่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีร้องขอ

(๓) คดีอื่นตามที่กำหนตไว้ในกฎกระทรวงหรือข้อบังคับของสำนักงานอัยการสูงสุด

เมื่อไต้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง หากพนักงานอัยการเห็นสมควร ให้พนักงานอัยการเข้าทำการตรวจสอบการสอบสวนหรือตรวจสอบพยานหลักฐานตั้งแต่ชั้นเริ่มการสอบสวน โดยให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการสอบสวนคดีนั้น

มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๒๗/๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“มาตรา ๑๒๑/๒ ในคดีที่พนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษหรือสอบสวนล่าช้า เมื่อผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหาหรือผู้ต้องหาร้องขอ พนักงานอัยการที่มีเขตอำนาจอาจแจ้งให้พนักงานสอบสวนพิจารณาดำเนินการตานอำนาจหน้าที่ หรืออาจรับทำการสอบสวนเองก็ได้ตามที่เห็นสมควร

ในกรณีที่พนักงานอัยการรับทำการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนและเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ โดยอาจแจ้งให้พนักงานสอบสวนเข้าร่วมทำการสอบสวนได้

 ทั้งนี้ให้พนักงานอัยการเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ โดยในการค้น การจับ และการคุมขัง อาจร่วมกับเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานอื่นหรือแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานอื่นดำเนินการก็ได้”

การสอบสวนตามมาตรานี้ให้พนักงานอัยการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ